บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

รางจืด


1



(ภาพจาก http://www.2009.tht.in/rang.html)

ชื่อสุมนไพร : รางจืด
ชื่อเรียกอื่นๆ : กำลังช้างเผือก, เครือเขาเขียว, ขอบชะนาง, ยาเขียว (ภาคกลาง), คาย,รางเย็น (ยะลา), จอลอดิเออ, ซั้งกะ, ปั้งกะล่ะ, พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ดุเหว่า (ปัตตานี), ทิดพุด (นครศรีธรรมราช), น้ำนอง (สระบุรี), ย่ำแย้ และ แอดแอ (เพชรบูรณ์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thumbergia laurifolia Lindl.
ชื่อสามัญ :  Babbler’s Bill Leaf, Laurel clock vine ,Laurel clock vine
วงศ์ : Acanthaceae

3

(ภาพจาก http://pantip.com)

2

(ภาพจาก http://pantip.com)

ลักษณะของสมุนไพร : รางจืด เป็นพืชสมุนไพรที่มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย หรือไม้เถา ส่วนมากแล้วผู้คนมักจะปลูกใกล้กับต้นไม้ยืนต้นอื่นๆ เพื่อให้รางจืดเลื้อยพันไปตามต้นไม้นั้นๆ เถาของรางจืดนั้นจะมีลักษณะเป็นข้อปล้องและยาว มีสีเขียวเข้มหรือสีเขียวสด ส่วนใบของรางจืด มีลักษณะของเนื้อใบที่แข็งหนา และมีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม ปลายของใบจะเรียวแหลม ดอกของรางจืดนั้นจะเป็นสีม่วงอ่อนๆ หรือสีครามอ่อนๆ มีกลีบดอก 5 กลีบ รางจืดนั้นมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แต่ที่พบในประเทศไทยมี 3 สายพันธุ์ คือ รางจืดดอกม่วง รางจืดดอกขาว และรางจืดดอกแดง รางจืดที่นิยมนำมาใช้ทำยา หรือที่มีสารสำคัญทางยาอยู่มากที่สุดก็คือ รางจืดดอกม่วง

4

(ภาพจาก http://pantip.com)

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เถาสด ใบ และราก

สรรพคุณทางยา : ส่วนต่างๆ ของรางจืด เช่น ใบ ราก เถา จะมีสรรพคุณทางยาแตกต่างกันออกไป คือ

–  รากและเถา : รากและเถาของรางจืด จะมีสรรพคุณในการช่วยแก้ร้อนใน หรือ กระหายน้ำได้ โดยการนำมารับประทาน

–  ใบและราก : รากและเถาของรางจืดนั้น จะมีสรรพคุณในการใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ หรือพิษต่างๆ เช่น พิษจากการแพ้อาหาร สำหรับถอนพิษยาฆ่าแมลง หรือได้รับพิษจากยาเบื่อชนิดต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น สารยาฆ่าแมลงที่อยู่ในผักผลไม้ที่รับประทาน เมื่ออยู่ในสถานที่ห่างไกลจากโรงพยาบาล มีปัญหากับการนำผู้รับพิษส่งโรงพยาบาล หรือต้องใช้เวลานานในการส่งตัวผู้ป่วย ซึ่งอาจทำให้ผู้ได้รับพิษถึงแก่ชีวิตได้ แต่ถ้ามีต้นรางจืดปลูกอยู่ในบ้าน หรือหาได้ตามบริเวณใกล้บ้าน ก็สามารถที่จะใช้ใบรางจืดที่ไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไปนำมาให้ผู้รับพิษทาน หรือรากที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป เพราะรากของรางจืดจะมีตัวยามากกว่าใบ 4-7 เท่า ถ้าได้รับตัวยามากกเกินไป ก็อาจจะเป็นอันตรายได้ ควรเลือกรากที่มีขนาดเท่านิ้วชี้ มาใช้เป็นยาบรรเทาพิษ แต่ในการถอนพิษที่รุนแรงนั้น ต้องให้ผู้ที่ได้รับพิษกินใบรางจืดจำนวนมาก และรวดเร็ว จึงจะช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ก็ต้องนำผู้ที่ได้รับพิษร้ายแรงนั้น ส่งโรงพยาบาลต่อไปด้วย นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาพอกบาดแผล ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และยังถอนพิษจากดื่มเหล้ามากจนเกินไป

 

วิธีใช้ หรือขนานรับประทานที่เหมาะสม

– ใบสด : สำหรับคนให้รับประทานประมาณ 10-12 ใบ สำหรับวัวควาย หรือสัตว์ใหญ่ ให้รับประทานประมาณ 20-30 ใบ โดยการนำใบสดมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวหรือน้ำสะอาดประมาณ ครึ่งแก้วถึง 1 แก้ว จากนั้นคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มให้หมดทันทีที่ที่ได้รับพิษ หรือมีอาการ และอาจจะให้ผู้รับพิษดื่มซ้ำได้อีกใน 1/2 – 1 ชั่วโมงต่อมา

– รากสด : สำหรับคนให้รับประทานประมาณ1-2 ก้าน * สำหรับวัวควาย หรือสัตว์ใหญ่ ให้รับประทานประมาณ 2-4 ก้าน * โดยการให้นำรากมาฝน หรือตำกับน้ำซาวข้าวหรือน้ำสะอาจ จากนั้นให้เอารากออก แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มให้หมดทันทีที่ได้รับพิษหรือที่มีอาการ และอาจจะให้ผู้รับพิษดื่มซ้ำได้อีกใน 1/2 – 1 ชั่วโมงต่อมา

* โดยให้ตัดความยาวของก้านยาวประมาณเท่านิ้วคน

 

ถิ่นกำเนิดของรางจืด :

รางจืด มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศ ไทย มาเลเซีย แอฟริกา อินเดีย

 





.