ผักกูด


ชื่อสมุนไพร : ผักกูด
ชื่อเรียกอื่นๆ : ผักกูดขาว (ชลบุรี), หัสดำ (นครราชสีมา, สุราษฎร์ธานี), กูดน้ำ (แม่ฮ่องสอน), ไก้กวิลุ ปู่แปลเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แลโพโด้, แหละโพะโด้ะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), แทรอแปล๊ะ (กะเหรี่ยงแดง), หย่ายจ๊วด (เมี่ยน), เหล้าชั้ว (ม้ง), บ่ะฉ้อน (ลั้วะ), ร่านซู้ล (ขมุ), กูดคึ (ภาคเหนือ), ผักกูด (ภาคกลาง) และ กูดกิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diplazium esculentum (Retz.) Sw.
ชื่อสามัญ : Paco Fern, Small Vegetable Fern และ  Vegetable Fern
วงศ์ : WOODSIACEAE



PKood4

ผักกูดจัดเป็นเฟิร์น ซึ่งพืชชนิดนี้มักจะขึ้นหนาแน่นตามชายป่าที่มีแดดส่องถึง ในบริเวณที่ลุ่มชุ่มน้ำ ตามริมลำธาร บริเวณต้นน้ำ หนองบึง ชายคลอง ในที่ที่มีน้ำขังแฉะและมีอากาศเย็น รวมไปถึงในพื้นที่เปิดโล่ง หรือในที่ที่มีร่มเงาบ้าง และจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณที่ชื้นแฉะ มีความชื้นสูง เติบโตในช่วงฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้า ใช้สปอร์ หรือไหล ในประเทศไทยบ้านเราจะพบผักกูดได้ทั่วไปแทบทุกภูมิภาค ในที่มีสภาพดินไม่แห้งแล้ง จัดเป็นผักทีมีรสจืดอมหวาน และกรอบ ยอดอ่อนและใบอ่อนนิยมนำมาบริโภค โดยนำมาปรุงเป็นอาหารได้อย่างหลากหลาย ด้วยการนำมายำ ผัด ทำเป็นแกงจืด แกงเลียง แกงส้ม แกงแคร่วมกับผักชนิดต่างๆ ต้มกะทิฯลฯ ส่วนเมนูผักกูดก็เช่น ยำผักกูด ผักกูดผัดน้ำมันหอย แกงจืดผักกูดหมูสับ ไข่เจียวผักกูด ผัดกับไข่หรือแหนม นำมาแกงกับปลาน้ำจืด ทำเป็นแกงกะทิกับปลาย่าง หรือนำมาราดด้วยน้ำกะทิรับประทานร่วมกับน้ำพริกหรือแดงรสจืด

PKood3

ลักษณะสมุนไพร :
ผักกูดจัดเป็นเฟิร์นขนาดใหญ่ ที่มีเหง้าตั้งตรง และมีความสูงมากกว่า 1 เมตรขึ้นไป เหง้าปกคลุมไปด้วยใบเกล็ด เกล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เกล็ดมีสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ขอบใบเกล็ดหยักเป็นซี่ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบมีความยาวได้มากกว่า 1 เมตร และกว้างได้ถึง 50 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวอ่อน แม่แก่จะมีสีเขียวเข้ม มีใบย่อย 1-2 คู่ล่างจะเล็กกว่าใบย่อยที่อยู่ช่วงกลาง ซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ถึง 25 เซนติเมตร ช่วงขนาดสอบเล็กลงทันทีเป็นหลายแหลม ส่วนใบย่อยชั้นกลางจะมีใบที่มีขนาดใหญ่กว่า มีก้านสั้นหรือกึ่งไม่มีก้าน โคนใบมีลักษณะเว้าเป็นรูปหัวใจ หรือเป็นติ่งหู ปลายสอบแหลมมีขนาด 2.5 เซนติเมตร ขอบหยัก ลึกประมาณ 1 ใน 4 ของระยะถึงเส้นกลางใบ ปลายเป็นรูปมน ขอบเป็นฟันเลื่อย เนื้อใบมีลักษณะบางคล้ายกระดาษ ใบมีเส้นใบแตกแขนงแบบขนนก มีปลายเส้นถึง 10 คู่ กลุ่มสปอร์จะอยู่ใกล้และยาวตลอดความยาวของเส้นใบส่วนปลาย ส่วนก้านใบยาวประมาณ 70 เซนติเมตร

 PKood2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ใบ ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงยอดผักกูด ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ได้ดีขึ้น และยังช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน ช่วยดับร้อน ทำให้ร่างกายปรับสภาพอุณหภูมิให้เข้ากับฤดู ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด ช่วยบำรุงโลหิต เนื่องจาก ช่วยแก้โรคโลหิตจาง ช่วยบำรุงสายตา ช่วยความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างดี ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้พิษอักเสบ

 PKood1

วิธีการใช้ :                                     

  1. ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงยอดผักกูด ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ได้ดีขึ้น และยังช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน ช่วยดับร้อน ทำให้ร่างกายปรับสภาพอุณหภูมิให้เข้ากับฤดู ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด ช่วยบำรุงโลหิต เนื่องจาก ช่วยแก้โรคโลหิตจาง ช่วยบำรุงสายตา ช่วยความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างดี ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้พิษอักเสบ นำใบมารับประทานสดๆ หรือนำมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

 PKood6

ถิ่นกำเนิด :
ผักกูดเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในภาคกลางของประเทศจีน ภาคใต้ของญี่ปุ่น ไปจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก

 





.