บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

ขมิ้นชัน


1



ชื่อสมุนไพร : ขมิ้นชัน
ชื่อเรียกอื่นๆ : ขมิ้น, ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยอก, ขมิ้นหัว, ขี้มิ้น และหมิ้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.
ชื่อสามัญ : Turmeric
วงศ์ : Zingiberaceae

ขมิ้นชันหนึ่งในสมุนไพรไทยที่เป็นที่รู้จักและนิยมรับประทานของผู้ที่รักในสุขภาพเนื่องจากขมิ้นชันมีองค์ประกอบที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอวิตามินบี1วิตามินบี2วิตามินบี3วิตามินซีวิตามินอีธาตุแคลเซียมธาตุฟอสฟอรัสธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่างๆ นอกจากนี้ขมิ้นชันยังถือเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาอาการและโรคต่างๆได้หลายชนิด ทำให้ขมิ้นชันเป็นที่รู้จักและถูกนำมาพูดถึงกันอย่างต่อเนื่องในวงการแพทย์และเภสัชกรรม

2

ลักษณะสมุนไพร : ขมิ้นชันเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงเหนือพื้นดินประมาณ 30-90 เซนติเมตร นอกจากนี้ยังมีส่วนที่อยู่ใต้ดินที่เรียกว่า “เหง้า” เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองส้มและมีกลิ่นเฉพาะตัว ใบของต้นขมิ้นเป็นใบเดี่ยวรูปทรงเรียวยาวปลายแหลมกว้าง 12-15 เซนติเมตร ยาว 30-40 เซนติเมตร ดอกขมิ้นมีสีเหลืองอ่อนออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าแทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ ส่วนผลของขมิ้นชันมีลักษณะกลมเป็นพู

การปลูกขมิ้นชันในดินปนทรายจะให้เหง้าที่มีขนาดใหญ่มากกว่าการปลูกในดินธรรมดา และขมิ้นชันจะเจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน โดยสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุ 9-11 เดือน และไม่ควรเก็บเกี่ยวขมิ้นในระยะที่เริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้สารสำคัญบางอย่างในขมิ้นชันลดลง

ในเหง้าของขมิ้นชันจะมีน้ำมันหอมระเหยจะมีอยู่ในประมาณ 2-6% ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยนี่เองที่เป็นแหล่งของสารสำคัญ โดยสารที่พบมากคือ เทอร์มีโรน (termerone) 58-59% และซิงจิเบอรีน (zingiberene) 25% ปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่มีอยู่ในขมิ้นชั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุของพืช การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัสหรือโปตัสเซียมระหว่างการปลูกจะทำให้ได้ผลผลิตของขมิ้นชันเพิ่มมากขึ้น แต่อาจทำให้สารสำคัญบางอย่างลดน้อยลง

การใช้งาน :

การรับประทานขมิ้นชันสามารถรับประทานได้หลายรูปแบบดังนี้

  1. แบบสด

การรับประทานขมิ้นชันแบบสดทำได้โดยการนำเหง้าแก่มาขูดเปลือกออก จากนั้นล้างน้ำให้สะอาดก่อนตำให้ละเอียด แล้วจึงนำไปผสมน้ำอีกครั้ง คั้นด้วยผ้าขาวบางเพื่อนำเฉพาะน้ำมารับประทาน ปริมาณที่แนะนำคือครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง

  1. แบบแห้ง

การรับประทานขมิ้นชันแบบแห้งทำได้โดยนำมาขมิ้นชันมาหั่นเป็นแว่นๆโดยไม่ต้องปอกเปลือก จากนั้นนำไปตากแดดจัดๆ 1-2 วัน ก่อนนำมาบดเป็นผงละเอียด รับประทานโดยปั้นผสมน้ำผึ้งเป็นก้อนเล็กๆเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง

  1. แบบสำเร็จรูป

ในปัจจุบันมีจำหน่ายขมิ้นชันในรูปแบบผงสำเร็จรูป ซึ่งสามารถนำมาผสมน้ำรับประทานได้โดยตรง
ในส่วนของการใช้ภายนอกทำได้โดยนำเหง้าขมิ้นสดมาฝนผสมกับน้ำต้มสุก แล้วทาในบริเวณที่เป็นแผล วันละ 3 ครั้ง จะช่วยรักษาอาการแพ้ แก้อักเสบ ผื่นแดง แมลงสัตว์กัดต่อยได้

Turmeric Roots

สรรพคุณทางยา :
การรับประทานขมิ้นชันให้ประโยชน์ต่อร่างกายมากมายในหลายด้านเนื่องมาจากขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ โดยสารที่สำคัญ ได้แก่ “คูเคอร์มิน” ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดมะเร็งตับและช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนังเนื่องจากมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบรวมถึงช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง

มีงานวิจัยมากมายที่มีการศึกษาเพื่อสนับสนุนคุณประโยชน์ของขมิ้นชัน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันสารพิษในร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ช่วยรักษาอาการอักเสบ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา รักษาแผลและสามารถใช้รักษาผู้ติดเชื้อ HIV ได้

4

ถิ่นกำเนิด :

ขมิ้นเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแพร่กระจายไปยังยุโรปและส่วนต่างๆ ทั่วโลก

 





.