บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

กะเพรา


4



ชื่อสมุนไพร : กะเพรา
ชื่อเรียกอื่นๆ : กอมก้อ, กอมก้อดง, ห่อกวอซู, ห่อตูปลู, อิ่มคิมหลำ, ห่อกวอซู, ห่อตูปลู, อิ่มคิมหลำ, กะเพราขน, กะเพราขาว, กะเพราแดง และ อีตู่ข้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum  L.
ชื่อสามัญ : Holy basil, Sacred basil
วงศ์ :  Lamiaceae (Labiatae)

8

กะเพราหนึ่งในผักสมุนไพรที่เรารับประทานกันอย่างแพร่หลาย ถือเป็นส่วนประกอบในเมนูพื้นฐานที่ทุกร้านอาหารตามสั่งจะต้องมี แต่จะมีใครรู้หรือไม่ว่ากะเพราที่คุณรับประทานกันอยู่ทุกวัน นอกจากจะมีรสชาติอร่อยและกลิ่นหอมแล้ว ยังมีสรรพคุณมากมายที่แฝงอยู่ในพืชชนิดนี้ สรรพคุณที่โดดเด่นคือช่วยขับลม แก้จุดเสียด แน่นท้อง แก้ปวดท้องอุจจาระ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

7

กะเพราสามารถแบ่งได้ 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และกะเพราลูกผสมที่เป็นการผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว โดยกะเพราแดงจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคที่ดีกว่า ส่วนกะเพราขาวนิยมใช้ประกอบอาหารมากกว่า

6

ลักษณะสมุนไพร :
ต้นกะเพราเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นค่อนข้างแข็งและมีขน สูงประมาณ 30-60 ซม. หากเป็นกะเพราแดงจะมีลำต้นสีแดงอมเขียว ส่วนกะเพราขาวจะมีลำต้นสีเขียวอมขาว ลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาออกด้านข้าง ใบกะเพราเป็นใบเดี่ยวสีเขียวออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะใบเป็นรูปทรงรีโคนแหลม ส่วนปลายใบมีทั้งแบบมนและแหลม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ขนาดใบกว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 2.5-5 เซนติเมตร และมีขนสีขาวบนแผ่นใบ ดอกกะเพราออกเป็นช่อที่ปลายยอดและปลายกิ่ง ดอกมีสีขาวแกมม่วงแดงหรือสีขาวทั้งดอก  โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ส่วนปลายมีลักษณะเรียวแหลม กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบนมี 4 แฉก ปากล่างมีเพียง 1 แฉก แต่มีลักษณะยาวกว่าปากบน มีขนประปราย มีเกสรเพศผู้ 4 อัน ส่วนผลเป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ดสีดำรูปไข่อยู่ภายใน เมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดจะพองออกเป็นเมือก

5

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบ, เมล็ด และราก
สรรพคุณทางยา :
กะเพราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ช่วยรักษาโรคได้หลายชนิด ดังต่อไปนี้

  1. ใบกะเพราสดมีน้ำมันหอมระเหยที่ประกอบด้วยสาร linaloo และ methyl chavicol มีสรรพคุณช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ  ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง  นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ และช่วยขับไขมันและน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกายได้ด้วย
  2. เมล็ด เมล็ดที่พองตัวในน้ำจะมีเมือกขาวออกมา เมือกนี้มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการตาช้ำเนื่องจากฝุ่นละอองเข้าตาได้
  3. ราก ช่วยแก้โรคธาตุพิการ
  4. น้ำมันที่สกัดได้จากใบกะเพราสามารถยับยั้งการเจริญเติมโตหรือฆ่าเชื้อโรคหรือเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้ อีกทั้งยังมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ด้วย

3

วิธีการใช้ :

  1. แก้อาการคลื่นไส้หรืออาเจียน ทำได้โดยใช้ใบกะเพราในรูปแบบสดหรือแห้งมาชงน้ำดื่ม โดยหากเป็นเด็กอ่อนจะใช้ใบสดเพียง 3-4 ใบ แต่หากเป็นผู้ใหญ่จะใช้ใบแห้ง 1 กำมือ หรือ 4 กรัม
  2. ช่วยขับลม บำรุงธาตุ ใช้ใบกะเพราสดประมาณ 1 กำมือ มาเป็นส่วนประกอบในแกงเลียงบำรุงสตรีหลังคลอด ช่วยเพิ่มน้ำนมได้
  3. ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ใช้ใบสดทาบริเวณท้องเด็กอ่อนจะช่วยลดอาการท้องขึ้นหรือท้องเฟ้อได้
  4. รักษากลากเกลื้อน ใช้ใบสด 15-20 ใบ ตำให้แหลกจนมีน้ำออกมา ทาถูตรงบริเวณที่เป็นกลากวันละ 2-3 ครั้ง
  5. รักษาหูด ใช้ใบกะเพราแดงสดมาขยี้ทาตรงหัวหูด วันละ 2 ครั้ง เข้า-เย็น แต่มีข้อควรระวังคือ อย่าให้น้ำยางมาโดนหูดเพราะจะทำให้รักษาให้หายได้ยากกว่าเดิม

2

ถิ่นกำเนิดของกะเพรา :
กะเพรามีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

1

 





.