บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

แสมสาร


ชื่อสมุนไพร : แสมสาร
ชื่อเรียกอื่นๆ : ขี้เหล็กสาร (นครราชสีมา, ปราจีนบุรี), ขี้เหล็กโคก, ขี้เล็กแพะ (ภาคเหนือ), ขี้เหล็กป่า (ภาคเหนือ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กราบัด, กะบัด (ชาวบน-นครราชสีมา) และ ไงซาน (เขมร-สุรินทร์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna garrettiana (Craib) Irwin & Barneby
ชื่อสามัญ : Samae Saan
วงศ์ LEGUMINOSAE (FABACEAE)



SMS3

แสมสารเป็นพืชมีเนื้อไม้แข็งโดยขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด ในประเทศไทยพบได้มาทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอื่นๆ ยกเว้นภาคใต้ โดยมักขึ้นในบริเวณป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าที่ราบต่ำทั่วไป และป่าผลัดใบที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 500 เมตร ในปัจจุบันนิยมนำต้นแสมสารมาปลูกเป็นไม้ประดับตามข้างทางเนื่องจาก มีทรงพุ่มเป็นเรือดยอดสวยงาม เมื่อยามออกดอกจะมีดอกขาวโพลนหนาแน่น ประโยชน์ทางด้านอาหารก็คือดอกอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักได้ แต่ต้องนำมาต้มเพื่อลดความขมลงก่อนจะนำไปแกง คล้ายกับแกงขี้เหล็ก สำหรับสรรพคุณทางยาสามารถต้านโรคร้ายอย่างโรคมะเร็งได้ เนื่องจากพบว่ามีสารในกลุ่มแอนทราควิโนนอยู่หลายชนิดได้แก่ Chrysophanol และ Cassialoin ซึ่งออกฤทธิ์ด้านฮีสตามีน ด้านการบีบตัวของลำไส้ เมื่อนำมาผสมในยาทำให้แท้ง ทำให้มดลูกคลายตัว และเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง เป็นพิษต่อตัวอ่อน กระตุ้นมดลูก ต้านมะเร็ง รวมถึงมีฤทธิ์เหมือน Lectin ยับยั้งเอนไซม์ H+,H+-ATPase และ Lipoxygenase หยุดการขับน้ำย่อยได้อีกด้วย

 SMS2

ลักษณะสมุนไพร :
แสมสารเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดย่อมถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 10เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบใบเป็นประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อย 6-9 คู่ ลักษณะเป็นใบรูปหอกหรือรูปไข่ ความกว้าง 2-5 ซม. ความยาว 5-9 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลม ใบหนามีสีเขียวสด ผิวใบเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาว 4-5 ซม. ดอกมีสีเหลืองออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ความยาวประมาณ 9-20 ซม. มีขนสีน้ำตาลเหลืองหนาแน่น ดอกย่อยจำนวนมาก ก้านดอกย่อยยาว 3 ซม. ใบประดับรูปไข่ปลายแหลมร่วงง่าย กลีบเลี้ยง 5 กลีบขนาดไม่เท่ากัน ด้านนอก 2 กลีบขนาดเล็กกว่า ยาวประมาณ 5 มม. ด้านใน 3 กลีบยาวกว่า กลีบดอกสีเหลืองรูปไข่กลับ ยาว 15-18 มม. เมื่อบานออกเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. มีก้านกลีบยาว 4 มม. เกสรตัวผู้ 10 อัน ผลมีสีน้ำตาล เป็นฝักรูปดาบ มักบิด แบน เกลี้ยงไม่มีขน ผนังบาง กว้าง 2-4 มม. ยาว 15-22 ซม. เมื่อแก่แตกได้ฝักหนึ่งมีเมล็ดประมาณ 20 เมล็ด ขนาดกว้าง 5 มม. ยาว 1 ซม. กระพี้สีขาวนวล

 SMS1

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ใบ, ยอด, เปลือกต้น, แก่น และ ดอก
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก ยาฟอกโลหิตช่วยบำรุงโลหิต ดับพิษโลหิต
  2. ใบ บำบัดโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว ขับพยาธิ ยาถ่ายบำบัดโรคงูสวัดรักษาแผลสดและแผลแห้ง
  3. ยอด แก้โรคเบาหวาน
  4. เปลือกต้น ขับเสมหะแก้ริดสีดวงทวาร
  5. แก่น แก้โลหิต แก้ลมช่วยถ่ายกระษัยแก้โลหิตกำเดา ยาระบาย แก้ปัสสาวะเป็นสีต่างๆ ช่วยฟอกถ่ายประจำเดือนของสตรี แก้ลมในกระดูก
  6. ดอก แก้นอนไม่หลับ

 SMS4

วิธีการใช้ :

  1. ยาฟอกโลหิตช่วยบำรุงโลหิต ดับพิษโลหิต นำรากมามาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. บำบัดโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว ขับพยาธิ ยาถ่าย นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. บำบัดโรคงูสวัดรักษาแผลสดและแผลแห้ง นำใบมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น
  4. แก้โรคเบาหวาน นำยอดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. ขับเสมหะแก้ริดสีดวงทวาร นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  6. แก้โลหิต แก้ลมช่วยถ่ายกระษัยแก้โลหิตกำเดา ยาระบาย แก้ปัสสาวะเป็นสีต่างๆ ช่วยฟอกถ่ายประจำเดือนของสตรี แก้ลมในกระดูก นำแก่นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  7. แก้นอนไม่หลับ นำดอกมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
แสมสารเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

 





.