บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

เหงือกปลาหมอ


ชื่อสมุนไพร : เหงือกปลาหมอ
ชื่อเรียกอื่นๆ : แก้มหมอ (สตูล), แก้มหมอเล (กระบี่), อีเกร็ง (ภาคกลาง), นางเกร็ง, จะเกร็ง และ เหงือกปลาหมอน้ำเงิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Acanthus ebracteatus Vahl
ชื่อสามัญ : Sea Holly และ Thistleplike Plant
วงศ์ ACANTHACEAE



 NGP1

เหงือกปลาหมอเป็นเป็นพรรณไม้ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดสมุทรปราการ ชอบขึ้นอยู่บริเวณชายฝั่งแม่น้ำลำคลองสามารถพบได้ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ดอกสีขาวและพันธุ์ดอกสีม่วง โดยพันธุ์ดอกสีขาวจะพบมากทางภาคกลางและภาคตะวันออก ส่วนพันธุ์ดอกสีม่วงจะพบมากทางภาคใต้ จัดเป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่เรียกว่าสมุนไพรชายน้ำหรือสมุนไพรชายเลนก็ว่าได้ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ดหรือใช้กิ่งปักชำซึ่งจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มและที่มีความชื้นสูง คุณประโยชน์นั้นช่วยรักษาโรคต่างๆได้มากมายหลายชนิด หนึ่งในนั้นสามารถนำเหงือกปลาหมอทั้ง 5 ส่วน ได้แก่ ราก, ต้น, ใบ, ผล และเมล็ด มารักษาโรคมะเร็งได้เป็นผลดี อีกทั้งยังช่วยแก้พิษฝี ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยให้เลือดลมเป็นปกติ และเป็นยาอายุวัฒนะชั้นเลิศก็ว่าได้ โดยล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขจัดโครงการแลกเปลี่ยนความรู้ไทยจีนซึ่งเป็นโครงการร่วมมือกันในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยสมุนไพร 2 ชนิดนั่นก็คือเหงือกปลาหมอและเห็ดหลินจือนั่นเอง สอดคล้องกับผลการวิจัยปริญญาเภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าน้ำยาสกัดของต้นเหงือกปลาหมอมีฤทธิ์ในการต่อต้านโรคมะเร็งในเม็ดเลือดของหนูทดลอง

 NGP4

ลักษณะสมุนไพร :
เหงือกปลาหมอเป็นไม้พุ่มขนาดกลางที่มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นแข็ง ข้อของลำต้น 4 หนาม ลำต้มมีมีสีขาวอมเขียว ลักษณะกลม ตั้งตรง และกลวง ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้ามกันมีหนามแหลมคมอยู่ริมขอบใบและปลายใบ ขอบใบเว้า ผิวใบเรียบเป็นมันลื่น แผ่นใบสีเขียว เส้นใบสีขาว มีเหลือบสีขาวเป็นแนวก้างปลา เนื้อใบแข็งและเหนียว ก้านใบสั้น
ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอด ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว มีทั้งพันธุ์ดอกสีม่วง (หรือสีฟ้า) และพันธุ์ดอกสีขาว ที่ดอกมีกลีบรองดอกมี 4 กลีบแยกจากกัน บริเวณกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ ผลเป็นฝักสีน้ำตาล รูปทรงกระบอกหรือรูปไข่หรือกลมรี ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร เปลือกฝักมีสีน้ำตาล ข้างในมีฝักมีเมล็ด 4 เมล็ด

NGP2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ต้น, ใบ และ เมล็ด
สรรพคุณทางยา :

  1. รากขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด รักษามุตกิดระดูขาว
  2. ต้น แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เป็นฝีบ่อยๆ
  3. ใบ เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย
  4. เมล็ด พอกฝี แก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย

 NGP5

NGP6

วิธีการใช้ :

  1. ยับยั้งโรคมะเร็งต้านมะเร็ง นำใช้เหงือกปลาหมอทั้ง 5 ส่วน (ราก,ต้น,ใบ,ผล,เมล็ด) มาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. รักษาประจำเดือนมาผิดปกติ นำทั้งต้นมาตำผสมกับน้ำมันงาและน้ำผึ้งนำมารับประทาน
  3. แก้ผื่นคัน นำใบและต้นสดประมาณ 3-4 กำมือนำมาสับต้มน้ำอาบเป็นประจำ 3-4 ครั้ง
  4. แก้ไข้หนาวสั่น นำทั้งต้นมาตำผสมกับขิง
  5. แก้ผิวแตกทั้งตัว นำทั้งต้นของเหงือกปลาหมอ 1 ส่วน และ ดีปลี 1 ส่วน ใช้ผสมกันบดให้เป็นผงชงกับร้อนดื่มแก้อาการ
  6. ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด รักษามุตกิดระดูขาว นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  7. รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสียแก้แผลพุพอง เป็นฝีบ่อยๆ นำต้น ใบและเมล็ดต้มกับน้ำอาบ
  8. แก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

 NGP3

ถิ่นกำเนิด :
เหงือกปลาหมอเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชียตามบริเวณป่าชายเลน หรือชายฝั่งแม่น้ำที่มีน้ำเค็มและน้ำกร่อย

 





.