บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

เสม็ด


ชื่อสมุนไพร : เสม็ด
ชื่อเรียกอื่นๆ : เสม็ดขาว (ภาคตะวันออก), เม็ด, เหม็ด (ภาคใต้) และ กือแล (มลายู-ปัตตานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melaleuca quinquenervia (Cav.) S.T.Blake
ชื่อสามัญ : Cajuput Tree, Milk Wood, Paper Bark Tree และ Swamp Tree
วงศ์ : MYRTACEAE



SM1

เสม็ดเป็นไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีมากในสภาพที่ลุ่มมีน้ำขัง มักพบได้ทั่วไปตามชายทะเล ป่าชายหากใกล้ทะเล ในที่ลุ่มมีน้ำขัง ตามขอบของป่าพรุที่ถูกไฟเผาผลาญทำลายจนโล่งเตียน โดยป่าเสม็ดจะเป็นแหล่งกระจายพันธุ์ของเห็ดเสม็ดและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของผึ้งและนกน้ำอีกด้วย และในเวียดนามจะใช้ป่าเสม็ดเป็นที่กักเก็บน้ำเพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำที่เป็นกรดให้มีความเป็นกรดลดลง ก่อนนำไปใช้ปลูกข้าว ซึ่งในทุกๆ ปีในช่วงหน้าแล้งยาวนาน หากมีฝนตกจนป่าเสม็ดชุ่มชื้น และมีแสงแดดจัดประมาณ 4-5 วัน ก็จะมี “เห็ดเสม็ด” งอกขึ้นมา ซึ่งใบสดนำมาใช้กลั่นทำเป็นน้ำมันหอมระเหยได้ ซึ่งจะมีกลิ่นคล้ายกับการบูร ที่เรียกว่า “น้ำมันเขียว” (Cajuput oil) หรือ “น้ำมันเสม็ด“ และมีคุณสมบัติในทางยาคล้ายกับ Eucalyptus oil และใบนำมาต้มกับน้ำดื่มแทนน้ำชา หรือนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น ควายและแพะ นอกจากนี้ชาวบ้านยังใช้ใบและยอดอ่อนเสม็ดนำมารับประทานเป็นผักอีกด้วย ดอกและยอดอ่อนมีรสเผ็ดใช้รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกได้ด้วย

 SM2

ลักษณะสมุนไพร :
เสม็ดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัด มีความสูงของต้นประมาณ 5-25 เมตร มีเรือนยอดแคบเป็นพุ่มทรงสูง ลำต้นมักบิด เปลือกลำต้นเป็นสีขาวนวลจนถึงสีน้ำตาลเทา เปลือกเป็นแผ่นบางๆ เรียงซ้อนกันเป็นปึกหนานุ่ม ลอกออกได้เป็นแผ่นๆ ส่วนเปลือกชั้นในบางและเป็นสีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือมนหรือเป็นรูปลิ้ม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนาและกรอบ เป็นสีเขียวอมเทา มีเส้นใบหลักประมาณ 5-7 เส้น ออกจากโคนใบจรดปลายใบ มีก้านใบยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ส่วนใบอ่อนมีขนคล้ายเส้นไหมขึ้นปกคลุม ดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด โดยจะออกตามซอกใบหรือใกล้กับปลายกิ่ง ดอกย่อยเป็นสีขาวและมีขนาดเล็ก ดอกประกอบไปด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบเลี้ยงดอกยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร โคนกลีบติดกัน ส่วนดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกยาวประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร ลักษณะเป็นรูปช้อนแกมรูปไข่ ผลเป็นผลแห้ง แตกออกได้เป็นพู 3 พู ลักษณะของผลเป็นรูปถ้วย ปลายปิด ขนาดเล็กและแป้น มีขนาดกว้างและยาวประมาณ 0.4 เซนติเมตร ผลแก่เป็นสีน้ำตาลอมเทาถึงสีคล้ำ ผลแห้งแตกด้านบน ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก

 SM3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบสด
สรรพคุณทางยา :

  1. ใบสด แก้เคล็ดยอก ฟกบวม  แก้ปวดเมื่อย แก้เคล็ด รักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคปวดข้อรูมาติซั่ม แก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก แก้ปวดท้อง ช่วยขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบ ขับลม แก้จุกเสียด ท้องอืด ท้องขึ้น ขับพยาธิ

 SM4

วิธีการใช้ :

  1. แก้เคล็ดยอก ฟกบวม  แก้ปวดเมื่อย แก้เคล็ด รักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคปวดข้อรูมาติซั่ม นำใบสดมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นแผล
  2. แก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก แก้ปวดท้อง นำผลมะกรูด หรือใบพลู รมควันใต้ใบเสม็ดพออุ่นๆ นาบท้องเด็ก
  3. ขับลม แก้จุกเสียด ท้องอืด ท้องขึ้น ขับพยาธิ นำใบสดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

 SM5

ถิ่นกำเนิด :
เสม็ดเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย, ประเทศพม่า ประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย

 





.