บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เปลือกไม้ปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

เม่าไข่ปลา


ชื่อสมุนไพร : เม่าไข่ปลา
ชื่อเรียกอื่นๆ : ขะเม่าผา (ภาคเหนือ), มะเม่าผา, มะเม่า (อีสาน), ขมวยตาครวย (อุบลราชธานี, กาฬสินธุ์, ชัยภูมิ), มังเม่า (จันทบุรี), มะเม่าข้าวเบา (ชุมพร), เม่าทุ่ง (ชุมพร, สงขลา), กูแจ (มลายู-นราธิวาส) และมะเม่าไข่ปลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canna indica Linn.
ชื่อสามัญ : Black Currant Tree และ Wild Black Berry
วงศ์ : CANNACEAE



MKPA4

เม่าไข่ปลาเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วนซุย ความชื้นต่ำ แสงแดดจัด พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ ชายป่าดิบ ป่าโปร่ง ป่าชายเลน ชายฝั่งทะเล ที่โล่งลุ่มต่ำ ตามทุ่งหญ้า เรือกสวนทั่วไป และตามป่าพรุ ตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,300 เมตร  ผลสุกมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ ยอดอ่อน ใบอ่อน มีรสฝาดอมเปรี้ยวและมัน นำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงเลียง หรือใช้ต้มเป็นผักจิ้ม ใบอ่อนและผลดิบใช้ปรุงอาหารให้มีรสเปรี้ยว เนื้อไม้เป็นสีแดง มีความแข็งแรง สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างได้

 MKPA1

ลักษณะสมุนไพร :
เม่าไข่ปลาเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านต่ำเป็นพุ่ม มีความสูงได้ประมาณ 2-6 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีค่อนข้างกลม รูปรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กว้างถึงรี ปลายใบมนกลมหรือเป็นติ่งแหลมเล็กน้อย โคนใบมนกลมถึงหยักเว้า ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบเกลี้ยง ดอกเป็นช่อเชิงลด โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายยอด ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก สีเขียวอมเหลือง ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ ช่อดอกยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร แกนช่อมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดง ใบประดับเป็นรูปใบหอก ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีขนสั้นนุ่ม ออกผลเป็นช่อ ช่อผลยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ผลย่อยมีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลมรีหรือแบนเล็กน้อย ผลมีขนาดประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ผิวผลมีขน ผนังชั้นในแข็ง ผลอ่อนเป็นสีขาว พอแก่จะเป็นสีแดงเข้มเกือบดำ ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด

 MKPA2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ผล, ต้น, ราก, เปลือกต้น และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ผล แก้อาการโลหิตจาง ซีดเหลือง เลือดไหลเวียนไม่ดี แก้อาการปวดศีรษะ แก้อาการไข้ แก้อาการกระหายน้ำ ยาระบาย ช่วยแก้อาการท้องผูก ยาแก้ช่องท้องบวม
  2. ต้น ยาแก้กระษัย ยาขับปัสสาวะ ยาแก้มดลูกพิการ มดลูกช้ำบวม อาการตกขาวของสตรี ช่วยขับโลหิตและน้ำคาวปลาของสตรี ช่วยบำรุงไต ช่วยแก้เส้นเอ็นพิการ แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  3. ราก ยาแก้กระษัย ยาขับปัสสาวะ ยาแก้มดลูกพิการ มดลูกช้ำบวม อาการตกขาวของสตรี ช่วยขับโลหิตและน้ำคาวปลาของสตรี ช่วยบำรุงไต ช่วยแก้เส้นเอ็นพิการ แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  4. เปลือกต้น ยาบำรุงกำลัง
  5. ใบ แก้อาการปวดศีรษะ ยาแก้ไข้ ช่วยแก้อาการท้องอืด ช่วยแก้อาการท้องบวม แก้โรคผิวหนัง

 MKPA3

วิธีการใช้ :                                     

  1. แก้อาการโลหิตจาง ซีดเหลือง เลือดไหลเวียนไม่ดี นำผลเม่าไข่ปลา นำมาต้มกับน้ำอาบ
  2. แก้อาการปวดศีรษะ แก้อาการไข้ แก้อาการกระหายน้ำ ยาระบาย ช่วยแก้อาการท้องผูก ยาแก้ช่องท้องบวม นำผลมารับประทาน
  3. ยาแก้กระษัย ยาขับปัสสาวะ ยาแก้มดลูกพิการ มดลูกช้ำบวม อาการตกขาวของสตรี ช่วยขับโลหิตและน้ำคาวปลาของสตรี ช่วยบำรุงไต ช่วยแก้เส้นเอ็นพิการ แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย นำต้นและรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ยาบำรุงกำลัง นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ รับประทาน
  5. แก้อาการปวดศีรษะ ยาแก้ไข้ ช่วยแก้อาการท้องอืด ช่วยแก้อาการท้องบวม แก้โรคผิวหนัง นำใบมาต้มกับน้ำ รับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
เม่าไข่ปลาเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย ไปจนถึงทางตอนเหนือของออสเตรเลีย

 





.