บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เปลือกไม้ปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

เขยตาย


ชื่อสมุนไพร : เขยตาย
ชื่อเรียกอื่นๆ : ส้มชื่น, ศรีชมชื่น, น้ำข้าวต้น, พิษนาคราช, พุทธรักษา (สุโขทัย), ประยงค์ใหญ่ (กรุงเทพฯ), กระรอกน้ำ, กระรอกน้ำข้าว (ชลบุรี), มันหมู (ประจวบคีรีขันธ์), เขนทะ, ส้มชื่น (ภาคเหนือ), ส้มชื่น (ภาคอีสาน), กระโรกน้ำข้าว, เขยตายแม่ยายชักลาก, ลูกเขยตาย, น้ำข้าว (ภาคกลาง), เขยตายแม่ยายชักปรก, ลูกเขยตาย, ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ, ต้มชมชื่น, น้ำข้าว, โรคน้ำเข้า, หญ้ายาง (ภาคใต้), ชมชื่น, เขยตาย,แม่ยายปรก, ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ, ตาระเป (บางภาคเรียก) และ ต้นเขยตาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC.
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : RUTACEAE



KATE2

เขยตายเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน ประโยชน์ของเขยตาย ผลสุกมีรสหวานใช้รับประทานได้ แต่มีกลิ่นฉุน ใบใช้เป็นอาหารของหนอนผีเสื้อ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร ลำต้นเขยตายมีสารอัลคาลอยด์ arborinine เป็นหลัก และอัลคาลอยด์อื่นๆ ข้อควรระวัง คือ ยางจากทุกส่วนของลำต้นมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน เพ้อคลั่งและเสียชีวิตได้

 KATE1

ลักษณะสมุนไพร :
เขยตายเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม่ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้นเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว ใบออกดกทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับตรงข้ามหรือกึ่งตรงข้าม มีใบย่อยประมาณ 3-5 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมถึงกลม โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบเรียบหรือมีรอยจักตื้น แผ่นใบเรียบ ผิวใบทั้งสองด้านมีจุดต่อม หลังใบเรียบลื่นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า ใบด้านบนๆ จะมีสีแดงที่ฐาน ออกดอกเป็นช่อเชิงลดแยกแขนงหรือออกเป็นกระจุกประมาณ 12-15 ดอก ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีขาวมี 5 กลีบ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมขนาดเล็ก ปลายผลแหลม ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูใส ฉ่ำน้ำ มีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ดสีดำ 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลม เป็นลาย

 KATE3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ใบ, เปลือกต้น และ ดอก
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก ยาแก้ไข้กาฬ ไข้รากสาด และเป็นยาลดไข้ ยาแก้ไอ แก้ไข้ ยาแก้โรคบิดท้องเดิน ยาขับน้ำนม แก้โรคผิวหนังพุพอง ทาแผลที่อักเสบ ยากระทุ้งพิษ แก้พิษฝีทั้งภายในและภายนอก แก้พิษงูหรือพิษนาคราช แก้พิษต่างๆ แก้พิษไข้ ยาแก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม เกลื่อนฝีให้ยุบ ยับยั้งเชื้อไวรัสบางชนิด
  2. ใบ ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้เบาหวาน ยาแก้ไอ แก้ไข้ ยาแก้โรคบิดท้องเดิน ถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ไข้ ยาแก้โรคตับ รักษาผิวหนังอักเสบ เป็นตุ่มพุพอง หรือคันอักเสบ ยาทารักษางูสวัด เริม ไฟลามทุ่ง ขยุ้มตีนหมา ลมพิษ
  3. เปลือกต้น ยาขับน้ำนม ยาแก้ฝีทั้งภายในและภายนอก ยากระทุ้งพิษ แก้พิษงูหรือพิษนาคราช แก้พิษต่างๆ แก้พิษไข้
  4. ดอก ยาแก้หิด

 KATE4

วิธีการใช้ :                                     

  1. ยาแก้ไข้กาฬ ไข้รากสาด และเป็นยาลดไข้ ยาแก้ไอ แก้ไข้ ยาแก้โรคบิดท้องเดิน ยาขับน้ำนม แก้โรคผิวหนังพุพอง ทาแผลที่อักเสบ ยากระทุ้งพิษ แก้พิษฝีทั้งภายในและภายนอก แก้พิษงูหรือพิษนาคราช แก้พิษต่างๆ แก้พิษไข้ ยาแก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม เกลื่อนฝีให้ยุบ ยับยั้งเชื้อไวรัสบางชนิด นำรากมาต้มกับน้ำกิน
  2. ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้เบาหวาน ยาแก้ไอ แก้ไข้ ยาแก้โรคบิดท้องเดิน ถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ไข้ ยาแก้โรคตับ รักษาผิวหนังอักเสบ เป็นตุ่มพุพอง หรือคันอักเสบ ยาทารักษางูสวัด เริม ไฟลามทุ่ง ขยุ้มตีนหมา ลมพิษ นำใบมาต้มกับน้ำกิน
  3. ยาขับน้ำนม ยาแก้ฝีทั้งภายในและภายนอก ยากระทุ้งพิษ แก้พิษงูหรือพิษนาคราช แก้พิษต่างๆ แก้พิษไข้ นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำกิน
  4. ยาแก้หิด นำดอกมาต้มกับน้ำกิน

ถิ่นกำเนิด :
เขยตายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและออสเตรเลีย พบได้ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ประเทศในแถบคาบสมุทรอินโดจีน สุมาตราและชวา

 





.