บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

หูปลาช่อน


ชื่อสมุนไพร : หูปลาช่อน
ชื่อเรียกอื่นๆ : ผักบั้ง (ลำปาง), ผักแดง (เลย), หางปลาช่อน (เพชรบุรี, ภาคกลาง), เอี่ยโต่ยเช่า, เฮียะแอ่อั้ง (จีนแต้จิ๋ว), หยางถีฉ่าว, หยางถีเฉ่า, เยวียะเสี้ยหง และ อีเตี่ยนหง (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Emilia sonchifolia (L.) DC.
ชื่อสามัญ : Cupid’s shaving Brush, Emilia และ Sow Thistle
วงศ์ : ASTERACEAE



HPCH1

หูปลาช่อนเป็นพรรณไม้ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้วัชพืชที่มักขึ้นตามที่ชื้น ทุ่งหญ้าโล่ง หรือขึ้นปะปนกับวัชพืชทั่วไป พบได้ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และจัดเป็นวัชพืชที่มีการกระจายพันธุ์ได้รวดเร็ว รากที่ต้มของหูปลาช่อน พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Btaphylo coccus ได้ จากการรักษาปู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจจำนวน 50 ราย และผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่เป็นเด็กอีก 25 ราย ด้วยการใช้ลำต้นของหูปลาช่อนแห้งประมาณ 1 กรัม นำมาทำเป็นยาฉีด ฉีดข้ากล้ามเนื้อติดต่อกันประมาณ 2-3 วัน พบว่าจากการรักษาได้ผลดีที่เป็นที่น่าพอใจ และทำให้อาการไข้ลดลง อาการหอบ อาการไอก็หายไปด้วย

 HPCH4

ลักษณะสมุนไพร :
หูปลาช่อนเป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีลำต้นตั้งตรง มีมีสีเขียวแกมม่วง ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 10-50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านที่โคนต้น ลำต้นปกคลุมไปด้วยขนนุ่มทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบมีลักษณะห่อหุ้มลำต้นอยู่ ปลายใบแหลมเรียว โคนใบกว้างเป็นรูปไข่ ส่วนขอบใบโค้งหยักเล็กน้อยหรือหยักเว้า มีขนาดยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีม่วงแดง ใบที่โคนต้นจะมีขนาดใหญ่กว่าใบที่อยู่บนยอด ใบบนเป็นรูปหอกโคนเว้าขอบจักแคบ ไม่มีก้านใบ ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามบริเวณกลางลำต้นหรือยอดต้น ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร และก้านดอกมักแบ่งออกเป็น 2 แขนง มีดอกย่อยประมาณ 20-45 ดอก ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล็ก ยาวประมาณ 12-14 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอก กลีบดอกส่วนโคนจะเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ดอกเป็นสีแดงม่วงมี 5 แฉก มีเกสรเพศผู้ 5 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน ผลเป็นผลเดี่ยว ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอกยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร เปลือกผลแข็งมีจรสีขาวปกคลุมที่เส้นสันผิวเปลือก ผลแห้งจะไม่แตกหรืออ้าออก เมล็ดล่อน สีน้ำตาล และมีขน

 HPCH2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ลำต้น, ราก และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ลำต้น ยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดตับและลำไส้เล็ก ยารักษาระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ ยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ เป็นยาแก้ไข้ ทำให้เลือดเย็น ช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย ช่วยแก้หืดไอ ช่วยแก้เลือดกำเดา อาเจียนเป็นเลือด ช่วยแก้ตาเจ็บตาแดง ยาแก้เจ็บคอ คอตีบ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ช่วยขับเสมหะ แก้บิดถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด แก้ท้องร่วง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคเริม ช่วยลดและแกอาการบวมน้ำ ช่วยรักษาฝีในลำไส้ ช่วยแก้ฝีฝักบัว แก้ผดผื่นคัน ฝีต่างๆ
  2. ราก แก้โรคตานซางขโมยในเด็ก ช่วยแก้ท้องเสีย แก้อาการปวดหลัง ปวดเอว
  3. ใบ แก้เจ็บตา รักษาหูด

 HPCH3

วิธีการใช้ :                                     

  1. ยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดตับและลำไส้เล็ก ยารักษาระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ ยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ เป็นยาแก้ไข้ ทำให้เลือดเย็น ช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย ช่วยแก้หืดไอ ช่วยแก้เลือดกำเดา อาเจียนเป็นเลือด ช่วยแก้ตาเจ็บตาแดง ยาแก้เจ็บคอ คอตีบ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ช่วยขับเสมหะ แก้บิดถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด แก้ท้องร่วง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคเริม ช่วยลดและแกอาการบวมน้ำ ช่วยรักษาฝีในลำไส้ ช่วยแก้ฝีฝักบัว แก้ผดผื่นคัน ฝีต่างๆ นำลำต้นสดใช้ 30-90 กรัม ลำต้นแห้งใช้ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินวันละ 2-3 ครั้ง
  2. แก้โรคตานซางขโมยในเด็ก ช่วยแก้ท้องเสีย แก้อาการปวดหลัง ปวดเอว นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. แก้เจ็บตา รักษาหูด นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
หูปลาช่อนเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 





.