บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

สะเดา


ชื่อสมุนไพร : สะเดา
ชื่อเรียกอื่นๆ : สะเลียม (ภาคเหนือ), กะเดา (ภาคใต้), ผักสะเลม (ไทลื้อ), ตะหม่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ลำต๋าว (ลั้วะ), สะเรียม (ขมุ), ควินิน  (ทั่วไป) และจะตัง (ส่วย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis Valeton
ชื่อสามัญ : Siamese neem tree, Nim , Margosa, Quinine
วงศ์ : Meliaceae



 sa2

สะเดาเป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกง่าย โตเร็ว และทนแล้งได้ดี สะเดา แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ สะเดาอินเดีย สะเดาไทย และสะเดาช้าง ซึ่งมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในด้านของลักษณะทางกายภาพ ทุกๆส่วนในต้นสะเดามีรสชาติขม แต่เต็มไปด้วยประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี และไนอาซิน และยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆมากมาย ทั้งการมีส่วนช่วยให้เจริญอาหาร แก้พิษ บำรุงธาตุ แก้โรคหัวใจ แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาสมานแผล ใช้ถ่ายพยาธิ และรักษาโรคเบาหวาน โดยมากนิยมนำเอาสะเดามาลวกจิ้มกินกับน้ำพริกเพื่อลดความขมในตัวของมัน และมีการนำสะเดามาใช้เป็นเครื่องเคียงเพื่อรับประทานกับน้ำปลาหวานด้วย

มากไปกว่านั้นเนื่องจากสะเดาเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่จึงสามารถใช้ให้ร่มเงาหรือกันลมได้ เนื้อไม้จากต้นสะเดาก็มีความแข็งแรง สามารถนำเนื้อไม้จากลำต้นไปใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ทำเสาเข็ม และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้ อีกทั้งเนื้อไม้ยังใช้เป็นเชื้อเพลิงคุณภาพดีได้ด้วย

sa3

ลักษณะสมุนไพร :

สะเดาเป็นไม้ต้น สูงประมาณ 5-10 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลแดง หรือสีออกเทาแตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว ใบสะเดาเป็นใบประกอบแบบขนนก สีเขียว ลักษณะใบคล้ายรูปหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก แผ่นใบเรียบมัน ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 4-7 ใบ แต่ละใบมีเส้นใบมีประมาณ 15 คู่ ดอกสะเดามีสีขาวนวล ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกมีกลิ่นหอม ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2 มม. มีขนนุ่มสั้น กลีบเลี้ยงรูปทรงแจกัน ปลายเป็นพูกลมซ้อนเหลื่อมกัน กลีบดอกลักษณะคล้ายช้อนแคบยาว 4-6 มม. มี 5 กลีบ โคนติดกัน มีเกสรเพศผู้ 10 อัน และรังไข่เกลี้ยง ผลสดทรงรี ยาว 1-2 มม. สีเขียว ผิวเรียบ เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ติดผลเมื่อปลูกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และให้ผลผลิตเต็มที่เมื่ออายุ 10 ปี ภายในผลมี 1 เมล็ด รูปทรงรี

สะเดาขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยการเพาะเมล็ด และถือเป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตรวดเร็ว เจริญได้ดีในแถบร้อน และทนแล้งได้ดีมาก

 sa1

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ดอก ยอดดอก ขนอ่อน เปลือกลำต้น ก้านใบ ใบ แก่น ราก ผล เปลือกราก น้ำมันจากเมล็ด

สรรพคุณทางยา :

  1. ดอกและยอดอ่อน แก้โลหิตเป็นพิษ แก้ริดสีดวง แก้อาการคันในลำคอ บำรุงธาตุ บำรุงน้ำดี ขับลม และแก้ไข้
  2. เปลือกลำต้น แก้ไข้ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ท้องเสีย บิดมูกเลือดและแก้ไข้มาลาเรีย
  3. ก้านใบ แก้ไข้ทั่วไปหรือไข้จับสั่น ทำยารักษาไข้มาลาเรีย แก้ท้องร่วง แก้กระษัยและแก้ร้อนในกระหายน้ำ
  4. ใบ แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย บำรุงธาตุ และช่วยย่อยอาหาร
  5. แก่น แก้คลื่นไส้อาเจียนและขับเสมหะ บำรุงเลือด และบำรุงไฟธาตุ
  6. ราก รักษาโรคกระเพาะ แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก และช่วยทำให้อาเจียน
  7. ผล มีรสขมเนื่องจากสาร bakayanin มีฤทธิ์ช่วยถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง และเป็นยาระบาย
  8. เปลือกราก เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง
  9. เมล็ด สกัดน้ำมันออกมาใช้รักษาโรคผิวหนัง และมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลงได้

 sa4

ถิ่นกำเนิด :                          

สะเดาเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย

sa5

 





.