บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

ราชดัด


ชื่อสมุนไพร : ราชดัด
ชื่อเรียกอื่นๆ : ดีควาย, มะขี้เหา, ยาแก้ฮากขม, เท้ายายม่อมน้อย, กาจับหลัก (เชียงใหม่), พญาดาบหัก (ตราด), สอยดาว (จันทบุรี), มะลาคา (ปัตตานี), กะดัด, ฉะดัด (ใต้), ฉะดัด (สุราษฎร์), เพี้ยฟาน (โคราช), ราชดัด, ดีคน (ไทย) และ โค้วเซียมจี๊ (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brucea javanica (L.) Merr.
วงศ์ SIMAROUBACEAE



RCD3

ราชดัดเป็นพืชที่มักพบตามป่าเบญจพรรณ และป่าโปร่ง โดยมีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั้งส่วนของราก ลำต้น ใบ  ผล และเมล็ด โดยมีสรรพคุณทางยาในบรรเทารักษาโรคต่างๆมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งเนื่องจากภายในมีสารประกอบพวก Quassinoid ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ในการต้านเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยจะมีกลไกการออกฤทธิ์ไปยับยั้งการสังเคราะห์ Polyphenylalanine ของเซลล์มะเร็งทำให้เกิดผลกระทบต่อการสังเคราะห์ DNA นั่นเอง นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับการค้นคว้าวิจัยของคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จ.สมุทรปราการ ซึ่งพบว่าสารที่ถูกสกัดได้จากผลนั่นก็คือ สาร Brusatol และ สารที่สกัดได้มาจากส่วนใบและก้านนั่นก็คือ สาร Flavone และ Chrysoeriol โดยสารทั้งหมดนั้นจะมีคุณสมบัติในการทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้เป็นอย่างดี

 RCD2

ลักษณะสมุนไพร :
ราชดัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5-4 เมตร ลำต้นมีเปลือกเรียบสีขาวปนเทาและมีขนสีเหลืองปกคลุม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่เรียงสลับเวียนรอบกิ่ง มีใบย่อย 5-13 ใบ แผ่นใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ขอบใบหยักมนเป็นฟันเลื่อย ปลายใบแหลมและโคนใบมน ผิวใบจะมีขนนุ่มทั้งสองด้าน เนื้อใบบางและนิ่ม ก้านใบยาว 5-10 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อแยกเพศกันมักกระจายตามซอกใบและที่ปลายยอด ดอกย่อยมีขนาดเล็กมีสีขาวอมเขียวถึงสีแดงอมเขียวหรือสีม่วง กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กมาก มี 4 แฉก กลีบดอกเป็นรูปช้อนใหญ่กว่ากลีบเลี้ยงเล็กน้อยมีสีอมม่วงหรือสีน้ำตาลแดง กลีบดอกมีขน อยู่จำนวน 4 กลีบ เกสรตัวผู้มี 4 อัน ฐานอับเรณูทรงกลมใหญ่ ก้านชูเกสรเป็น 4 พู รังไข่เป็นชนิดอยู่สูง กลีบเลี้ยงขนาดเล็กมากมีจำนวน 4 แฉก ผลลักษณะกลมและเป็นพวง ผลสด มีเนื้อ ผิวเรียบเป็นมัน ขนาดเล็กความยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร ออกรวมกลุ่มกัน เปลือกมีลักษณะแข็ง ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีสีดำ คล้ายเมล็ดมะละกอแห้ง มีเมล็ดเดียวที่ผิวเรียบมีสีน้ำตาลรสขมจัด

 RCD4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ใบ, ทั้งต้น, ผล และ เมล็ด
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก แก้พิษไข้ ผิดสำแดงแก้บิด แก้เสียดท้อง แก้ปวดกล้ามเนื้อ แก้ไอ
  2. ใบแก้ฝี แก้กลากเกลื้อน ถอนพิษตะขาม แมงป่อง แก้ตับม้ามโต
  3. ทั้งต้น แก้ตัวเหลือง ตาเหลืองแก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย
  4. ผล แก้กระษัย บำรุงน้ำดี บำรุงน้ำเหลือง แก้ท้องอืดเฟ้อ  แก้ลมวิงเวียน แก้หาวเรอวิงเวียน แก้อาเจียน แก้เจ็บอก แก้อาเจียนเป็นเลือด เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร ขับพยาธิ แก้โรคบิดไม่มีตัว ท้องร่วง และแก้ไข้มาลาเรีย
  5. เมล็ด รักษาโรคผิวหนังจำพวกเกลื้อน รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ ยาคุมธาตุ บำรุงธาตุ รักษาโรคบิดไม่มีตัว โรคพยาธิ แก้ท้องร่วง

 RCD1

วิธีการใช้ :

  1. แก้พิษไข้ ผิดสำแดง แก้บิด แก้เสียดท้อง แก้ปวดกล้ามเนื้อ นำรากมาฝนหรือต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. แก้ไอ นำรากมาเคี้ยวกับหมากแก้ไอ
  3. แก้ฝี แก้กลากเกลื้อน ถอนพิษตะขาม แมงป่อง แก้ตับม้ามโต นำใบมาตำกับปูนแดงพอกบริเวณที่เป็น
  4. แก้ตัวเหลือง ตาเหลือง แก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย นำต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. แก้กระษัย บำรุงน้ำดี บำรุงน้ำเหลือง แก้ท้องอืดเฟ้อ  แก้ลมวิงเวียน แก้หาวเรอวิงเวียน แก้อาเจียน แก้เจ็บอก แก้อาเจียนเป็นเลือด เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร ขับพยาธิ แก้โรคบิดไม่มีตัว ท้องร่วง และแก้ไข้มาลาเรีย นำผลมาทุบให้เปลือกแตกแล้วต้มรับประทานครั้งละ 5 ผล
  6. รักษาโรคผิวหนังจำพวกเกลื้อน นำเมล็ดแห้งตำพอแหลกแล้วเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น
  7. รักษาโรคลำไส้ เป็นยาคุมธาตุ บำรุงธาตุ รักษาโรคบิดไม่มีตัว โรคพยาธิ แก้ท้องร่วง นำเมล็ดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
ราชดัดเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนตอนใต้

 





.