บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

มะแว้งเครือ


ชื่อสมุนไพร : มะแว้งเครือ
ชื่อเรียกอื่นๆ : แขว้งเคีย (ตาก), มะแว้งเถา (กรุงเทพฯ), มะแว้ง และ มะแว้งเถาเครือ (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum trilobatum Linn.
ชื่อสามัญ Ma waeng
วงศ์ SOLANACEAE



MWK3

มะแว้งเครือเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง มักขึ้นเองตามธรรมชาติในบริเวณที่ราบชายป่า ที่โล่งแจ้ง และบริเวณที่รกร้างริมทาง สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับมะแว้งต้นและมะแว้งนก ซึ่งมะแว้งเครือและมะแว้งต้นต่างก็มีสรรพคุณทางยาที่คล้ายคลึงกัน แต่มักจะนิยมใช้มะแว้งเครือทำเป็นยาและผลมะแว้งเครือนำมาจิ้มกินกับน้ำพริกมากกว่ามะแว้งต้น ในปัจจุบันสรรพคุณของมะแว้งเครือในด้านการเป็นยาแก้ไอถูกพัฒนาเป็นยาสำเร็จรูปโดยองค์การเภสัชกรรม ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ รักษาแผลในลำคอ โดยถือเป็นตำรับยาแผนโบราณที่มีประสิทธิภาพสูงอีกตำรับหนึ่ง กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้เป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ นอกจากนี้ยังพบว่ามะแว้งเครือมีประสิทธิภาพในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง เนื่องจาก สารที่สกัดมะแว้งเครือด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

 MWK2

ลักษณะสมุนไพร :
มะแว้งเครือเป็นไม้เถาขนาดเล็กเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น ลำต้นกลม สีเขียวเป็นมัน ตามลำต้นมีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเว้า ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร สีเขียวเป็นมัน แผ่นใบล่างมีหนามตามเส้นใบ ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ในช่อดอกหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 5-12 ดอก ดอกย่อยเป็นสีม่วงอมชมพู กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉกและมีลักาณะย่น ปลายกลีบแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้สีเหลืองมี 5 อัน ส่วนก้านดอกและก้านช่อเป็นสีเขียว ผลรูปทรงกลม ผิวผลเรียบเกลี้ยง ผลมีขนาดเล็กกว่าผลของมะเขือพวง ขนาด 0.5 เซนติเมตร  ผลอ่อนเป็นสีเขียวมีลายเป็นสีขาวๆ ตามยาว เมื่อแก่หรือสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด ภายในผลมีเมล็ดลักษณะแบนๆ อยู่หลายเมล็ด ผลมีรสขม

 MWK4

MWK1

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ทั้งต้น, ต้น, ใบ และ ผลสด
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา แก้ไอ แก้ขับเสมหะให้ตก แก้หืด ขับปัสสาวะ แก้ไข้สันนิบาต บำรุงธาตุ แก้น้ำลายเหนียว กระหายน้ำ แก้วัณโรค
  2. ทั้งต้น ขับเหงื่อ แก้ไอ แก้หืด ขับปัสสาวะ
  3. ต้น แก้หญิงท้องขึ้นในขณะมีครรภ์ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว กระทุ้งพิษไข้ ขับปัสสาวะ
  4. ใบ บำรุงธาตุ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว
  5. ผล แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน บำรุงดี แก้น้ำลายเหนียว บำรุงเลือด แก้โลหิตออกทางทวารหนักทวารเบา

 MWK5

วิธีการใช้ :

  1. แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา แก้ไอ แก้ขับเสมหะให้ตก แก้หืด ขับปัสสาวะ แก้ไข้สันนิบาต บำรุงธาตุ แก้น้ำลายเหนียว กระหายน้ำ แก้วัณโรค นำรากมาต้มเอาน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ขับเหงื่อ แก้ไอ แก้หืด ขับปัสสาวะ นำทั้งต้นมาต้มเอาน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. แก้หญิงท้องขึ้นในขณะมีครรภ์ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว กระทุ้งพิษไข้ ขับปัสสาวะ นำต้นมาต้มเอาน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. บำรุงธาตุ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว นำใบมาเคี้ยวสดๆ หรือ ต้มดื่มรับประทาน
  5. แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน บำรุงดี แก้น้ำลายเหนียว บำรุงเลือด แก้โลหิตออกทางทวารหนักทวารเบา นำผลสดนำมาเคี้ยวกลืน เฉพาะน้ำจนหมดรสขม แล้วคายกากทิ้งเสีย บำบัดอาการไอหรือนำผลสดๆ 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาน้ำ ใส่เกลือ จิบบ่อยๆ หรือนำผลสดเคี้ยวแล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ

 MWK6

ถิ่นกำเนิด :
มะแว้งเครือเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนและกึ่งร้อนในอเมริกากลาง อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย

 





.