ชื่อสมุนไพร : มะพร้าว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cocos nucifera L. var. nuciferao
ชื่อสามัญ : Coconut
วงศ์ : Palmae
มะพร้าว เป็นผลไม้ที่พบได้ทั่วไป และยังเป็นวัตถุดิบที่ผู้คนมักนำมาประกอบอาหาร หรือนำมาทำน้ำผลไม้ให้ได้ดื่มกัน ซึ่งหาชื้อได้ง่าย และมีราคาที่ไม่แพง แต่รู้กันหรือไม่ ว่ามะพร้าวนั้น นอกจากจะนำมาประกอบอาหาร หรือน้ำผลไม้แล้ว มะพร้าวยังเป็นสมุนไพรไทยมีประโยชน์ บรรเทาอาการต่างๆ หลายอาการ
(ภาพจาก https://tropicsbest.com/blog/the-fruit-of-life)
ลักษณะของสมุนไพร : มะพร้าวเป็นพืชยืนต้น ซึ่งใบจะมีลักษณะเป็นใบประกอบคล้ายขนนก มีก้านใหญ่ตรงกลาง มีความแข็งแรง ใบของต้นมะพร้าวนั้น จะอยู่รวมกันเป็นพุ่มอยู่ส่วนบนของต้น ในส่วนผลมะพร้าวจะมีเอ็กโซคาร์ป(exocarp) เป็นองค์ประกอบหรือเปลือกนอก ซึ่งตอนที่ยังเป็นผลอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน และเปลือกแข็ง เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม ถัดไปอีกชั้นด้านในคือใยมะพร้าว มีโซคาร์ป(mesocarp) เป็นองค์ประกอบ และถัดไปข้างในอีกชั้นหนึ่งเป็นส่วนกะลามะพร้าว มีเอนโดคาร์ป (endocarp) เป็นองค์ประกอบ และจะมีลักษณะแข็งมากๆ และจะมีรูอยู่ 3 รู สำหรับการแตกหน่อ หรือการงอกของลำต้น ถัดไปจากส่วนกะลามะพร้าว เข้าไปจะเป็นส่วน เนื้อมะพร้าว หรือที่เรียกอีกอย่างว่า เอนโดสเปิร์ม ซึ่งภายในมะพร้าวนี้ จะมีน้ำมะพร้าวอยู่ และมีรสชาติที่หอมหวาน เมื่อมะพร้าวแก่เนื้อมะพร้าวก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปจนหมด แต่ในขณะที่มะพร้าวอ่อนนั้น เนื้อมะพร้าวที่อยู่ภายในผลนั้นจะมีลักษณะอ่อนนุ่มและบาง ส่วนภายในมะพร้าวนั้นจะมีน้ำมะพร้าวอยู่ ซึ่งในระยะนี้เหมาะกับการนำมาทำน้ำมะพร้าว และเมื่อมะพร้าวแก่ซึ่งดูได้จากการที่เปลือกของมะพร้าวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งในระยะที่มะพร้าวแก่นี้ มักจะนำเนื้อมะพร้าวมาคั้นจนได้เป็นกะทิ เพื่อน้ำไปประกอบอาหาร
(ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Coconut)
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ :
เปลือกผล, กะลา, น้ำมันที่ได้จากการเผากะลามะพร้าว, เนื้อมะพร้าว, น้ำมันจากเนื้อ และน้ำมะพร้าว
(ภาพจาก http://frynn.com/น้ำมันมะพร้าว)
สรรพคุณทางยา :
– เปลือกผล ในส่วนเปลือกผลนี้ จะมีรสฝาด และออกรสขมหน่อยๆ ซึ่งมีสรรพคุณในการใช้ห้ามเลือด บรรเทาอาการปวด โรคกระเพาะ เลือดกำเดาออก และแก้อาเจียน
– กะลา นำกะลาที่ถูกผ่าครึ่งแล้ว นำมาขัด ล้างให้สะอาดแล้วตากแดดไว้อย่างน้อย 1 วัน แล้วนำมาเหยียบ หรือนำมานวดบริเวณที่ปวดเมื่อย จะบรรเทาอาการปวดเอ็น ปวดกระดูกได้
– น้ำมันที่ได้จากการเผากะลามะพร้าว โดยการนำน้ำมันที่ได้มานี้ ใช้ทาบริเวณบาดแผล และบริเวณที่เป็นโรคผิวหนังซึ่งจะช่วยลดอาการของโรคผิวหนังได้ นอกจากนี้ยังนำมาใช้แก้กลาก อุดฟัน และแก้ปวดฟันได้
– เนื้อมะพร้าว ในส่วนนี้จะมีรสหวานมัน รสชุ่ม รับประทานบำรุงกำลังเนื่องจากที่เนื้อมะพร้าวมีรสหวาน และมีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบ จึงให้พลังงานแก่ร่างการได้ดี แล้วยังมีสรรพคุณในขับพยาธิอีกด้วย
– น้ำมันจากเนื้อมะพร้าว ใช้ทาบรรเทากลาก และช่วยแก้บาดแผลที่เกิดจากความเย็นจัด หรือถูกความร้อน และใช้ผสมยาทาแก้โรคผิวหนังต่างๆ นอกจากที่ยังใช้เป็นอาหาร ทาแก้ผิวหนัง แห้ง แตกเป็นขุย และชนิดที่บริสุทธิ์มากๆ ใช้เป็นตัวทำละลายในยาฉีดได้
– น้ำมะพร้าว จะมีรสชาติที่ชุ่ม หวานหอม แก้กระหาย แก้พิษ อาเจียนเป็นเลือด ท้องเสีย บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ในอดีตยามจำเป็น
– ราก รากของมะพร้าวนั้น จะมีรสรสฝาด ใช้ในการขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย และต้มน้ำอมแก้ปากเจ็บ
ถิ่นกำเนิดของมะพร้าว :
มะพร้าว มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นได้แพร่หลายไปอเมริกา อินเดีย มาดากัสการ์ และเอฟริกา ชาวสเปนเป็นผู้นำไปปลูกยังหมู่เกาะเวสท์อินดีส และทะเลแคริเบียนตอนใต้ ชาวยุโรปนำไปปลูกในประเทศบราซิล และชาวโพลิเนเซียนนำไปยังเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิค ส่วนในไทยนั้น ตามจังหวัดที่ปลูกมะพร้าวกันมากก็คือ จังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
.
1 Comment
Comments are closed.