บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

มะจ้ำก้อง


ชื่อสมุนไพร : มะจ้ำก้อง
ชื่อเรียกอื่นๆ : มะจำก้อง (เชียงใหม่), ตาปลา (ตราด), กระดูกไก่, ก้างปลา, ก้างปลาเขา (จันทบุรี), กาลัง,กาสาตัวผู้ (นครราชสีมา), เหมือด (เลย), จีผาแตก (ลพบุรี), ตาเป็ดตาไก่ (นครศรีธรรมราช), อ้ายรามใบใหญ่ (ตรัง) และ ทุรังกะสา (สตูล)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia colorata Roxb.
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : MYRSINACEAE



MJK4

มะจ้ำก้องเป็นพรรณไม้ที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050 เมตร ประโยชน์ของมะจ้ำก้องใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป มีทรงพุ่มใบและช่อดอกสวยเด่น แต่ไม่มีกลิ่นหอม สารสกัดของผลสุกสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อที่ทำให้เกิดโรคท้องเสีย สารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองในในหลอดทดลอง นอกจากนี้ยังพบเม็ดสี (pigment) สีส้มทองชื่อ Rapanone ในเปลือกต้น ซึ่งเมื่อนำมาใช้ทดลองกับหนูที่ติดเชื้อโรคเรื้อนโดยให้ยาติดต่อกัน 6-12 เดือน พบว่าสามารถลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อดังกล่าวได้

 MJK1

ลักษณะสมุนไพร :
มะจ้ำก้องเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกกลับหรือรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาแข็งเป็นมัน ผิวใบเรียบเป็นสีเขียว ใบอ่อนเป็นสีแดง ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงรูปปิรามิด โดยจะออกที่ปลายกิ่งหรือตามส่วนยอด ช่อดอกย่อยอออกเป็นกระจุกลักษณะคล้ายซี่ร่ม กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีขาวแกมชมพูจางๆ รูปรีแกมรูปขอบขนาน โคนกลีบเชื่อมติดกัน ส่วนกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมีจุดสีดำหรือมีขนสั้นเกสรเพศผู้เป็นสีเหลือง ก้านช่อดอกเป็นสีม่วงแดง ออกดอกได้ตลอดทั้งปี แต่ในช่วงเดือนคุลาคมจะออกมากเป็นพิเศษ ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยว มีลักษณะกลม ขนาดเท่ากับเม็ดนุ่น ผลอ่อนเป็นสีแดง เมื่อสุกหรือแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำหรือสีดำ ส่วนเมล็ดมีลักษณะกลม

 MJK2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ผล, ต้น, ใบ, ราก, เมล็ด และ ดอก
สรรพคุณทางยา :

  1. ผล ยาแก้ธาตุพิการ แก้ซาง ยาแก้ไข้ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ลมพิษ
  2. ต้น ยาแก้กระษัย ยาฟอกขับปัสสาวะให้บริสุทธิ์ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะขุ่นข้น ยาแก้โรคเรื้อน
  3. ใบ ช่วยแก้อาการไอ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้โรคตับพิการ รักษาอาการติดเชื้อไวรัส
  4. ราก ยาแก้กามโรคและหนองใน ยาถอนพิษงู
  5. เมล็ด ยาแก้ลมพิษ
  6. ดอก ยาฆ่าเชื้อโรค

 MJK3

วิธีการใช้ :                                     

  1. ยาแก้ธาตุพิการ แก้ซาง ยาแก้ไข้ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ลมพิษ นำผลมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ยาแก้กระษัย ยาฟอกขับปัสสาวะให้บริสุทธิ์ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะขุ่นข้น ยาแก้โรคเรื้อน นำต้นมาต้มน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ช่วยแก้อาการไอ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้โรคตับพิการ รักษาอาการติดเชื้อไวรัส นำใบมาต้มน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ยาแก้กามโรคและหนองใน ยาถอนพิษงู นำรากมาต้มน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. ยาแก้ลมพิษ นำเมล็ดมาต้มน้ำ ดื่มรับประทาน
  6. ยาฆ่าเชื้อโรค นำดอกมาต้มน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
มะจ้ำก้องเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย

 





.