บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

ผักกาดน้ำ


ชื่อสมุนไพร : ผักกาดน้ำ
ชื่อเรียกอื่นๆ : หญ้าเอ็นยืด, หญ้าเอ็นหยืด,หญ้าเอ็นอืด (เชียงใหม่), หมอน้อย (กรุงเทพฯ), ผักกาดน้ำไทย, ผักกาดน้ำใหญ่ (ไทย), เชียจ่อยเช่า, ตะปุกชี้, ยั้วเช่า, ฮำผั่วเช่า, เซียแต้เฉ้า (จีน), ต้าเชอเฉียนเฉ่า (จีนกลาง) และ มะเดื่อญี่ปุ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plantago major Linn.
ชื่อสามัญ : Common Plantain, Greater Plantain, Waybread และ Common Fig
วงศ์ : PLANTAGINACEAE
PKN1
ผักกาดน้ำหรือหญ้าเอ็นยืดเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่เป็นยาเย็น มีรสหวาน ชื่อเรียกหย้าเอ็นยืดมาจากก้านใบของพืชชนิดนี้ เมื่อหักและค่อยๆ ดึงออกจะเห็นเส้นใยยืดออกมา ซึ่งสรรพคุณหลักๆจะช่วยคลายอาการปวดจากกล้ามเนื้ออักเสบนั่นเอง นอกจากสรรพคุณนี้ยังมีประโยชน์มากมาย โดยสารสำคัญที่พบนั้นเป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์แก้การอักเสบประเภทกล้ามเนื้อ และเป็นสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ในตำรายาจีนใช้ทั้งต้น ประคบแก้ฟกช้ำ ระบบพิษร้อน ทำให้ปัสสาวะสะดวก แก้บิดใช้ผักพลูคาวต้มรวมกัน หากใช้แก้โรคเชื้อราที่เท้าให้ใช้ใบสดบดใส่เกลือและห่อผ้าพอกไว้ อีกทั้งยังใช้ต้มกินแก้เลือดกำเดาไหล ปัสสาวะเป็นเลือด ความดันโลหิตสูง และอุบัติเหตุ เช่น กล้ามเนื้อปวดและอักเสบ นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคมะเร็ง โดยจะกำจัดอนุมูลอิสระที่อยู่ในร่างกายได้ดีอีกด้วย



 PKN2

ลักษณะสมุนไพร :
ผักกาดน้ำเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่มีเนื้ออ่อน ลำต้นสูงประมาณ 30-120 เซนติเมตร โคนต้นติดอยู่กับดิน รากสั้น แตกแขนงเป็นฝอยมาก ใบจะแทงขึ้นมาจากใต้ดินคล้ายกับใบผักกาด แต่จะมีก้านใบที่ยาวกว่า ใบเป็นใบเรียงสลับ โคนลำต้นมีกาบใบห่อหุ้มอยู่ แผ่นใบผักกาดน้ำมีลักษณะหนา รูปไข่กลับ และมีขนาดกว้าง โคนใบสอบ ขอบใบเป็นคลื่นๆ มีเส้นใบตามยาวประมาณ 5-7 เส้น โดยลักษณะของใบจะคล้ายกับช้อนสังกะสีขนาดใหญ่ และใบจะแตกออกรอบๆ บริเวณต้นที่เรียกว่าหญ้าเอ็นยืดก็เพราะเมื่อนำก้านใบมาหักแล้วค่อยๆ ดึงออกจะเห็นเส้นเอ็นยืดออกมา ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกจะชูขึ้นมาจากกลางกอ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร และมีดอกย่อยขนาดเล็ก แห้ง เป็นสีเขียวอ่อนหรือสีน้ำตาล และไม่มีก้านดอก ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะค่อนข้างกลมมีรูปร่างไม่แน่นอน ผลมีขนาดเล็กสีเขียวอมสีน้ำตาลหรือเป็นสีน้ำตาลถึงสีดำ เมื่อสุกแล้วจะแตกออก ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 8-15 เมล็ด หรืออาจมีมากถึง 15 เมล็ด เมล็ดมีขนาดเล็ก

 PKN4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ใบ, ทั้งต้น และ เมล็ด
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก แก้กระษัย แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ปวดหลัง ปวดเอว แก้อาการช้ำใน
  2. ใบ แก้เลือดกำเดาไหล ช่วยลดอาการบวม แก้โรคเชื้อราที่เท้า รักษาอาการไหม้จากการถูกแสงแดด ถูกลม แก้ปวดหลังปวดเอว
  3. ทั้งต้น ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ช้ำรั่ว แก้กามโรค แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ดับพิษร้อน แก้ท้องร่วง ดับพิษฝี แก้ปัสสาวะแดง ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น ตำพอกแผลที่หายยาก แก้ขอบตาเป็นเม็ดบวม ช่วยให้หายเมื่อย
  4. เมล็ด ช่วยทำให้ตาสว่าง แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ขับปัสสาวะ

 PKN5

วิธีการใช้ :

  1. แก้กระษัย แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ปวดหลัง ปวดเอว แก้อาการช้ำใน นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. แก้เลือดกำเดาไหล ช่วยลดอาการบวม แก้โรคเชื้อราที่เท้า รักษาอาการไหม้จากการถูกแสงแดด ถูกลม แก้ปวดหลังปวดเอว นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ช้ำรั่ว แก้กามโรค แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ดับพิษร้อน แก้ท้องร่วง ดับพิษฝี แก้ปัสสาวะแดง ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น ตำพอกแผลที่หายยาก แก้ขอบตาเป็นเม็ดบวม ช่วยให้หายเมื่อย นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ช่วยทำให้ตาสว่าง แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ขับปัสสาวะ นำเมล็ดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

 PKN3

ถิ่นกำเนิด :
ผักกาดน้ำเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 





.