บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้หัวใต้ดินปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

บอน


ชื่อสมุนไพร : บอน
ชื่อเรียกอื่นๆ : ตุน , บอนหอม, บอนจืด, บอนเขียว, บอนจีนดำ, บอนท่า, บอนน้ำ, คึ ขื่อที้พ้อ, ขือท่อซู่, คึทีโบ, คูชี้บ้อง, คูไทย, ทีพอ, กลาดีไอย์, กลาดีกุบุเฮง, เผือก และ บอนหวาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Colocasia esculenta (L.) Schott
ชื่อสามัญ : Elephant ear, Cocoyam, Dasheen, Eddoe, Japanese taro และ Taro
วงศ์ : ARACEAE



 Bon2

บอนเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตราบลุ่มของประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ ในประเทศไทยสามารถพบได้แทบทุกภาค ส่วนต่างๆของต้นบอนสามารถนำเอามาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นไหลและหัวใต้ดินสามารถนำมาลวกหรือต้มรับประทานเป็นอาหารได้ ใบอ่อนและก้านใบอ่อนสามารถนำมาใช้ทำอาหารประเภทต้มหรือจะนำมาจิ้มน้ำพริกรับประทานได้ แต่ที่สำคัญคือต้องทำให้สุกโดยการต้มหรือการเผาไฟก่อน จึงจะรับประทานได้อย่างปลอดภัยไม่คัน ด้านการรักษาโรคก็มีสรรพคุณมากมาย ทั้งช่วยในการแก้ไข้ แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำนมของสตรี หรือช่วยลดความดันโลหิต อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้เป็นไม้ประดับเพื่อตกแต่งสถานที่ให้ดูสวยงามได้อีกด้วย

Bon3

ลักษณะสมุนไพร :

ต้นบอนจัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีเหง้าทรงกระบอกอยู่ใต้ดิน มักพบต้นบอนขึ้นเป็นกลุ่มๆเรียงรายตามพื้นที่ลุ่มริมน้ำ ต้นบอนมีความสูงประมาณ 0.7-1.2 เมตร ลำต้นประกอบไปด้วยหัวขนาดกลางและหัวขนาดย่อยอยู่รอบๆหัวขนาดใหญ่ ใบบอนเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบต้น แต่ละกอจะมีใบประมาณ 7-9 ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมสามเหลี่ยมมองดูคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าแหลม ขนาดกว้างประมาณ 10-35 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร ก้านใบออกที่ตรงกลางแผ่นใบ โคนใบแยกออกเป็นแฉกสองแฉก หน้าใบมีสีเขียวและมีไขเคลือบผิวหน้า ส่วนด้านหลังมีสีเขียวอ่อน ม่วงหรือเป็นสีขาวนวล ก้านใบยาวประมาณ 30-90 เซนติเมตร มีเขียวแกมม่วงหรือเขียวแกมเหลือง ยึดติดอยู่กับด้านล่างของใบ ดอกบอนออกดอกเป็นช่อจากลำต้นใต้ดิน มีกาบสีเหลืองอ่อนก่อหุ้มอยู่ ขนาดดอกยาวประมาณ 26 เซนติเมตร ดอกย่อยแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ฉ่ำน้ำ ลักษณะดอกเป็นกระเปาะสีเขียวเป็นแท่งอยู่ตรงกลาง มีกลิ่นหอม ผลบอนสดมีสีเขียว ภายในผลมีเมล็ดน้อย พืชชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ไหล และปักชำหัว เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ มักขึ้นเองตามที่ลุ่ม ตามพื้นที่มีดินโคลน บริเวณริมน้ำลำธาร หรือบริเวณที่มีน้ำขังตื้นๆ

 ก้านบอน

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ลำต้นใต้ดิน, ราก, หัว, ก้านใบ, ลำต้น, ยาง และไหล
สรรพคุณทางยา :

  1. ลำต้นใต้ดิน แก้ไข้ แก้พิษแมลงป่อง
  2. ราก แก้อาการเจ็บคอและเสียงแหบแห้ง แก้ท้องเสีย
  3. หัว ยาระบาย ขับปัสสาวะ กัดฝ้าหนอง ขับน้ำนมของสตรี ลดความดันโลหิต
  4. ก้านใบ ห้ามเลือด แก้พิษคางคก
  5. ลำต้น รักษาแผลทั่วไปและแผลจากงูกัด แก้อาการฟกช้ำ
  6. ยาง ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย กำจัดหูด
  7. ไหล แก้ฝีตะมอย

 Bon1

วิธีการใช้ :

  1. แก้อาการเจ็บคอและเสียงแหบแห้ง แก้ท้องเสีย นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. รักษาแผลทั่วไปและแผลจากงูกัด นำลำต้นมาบด แล้วพอกรักษาแผล
  3. แก้พิษคางค นำก้านใบมาตัดหัวและท้ายออก นำไปลนไฟ แล้วบิดเอาน้ำมาใช้หยอดแผล
  4. รักษาฝีตะมอย นำไหลมาตำผสมกับเหง้าขมิ้น กะปิ ขี้วัว และเหล้าโรงเล็กน้อย แล้วใช้พอกบริเวณแผล
  5. แก้ฟกช้ำ ห้ามเลือด นำก้านใบมาคั้นน้ำ แล้วใช้เป็นยานวดแก้อาการฟกช้ำหรือห้ามเลือด

ถิ่นกำเนิด : ต้นบอนถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตที่ราบลุ่มของเอเชียอาคเนย์

 





.