บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

ติ้วขน


ชื่อสมุนไพร : ติ้วขน
ชื่อเรียกอื่นๆ : ติ้วขาว, แต้ว, ผักแต้ว (กรุงเทพ), ติ้วแดง, ติ้วเลือด, ติ้วยาง (ภาคเหนือ), ผักติ้ว (ภาคอีสาน), ติ้วเหลือง (ภาคกลาง),กุยฉ่องเช้า (กะเหรี่ยง-ลำปาง), เน็กเครแย่ (ละว้า-เชียงใหม่), กวยโซง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ราเง้ง (เขมร-สุรินทร์) และ ผักแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Cratoxylum formosum (Jack) Dyer subsp.pruniflorum (Kurz) Gogel.
วงศ์ GUTTIFERAE



TyK4

ติ้วขนหรือผักติ้วเป็นพืชที่พบได้ในป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของไทยซึ่งเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ไม่ยาก อีกทั้งไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงศัตรูพืชจึงไม่ต้องกังวลกับสารพิษตกค้างหากนำมารับประทานถือได้ว่าเป็นผักพื้นบ้านของคนภาคอีสานส่วนใหญ่นิยมรับประทานเป็นผักสดแกล้มกับอาหารต่างๆ ได้แก่ ลาบ ก้อย น้ำพริก หมี่กะทิ หรือนำไปแกงเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยวจากงานวิจัยของนิสิตโครงการปริญญาเอก พบว่า สารสกัดจากผักติ้วที่ชื่อว่า “คอลโรจินิกเอซิก” สามารถยับยั้งกลิ่นหืนของอาหารได้เป็นอย่างดีนอกเหนือจากประโยชน์ด้านการเป็นอาหารแล้วยังมีสรรพคุณทางยาที่สำคัญเช่นกัน ซึ่งก็คือ ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งตับได้ สอดคล้องกับงานวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่องการทดลองสารที่พบจากใบผักติ้วนั้นมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งตับ และไม่ทำลายเซลล์ปกติ รวมถึงสารสกัดจากกิ่งช่วยออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยทำให้เซลล์มะเร็งตายเนื่องจากเกิดจากการสร้างโปรตีนชนิดใหม่เพื่อไปทำลายตัวเอง และไม่มีผลต่อการทำลายเซลล์ปกติที่อยู่ข้างเคียง จึงทำให้ร่างกายไม่เกิดอาการอักเสบและไม่มีผลข้างเคียงต่อการใช้ยา ดังนั้นการรับประทานผักติ้วเป็นประจำจะมีส่วนช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้

 TyK1

ลักษณะสมุนไพร :
ติ้วขนเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก ที่มีความสูง 8-15 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา เปลือกชั้นในสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีน้ำยางสีเหลืองปนแดง มีรอยแตกเป็นสะเก็ดๆ โคนต้นมีหนาม ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันรูปทรงรี หรือรูปไข่ มีความกว้าง 2-5 ซม. ความยาว 3-13 ซม. ปลายใบแหลม  โคนสอบเรียว ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 5-15 มม. ดอกมีสีชมพูอ่อนถึงสีแดง กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ง่ามกิ่ง หรือตามลำต้น มีดอกช่อละ 1-6 ดอก ก้านดอกความยาว 3 -10 มม. กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ มีขนด้านนอก กลีบดอกมีสีขาว สีชมพูอ่อนถึงชมพูแก่ จำนวน 5 กลีบ  เกสรเพศผู้ติดกันเป็นกลุ่ม อับเรณูมีต่อมที่ปลาย ก้านเกสรเพศเมียมี 3 อัน ผลมีรูปทรงรี กว้าง 4-6 มม. ยาว 10-16 มม. เมื่อแก่จัดแตกเป็น 3 แฉก เมล็ดมีสีน้ำตาล

 TyK6

TyK3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, กิ่ง, ใบ, ดอก, ยอดอ่อน และ เปลือกต้น
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก แก้อาการปวดท้อง  แก้อาการปัสสาวะ
  2. กิ่ง ทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  3. ใบ รักษามะเร็งตับ แก้อาการปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้อาการปวดท้อง
  4. ดอก ป้องกันการเกิดโรคกระดูกบาง บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต
  5. ยอดอ่อน ป้องกันการเกิดโรคกระดูกบาง บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต ช่วยขับลม
  6. เปลือกต้น  แก้ธาตุพิการ รักษาโรคผิวหนัง

 
วิธีการใช้ :

  1. แก้อาการปวดท้อง  นำรากมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการปวดท้องรากผสมกับรากปลาไหลและหัวแห้วหมู นำมาต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้งก็ได้ มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ
  2. ทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว นำกิ่งมาทำเป็นสารสกัด
  3. รักษามะเร็งตับ แก้อาการปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้อาการปวดท้อง นำใบมารับประทานสดๆ หรือต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ป้องกันการเกิดโรคกระดูกบาง บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต นำดอกหรือยอดอ่อนมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. ช่วยขับลม นำยอดอ่อนมารับประทานสดๆ หรือต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  6. แก้ธาตุพิการ นำเปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  7. รักษาโรคผิวหนัง นำเปลือกต้นมาตำแล้วผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใช้ทาบริเวณที่เป็น

 TyK5

ถิ่นกำเนิด :
ติ้วขนเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 





.