บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เปลือกไม้ปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

ตับเต่าต้น


ชื่อสมุนไพร : ตับเต่าต้น
ชื่อเรียกอื่นๆ : ตับเต่า (คนเมือง), มะไฟผี (เชียงราย), มะโกป่า (แพร่), ชิ้นกวาง, เรื้อนกวาง, ลิ้นกวาง (ปราจีนบุรี), ตับเต่าหลวง, มะพลับดง (ราชบุรี), มะมัง (นครราชสีมา), ตับเต่าใหญ่ (ชัยภูมิ), เฮื้อนกวาง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกฉียงเหนือ), กากะเลา, มาเมี้ยง และ แฮดกวาง (ภาคตะวันออกฉียงเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros ehretioides Wall. ex G. Don
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : EBENACEAE
TTT4
ตับเต่าต้นเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในพม่าและภูมิภาคอินโดจีน ส่วนในประเทศไทยพบได้แทบทุกภาค ยกเว้นทางภาคใต้ โดยมักขึ้นตามป่าเต็งรังและตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-500 เมตร ประโยชน์ของตับเต่าต้น ลำต้นที่มีขนาดใหญ่ของต้นตับเต่าต้น สามารถนำเนื้อไม้มาใช้สร้างบ้าน ใช้ทำเครื่องมือขนาดเล็กได้ ส่วนกิ่งใช้สำหรับทำฟืน ผลตับเต่าต้นนำมาตำผสมกับน้ำใช้เป็นยาเบื่อปลา กิ่งสดนำมาทุบใช้สีฟันทำให้เหงือกและฟันทน เนื้อไม้และเปลือกใช้ทำเยื่อกระดาษ



 TTT3

ลักษณะสมุนไพร :
ตับเต่าต้นเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร ทรงพุ่มโปร่งเป็นรูปกรวย เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาหรือสีเทาอมขาว ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลอมแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน รูปไข่กว้าง หรือรูปไข่ถึงรูปวงรี ปลายใบกลมหรือมน โคนใบกลมหรือคล้ายรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 7-23 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-28 เซนติเมตร เนื้อใบเกลี้ยงและหนา ผิวใบด้านล่างมีขนหรือเกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบมีประมาณ 6-12 คู่ เห็นเส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจน ก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร และมีขนสั้นนุ่ม ส่วนใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง ดอกเป็นแบบแยกเพศ อยู่กันคนละต้น ดอกเพศผู้จะออกดอกเป็นช่อหรือออกเป็นกระจุกสั้นๆ ตามกิ่งเหนือง่ามใบ ช่อหนึ่งมักมีดอกประมาณ 3 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปไข่หรือรูปคนโท ยาวประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ปลายแฉกลึกประมาณ 1/3 ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นรูประฆัง ยาวประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ รูปเกือบกลม หรือรูปกลมป้อม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงติดคงทน มีขนด้านดอก ปลายกลีบแฉกเกินกึ่งหนึ่งเกือบจรดโคน กลีบพับงอเล็กน้อย มีก้านผลยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เอนโดสเปิร์มมีลาย เมื่อแก่แห้งเป็นสีดำและไม่แตก

 TTT2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, แก่น, เปลือกต้น และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก ยาแก้ไข้ ลดไข้ ดับพิษร้อน แก้ร้อนใน แก้พิษไข้ แก้พิษทั้งปวง ยาแก้วัณโรค ยาบำรุงปอด ยาแก้อาเจียนเป็นเลือดและถ่ายเป็นเลือด ยารักษาแผลเรื้อรัง
  2. แก่น ยาแก้ไข้ ลดไข้ ดับพิษร้อน แก้ร้อนใน แก้พิษไข้ แก้พิษทั้งปวง ยาแก้วัณโรค ยาบำรุงปอด ยาบำรุงเลือด
  3. เปลือกต้น ยารักษาโรครำมะนาด ยาแก้ผิดสำแดง ยาแก้ท้องร่วง ยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ยารักษาโรคมะเร็งในตับ
  4. ใบ ยารักษาโรคมะเร็งในตับ

 TTT5

วิธีการใช้ :                                     

  1. ยาแก้ไข้ ลดไข้ ดับพิษร้อน แก้ร้อนใน แก้พิษไข้ แก้พิษทั้งปวง ยาแก้วัณโรค ยาบำรุงปอด ยาแก้อาเจียนเป็นเลือดและถ่ายเป็นเลือด ยารักษาแผลเรื้อรัง นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ยาแก้ไข้ ลดไข้ ดับพิษร้อน แก้ร้อนใน แก้พิษไข้ แก้พิษทั้งปวง ยาแก้วัณโรค ยาบำรุงปอด ยาบำรุงเลือด นำแก่นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ยารักษาโรครำมะนาด ยาแก้ผิดสำแดง ยาแก้ท้องร่วง ยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ยารักษาโรคมะเร็งในตับ นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ยารักษาโรคมะเร็งในตับ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

 TTT1

ถิ่นกำเนิด :
ตับเต่าต้นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในพม่าและภูมิภาคอินโดจีน (ลาวและกัมพูชา)

 





.