บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เปลือกไม้ปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

ตะขบไทย


ชื่อสมุนไพร : ตะขบไทย
ชื่อเรียกอื่นๆ : ครบ (ปัตตานี), มะเกว๋นควาย (ภาคเหนือ), ตะขบควาย (ภาคกลาง) และ กือคุ (มลายู ปัตตานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Flacourtia jangomas (Lour.) Raeusch.
ชื่อสามัญ : Coffee Plum, Indian Cherry, Indian Plum, East Indian Plum, Rukam และ Runeala Plum
วงศ์ : FLACOURTIACEAE
TKT4
ตะขบไทยเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พบขึ้นได้ตามป่าราบ ป่าโปร่ง ป่าดิบแล้ง และตามป่าผลัดใบ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-800 เมตร นิยมปลูกทั่วไป ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาในสวนผลไม้หรือตามสวนป่าเพื่อเป็นอาหารของนก ทั้งยังสามารถนำใบมาใช้ในการย้อมสีได้ โดยใช้อัตราส่วนของใบสดต่อน้ำ 1:2 เมื่อนำไปสกัดใช้ใบสด 15 กรัม ย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม สีเส้นไหมที่ได้จะขึ้นอยู่กับวิธีการสกัดสีและการใช้สารช่วยติดสีชนิดต่างๆ ซึ่งการสกัดสีโดยใช้ใบสดจะได้เส้นไหมสีน้ำตาลเขียว ส่วนการใช้จุนสีขณะย้อมจะได้เส้นไหมสีน้ำตาลเขียวเช่นกัน แต่ถ้านำมาสกัดน้ำสีด้วยวิธีการคั้นเอาน้ำ จะได้เส้นไหมสีเขียวขี้ม้า นอกจากนี้ผลสุกมีรสฝาดหวาน ใช้รับประทานได้ด้วย



 TKT1

ลักษณะสมุนไพร :
ตะขบไทยเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น เรือนยอดเป็นรูปไข่ทึบ โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนอ่อน แตกลอนเป็นแผ่นบางๆ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบกลมคล้ายกับใบพุทรา โดยมีลักษณะเป็นรูปรี รูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ส่วนขอบใบจักตื้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร แผ่นใบบางเป็นสีเขียว ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเป็นมัน ดอกเป็นสีขาวอมเหลืองและมีกลิ่นหอม ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะสั้นตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศ อยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้มีกลีบดอก 5 กลีบ และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว มีขนทั้งสองด้าน มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ส่วนดอกเพศเมียจะคล้ายกับดอกเพศผู้ มีรังไข่เป็นรูปคนโท เกสรเพศเมียมี 2 พู ออกดอกในช่วงประมารเดือนกุมภาพันธ์ ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ ลักษณะของผลเป็นลูกกลมๆ ขนาดเท่าลูกพุทรา ขนาดประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ผลเมื่อสุกเป็นสีแดงหรือสีม่วง เมื่อแก่เป็นสีดำ ผลมีรสหวานฝาดเล็กน้อย ภายในมีเมล็ดหายเมล็ด ติดผลในช่วงประมาณเดือนเมษายน

 TKT2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เนื้อไม้, เปลือกต้น, แก่น และใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก ยาขับเหงื่อ ยากล่อมเสมหะและอาจม
  2. เนื้อไม้ ยาแก้ท้องร่วง แก้บิด มูกเลือด
  3. เปลือกต้น ยารักษาอาการปวดเมื่อยตามตัว แก้โรคเหน็บชา รักษาอาการปวดข้อ แก้เส้นเอ็นพิการ
  4. แก่น ยารักษาอาการปวดเมื่อยตามตัว แก้โรคเหน็บชา รักษาอาการปวดข้อ แก้เส้นเอ็นพิการ
  5. ใบ ยารักษาอาการปวดเมื่อยตามตัว แก้โรคเหน็บชา รักษาอาการปวดข้อ แก้เส้นเอ็นพิการ

 TKT3

วิธีการใช้ :                                     

  1. ยาขับเหงื่อ ยากล่อมเสมหะและอาจม นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ยาแก้ท้องร่วง แก้บิด มูกเลือด นำเนื้อไม้มาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ยารักษาอาการปวดเมื่อยตามตัว แก้โรคเหน็บชา รักษาอาการปวดข้อ แก้เส้นเอ็นพิการ นำเปลือกต้น แก่น หรือ ใบ ใช้ตำคั้นเอาน้ำทาหรือพอกแก้อาการปวดเมื่อยตามตัว แก้โรคเหน็บชา แก้ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ

ถิ่นกำเนิด :
ตะขบไทยเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 





.