บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

ชิงชี่


ชื่อสมุนไพร : ชิงชี่
ชื่อเรียกอื่นๆ : กระดาดป่า (ชลบุรี), ชายชู้, หมากมก (ชัยภูมิ), หนวดแมวแดง (เชียงใหม่), คายซู (อุบลราชธานี), พญาจอมปลวก, กระดาดขาว, กระโรกใหญ่, กินขี้, จิงโจ้, แสมซอ, ค้อนฆ้อง, ซิซอ, เม็งซอ, ราม, แส้ม้าทะลาย, พุงแก, น้ำนอง, น้ำนองหวะ, เม็งซอ, พวงมะละกอ, พวงมาระดอ,แสมซอ (ภาคกลาง),ชิงชี, ชิงวี่, ชินซี่, ซาสู่ต้น, แซ่สู่ต้น, แซ่ม้าลาย และปู่เจ้าสมิงกุย
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Capparis micracantha DC
วงศ์ : CAPPARIDACEAE



CHCH2

ชิงชี่เป็นสมุนไพรไม้พุ่มหรือไม้กึ่งเลื่อยที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในหลายสภาพภูมิประเทศทั่วทุกภาคในประเทศไทย ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 500 เมตร ต้นชิงขี่พบได้ตั้งแต่สภาพดินที่แห้งแล้ง ภูเขา หินปูนใกล้ทะเล ทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือป่าโปร่งทั่วไป สำหรับสรรพคุณในการรักษาโรค พบว่า ต้นชิงชี่ถูกใช้ในการรักษาโรคได้มากมาย ทั้งการเป็นยาแก้ฟกช้ำ แก้โรคผิวหนัง แก้ตะคริว แก้หลอดลมอักเสบ แก้ไข้สันนิบาต แก้ไข้พิษฝีกาฬ รวมไปถึงสรรพคุณในการรักษาโรคมะเร็ง นอกจากนี้ ยังสามารถนำชิงชี่มาปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อตกแต่งภูมิทัศน์ให้สวยงามได้อีกด้วย

CHCH1

ลักษณะสมุนไพร :

ชิงชี่ เป็นสมุนไพรไม้พุ่มหรือไม้กึ่งเลื้อย สูงประมาณ 1-6 เมตร กิ่งอ่อนมีสีเขียว ผิวเรียบเกลี้ยง เลี้ยวคดไปมา มีหนามยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร ลำต้นมีสีเทา ผิวเปลือกต้นเป็นกระสีขาวๆ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ขนาดกว้างประมาณ 3-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 9.5-24 เซนติเมตร ใบมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานหรือรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม ส่วนปลายอาจเว้าเล็กน้อยหรือเป็นติ่ง ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวมัน และเกลี้ยง ก้านใบยาวประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร ดอกเดี่ยว ออกเรียงเป็นแถวตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกร่วงง่าย กลีบดอกมีสีขาว 2 กลีบ กลีบด้านนอกมีสีขาวแต้มเหลือง เมื่อเวลาผ่านไปจะเปลี่ยนแต้มเป็นสีม่วงปนสีน้ำตาล กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปหอก ขนาดกว้าง 3-7 มิลลิเมตร ยาว 10-25 มิลลิเมตร มีต่อมน้ำหวานที่โคนก้านดอก ภายในดอกมีเกสรเพศผู้ลักษณะคล้ายหนวดแมวยื่นยาวออกมาประมาณ 20-35 อัน มีรังไข่เป็นรูปไข่  ส่วนกลีบรองกลีบดอกมีลักษณะเว้าเป็นรูปเรือแกมรูปไข่ ขนาดกว้าง 2.5-5.5 มิลลิเมตร ยาว 5.5-13 มิลลิเมตร ก้านดอกยาว 1-2 เซนติเมตร โดยมากมักจะออกดอกในช่วงกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ผลชิงชี่ค่อนข้างกลมหรือรี ผิวเรียบแข็ง เป็นมัน มีร่อง 4 ร่องตามทางยาวของผล ขนาดผลกว้าง 3-6.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว แต่มื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แดง หรือดำ ภายในผลมีเมล็ดอยู่ภายในจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไต สีแดงหรือดำ

 CHCH4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ทั้งต้น ราก ใบ ดอก และผล
สรรพคุณทางยา :

  1. ทั้งต้น แก้ฟกช้ำ แก้บวม แก้ไข้ และขับน้ำเหลืองเสีย
  2. ราก แก้โรคที่เกิดในท้อง ขับลมภายใน แก้ไข้ร้อนใน  แก้โรคตา รักษาโรคกระเพาะ รักษามะเร็ง ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ แก้ไอเนื่องจากหลอดลมอักเสบ และแก้หืด
  3. ใบ  แก้โรคผิวหนัง รักษาประดง แก้สันนิบาต ไข้ฝีกาฬ แก้ตะคริว และแก้หลอดลมอักเสบ
  4. ดอก รักษาโรคมะเร็ง
  5. ผลดิบ แก้โรคในลำคอ แก้เจ็บคอ หรือรักษาโรคลำคออักเสบ
  6. เมล็ด แก้ไอ

 CHCH3

วิธีการใช้ :

  1. แก้ฟกช้ำ แก้บวม นำทั้งต้นมาตำ พอกที่แผล
  2. แก้โรคผิวหนัง แก้ตะคริว ใช้ใบเข้ายาอาบน้ำ หรือต้มน้ำดื่มดับประทาน
  3. แก้หลอดลมอักเสบ นำใบมาเผาแล้วสูดดมควัน
  4. แก้ไข้สันนิบาต ไข้พิษฝีกาฬ นำใบมาต้มดื่มเป็นยา

 CHCH5

ถิ่นกำเนิด :
ชิงชี่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย

 





.