บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เปลือกไม้ปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

ชมพู่น้ำดอกไม้


ชื่อสมุนไพร : ชมพู่น้ำดอกไม้
ชื่อเรียกอื่นๆ : มะชมพู่, มะน้ำหอม (พายัพ), ชมพู่น้ำ, ฝรั่งน้ำ (ภาคใต้), มะห้าคอกลอก (แม่ฮ่องสอน), มซามุด, มะซามุต (น่าน), ยามูปะนาวา (มลายู-ยะลา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium jambos (L.) Alston
ชื่อสามัญ Syzygium jambos
วงศ์ : MYRTACEAE



CHND1

ชมพู่น้ำดอกไม้เป็นขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นพอเหมาะ ชอบแสงแดดส่องถึงแบบเต็มวัน ในปัจจุบันมีสายพันธุ์หลักอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ที่มาจากประเทศไทยผลจะเป็นสีเขียวอ่อน และพันธุ์ที่มาจากประเทศมาเลเซียผลเป็นจะเป็นสีแดง โดยจะให้ผลหลังการปลูกประมาณ 2 ปี มักขึ้นตามป่าราบทั่วไป การปลูกชมพู่น้ำดอกไม้ ทำได้ด้วยการนำเมล็ดหรือกิ่งตอนลงปลูก เกลี่ยดินกลบ แล้วนำใบตองมาปิดบริเวณโคนต้นเพื่อช่วยเก็บความชื้น เมื่อปลูกเสร็จแล้ว ให้รดน้ำวันละ 2 ครั้ง ถ้าเป็นกิ่งตอนให้ทำไม้ปักยึดผูกกับต้นไว้ด้วย เพื่อป้องกันการโค่นล้มจากลม ส่วนการป้องกันไม่ให้ต้นเฉา ควรนำมาปลูกใกล้บริเวณริมคลอง เนื่องจากพรรณไม้ชนิดนี้เป็นไม้ผลที่ชอบน้ำ ผลมีสีสันสวยงามใช้รับประทานได้ มีกลิ่นหอมและมีรสหวานมาก ปัจจุบันจัดเป็นพรรณไม้หายากชนิดหนึ่ง ทำให้ผลที่ขายกันมีราคาแพง เปลือกยังสามารถนำมาสกัดเป็นสารที่ให้สีน้ำตาลได้ด้วย

 CHND2

ลักษณะสมุนไพร :
ชมพู่น้ำดอกไม้เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง เช่นเดียวกับชมพู่แดง มีความสูงของต้นประมาณ 10 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมใบหอกเรียวยาว ปลายใบแหลมและมีติ่งแหลม โคนใบมนรี ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-17 เซนติเมตร แผ่นใบหนาเป็นสีเขียวเข้ม ออกดอกเป็นช่อกระจะ โดยจะออกที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยประมาณ 3-8 ดอก กลีบดอกบางเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ฐานรองดอกมีลักษณะเป็นรูปกรวย ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ผลเป็นผลสดใช้รับประทานได้ ผลเป็นผลเดี่ยว ผลมีลักษณะเกือบกลม ผลดูคล้ายกับลูกจันสีเหลือง ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ 4 กลีบ ภายในผลกลวง ผลมีกลิ่นหอมคล้ายกับดอกนมแมว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 80-100 กรัม ผลดิบเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อแก่สุกแล้วจะเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองทอง เนื้อด้านในบางเป็นสีขาวนวลหรือสีเขียวอ่อน ส่วนเมล็ดเป็นสีน้ำตาลและมีขนาดใหญ่

 CHND3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ผล, เปลือกต้น, เมล็ด และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ผล  ยาชูกำลัง ยาบำรุงหัวใจ ช่วยแก้ลมปลายไข้
  2. เปลือกต้น ยาแก้เบาหวาน ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ท้องร่วง
  3. เมล็ด ยาแก้เบาหวาน ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ท้องร่วงได้ดี ยาแก้โรคบิด
  4. ใบ ยาลดไข้ ยาแก้ตาอักเสบ ล้างแผลสด รักษาโรคผิวหนัง

 CHND4

วิธีการใช้ :                                     

  1. ยาชูกำลัง ยาบำรุงหัวใจ ช่วยแก้ลมปลายไข้ นำผลมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
  2. ยาแก้เบาหวาน ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ท้องร่วง นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
  3. ยาแก้เบาหวาน ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ท้องร่วงได้ดี ยาแก้โรคบิด นำเมล็ดมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
  4. ยาลดไข้ ยาแก้ตาอักเสบ ล้างแผลสด รักษาโรคผิวหนัง นำใบมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน

 CHND5

ถิ่นกำเนิด :
ชมพู่น้ำดอกไม้เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอินโด-มาลายัน

 





.