บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เกสรปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

ข้าวโพด


ชื่อสมุนไพร : ข้าวโพด
ชื่อเรียกอื่นๆ : ข้าวแช่ (แม่ฮ่องสอน), ข้าวสาลี, เข้าสาลี, สาลี (ภาคเหนือ), โพด (ภาคใต้), บือเคส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เข้าโพด (ไทย), เป๊ากื่อ (ม้ง), แผละลี (ลั้วะ), ข้าวแข่ (เงี้ยว, ฉาน, แม่ฮ่องสอน), เง็กบี้, เง็กจกซู่ (จีน), ยวี่หมี่ และ ยวี่สู่สู่ (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zea mays Linn.
ชื่อสามัญ : Corn, Indian Corn และ Maize
วงศ์ : GRAMINEAE
KPD5
ข้าวโพดเป็นพืชจำพวกหญ้าซึ่งจัดเป็นธัญพืชสำคัญชนิดหนึ่ง ข้าวโพดส่วนที่เรียกว่าเมล็ดที่จริงก็คือผลธัญพืช และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายประเภท เช่น ข้าวโพดหวานปลูกเพื่อกินฝัก และฟลินท์คอร์นใช้เลี้ยงสัตว์หรือทำแป้ง ทั้งยังมีสรรพคุณที่สำคัญซึ่งช่วยป้องกันและรักษาโรคมะเร็งได้ดี โดยรับรองจากนพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า การต้มข้าวโพดหวานด้วยอุณหภูมิและระยะเวลาสูง จะทำให้มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สูง เพราะว่าสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในข้าวโพด คือ กรดเฟอรูริก ซึ่งกรดชนิดนี้จะอยู่ตามผนังเซลล์ของข้าวโพดดิบ โดยกรดเฟอรูริกที่ต้านมะเร็งจะไม่ค่อยออกมา แต่พอเอาไปต้มหรือย่าง กรดเฟอรูริกจะออกมามากขึ้น เพราะผนังเซลล์ถูกความร้อนสลายไป จะช่วยปลดปล่อยกรดเฟอรูริกต้านมะเร็งออกมาได้เยอะขึ้น นอกจากนี้ข้าวโพดยังมีสารเหลืองที่เป็นของดีคือสารต้านอนุมูลอิสรกลุ่มลูทีนและซีเซนทีน จะช่วยชะลอปัญหาจอประสาทตาเสื่อมได้อีกด้วย



KPD1

ลักษณะสมุนไพร :
ข้าวโพดเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะอวบกลมและตั้งตรง มีความสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวเรียบ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะเรียวยาวรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบมนและมีขนอ่อนๆ สีขาว เส้นกลางใบมองเห็นได้ชัดเจน ขนาดกว้างประมาณ 2-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-100 เซนติเมตร ส่วนก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอกออกเป็นช่อ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ส่วนดอกเพศเมียจะอยู่ต่ำถัดลงมาออกระหว่างกาบของใบและลำต้น เรียงเป็น 2 แถว มีประมาณ 8-18 ดอก ยอดเกสรเพศเมียเป็นเส้นบางๆ ยื่นออกมาเป็นจำนวนมาก คล้ายกับเส้นไหมจำนวนมาก โดยจะอยู่ระหว่างกาบใบและลำต้น ดอกเพศเมียเมื่อเจริญเติบโตแล้วก็จะออกเป็นฝักหรือเรียกว่าผล ซึ่งถูกหุ้มไปด้วยกาบบางๆ หลายชั้น ฝักอ่อนเป็นสีเขียวเมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีนวล เรียกว่าเปลือกข้าวโพด ฝักรูปทรงกระบอก ในหนึ่งฝักจะมีเมล็ดอยู่รอบฝักเรียงเป็นระเบียบรอบแกนกลางของฝัก เมล็ดเกาะเป็นแถว 8 แถว แต่ละแถวจะมีเมล็ดประมาณ 30 เมล็ด

 KPD3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เกสรตัวเมีย, ซัง และ ผล
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ขับปัสสาวะ
  2. เกสรเพศเมีย แก้เบาหวาน แก้โรคความดันโลหิตสูง ขับความร้อนชื้น แก้อาการกระหายน้ำ แก้โลหิตกำเดา แก้โพรงจมูกอักเสบ จมูกอักเสบเรื้อรัง รักษาโรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบ แก้เต้านมเป็นฝี ขับปัสสาวะ ช่วยขับนิ่วในถุงน้ำดี กระตุ้นให้น้ำดีขับเคลื่อน แก้ถุงน้ำดีอักเสบ มะเร็งในถุงน้ำดี บำรุงตับ แก้ตับอักเสบ แก้ดีซ่าน แก้ไตอักเสบ
  3. ซัง แก้บิด แก้อาการท้องร่วง ขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ
  4. ผล บำรุงร่างกาย บำรุงปอดและหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน บำรุงกระเพาะอาหาร รักษาโรคมะเร็งที่กระเพาะอาหาร ทำให้แผลอ่อนนุ่มไม่ให้เกิดการระคายเคือง

 KPD4

วิธีการใช้ :

  1. แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ขับปัสสาวะ นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. แก้เบาหวาน แก้โรคความดันโลหิตสูง ขับความร้อนชื้น แก้อาการกระหายน้ำ แก้โลหิตกำเดา แก้โพรงจมูกอักเสบ จมูกอักเสบเรื้อรัง รักษาโรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบ แก้เต้านมเป็นฝี ขับปัสสาวะ ช่วยขับนิ่วในถุงน้ำดี กระตุ้นให้น้ำดีขับเคลื่อน แก้ถุงน้ำดีอักเสบ มะเร็งในถุงน้ำดี บำรุงตับ แก้ตับอักเสบ แก้ดีซ่าน แก้ไตอักเสบ นำเกสรเพศเมียมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. แก้บิด แก้อาการท้องร่วง ขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ นำซังแห้งประมาณ 10-12 กรัม มาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. บำรุงร่างกาย บำรุงปอดและหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน บำรุงกระเพาะอาหาร รักษาโรคมะเร็งที่กระเพาะอาหาร ทำให้แผลอ่อนนุ่มไม่ให้เกิดการระคายเคือง นำฝักมาต้มน้ำเกลือ รับประทานผลสดๆ หรือนำมาประกอบอาหารคาวหวาน

ถิ่นกำเนิด :
ข้าวโพดเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้

 





.