บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยา

กำลังพญาเสือโคร่ง


ชื่อสมุนไพร : กำลังพญาเสือโคร่ง
ชื่อเรียกอื่นๆ : กำลังเสือโคร่ง (เชียงใหม่), พญาเสือโคร่ง, นางพญาเสือโคร่ง (คนเมือง), ลำแค, ลำแคร่, ลำคิแย (ลั้วะ) และ เส่กวอเว (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Betula alnoides Buch. – Ham.ex G.Don
ชื่อสามัญ Birch
วงศ์ : BETULACEAE
KP5
กำลังพญาเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่เจริญเติบโตได้ดีในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มักจะพบไม้ชนิดนี้ในระดับพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,000 เมตร ออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดกำลังพญาเสือโคร่งดป็นสมุนไพรที่นิยมใช้เปลือกจากลำต้นในการรักษาโรค สรรพคุณของพืชชนิดนี้ เช่น ช่วยทำให้เส้นเอ็นแข็งแรง ล้างไต บำรุงกำลัง บำรุงเลือด ขับลมในลำไส้ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้อาการปวดฟัน และช่วยบำบัดอาการของผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกไม่สมบูรณ์ เป็นต้น



KP2

ลักษณะสมุนไพร :

กำลังพญาเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-40 เมตร เส้นรอบวงลำต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเทาหรือเกือบดำ มีรูระบายอากาศเป็นจุดขาวเล็กๆตามลำต้น เปลือกมีกลิ่นคล้ายการบูร เมื่อแก่เปลือกลำต้นจะลอกออกเป็นชั้นๆ เนื้อไม้ค่อนข้างละเอียด มีสีน้ำตาลอ่อนหรือค่อนข้างขาว แข็งปาน ก้านใบและช่อดอกมีขนปกคลุม ขนมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาล และจะหายไปเมื่อต้นแก่ ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปหอก ขนาดกว้างประมาณ 1.5-6.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6.55-13.5 เซนติเมตร ใต้ใบมีตุ่ม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย โคนใบป้าน ปลายใบเรียวแหลม กลางใบมีเส้นเป็นร่องตื้นๆ ด้านหลังใบมีเส้นแขนง 7-10 คู่ หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ขนาดยาวประมาณ 3-8 มิลลิเมตร ก้านใบเป็นร่องลึกด้านบน ขนาดยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ ลักษณะคล้ายหางกระรอก ดอกย่อยไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่แยกกัน ดอกเพศผู้ยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร กลีบรองดอกมีแกนอยู่ตรงกลาง ลักษณะเป็นรูปกลม ส่วนปลายค่อนข้างแหลม มีขนที่ขอบ ภายในดอกมีเกสรเพศผู้ 4-7 อันติดอยู่ที่แกนกลาง ส่วนช่อดอกเพศเมียมีความยาวประมาณ 3-9 เซนติเมตร กลีบรองดอกไม่มีก้าน มี 3 หยัก มีขนด้านนอก ขนาดยาวประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร ภายในดอกมีรังไข่ที่มีลักษณะแบน กรอบนอกเป็นรูปไข่หรือเกือบกลม ท่อรังไข่ยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย ผลมีลักษณะแบน ขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-14 มิลลิเมตร ผลแก่จะร่วงง่าย กำลังพญาเสือโคร่งเจริญเติบโตได้ดีในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

 KP3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เปลือกต้นไม้ และราก
สรรพคุณทางยา :

  1. เปลือกต้น  มีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นฉุน ซึ่งกลิ่นมีส่วนช่วยทำให้เส้นเอ็นแข็งแรง อีกทั้งเปลือกต้นยังมีสรรพคุณช่วยล้างไต บำรุงกองธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงเลือด ขับลมในลำไส้ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้อาการปวดฟัน บำบัดอาการของผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกไม่สมบูรณ์ หรือมีการอักเสบเนื่องจากการกระทบกระเทือนอย่างแรงหรือการแท้งบุตร
  2. ราก แก้อาการปวดเมื่อย

 KP1

วิธีการใช้ :

  1. แก้อาการปวดฟัน ถากเปลือกต้นออกเป็นแผ่นแล้วนำมาเผาไฟจนเป็นถ่าน นำผงถ่านที่ได้มาทาบริเวณฟันผุ
  2. หน้ามืดตาลาย ดมเปลือกต้นเพื่อบรรเทาอาการ
  3. บำรุงกำลัง ถากปลือกต้นออกจากลำต้น นำมาดองเหล้า 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหมดสีของสมุนไพร ดื่มรับประทานเป็นยา
  4. แก้อาการปวดเมื่อย ต้มส่วนรากร่วมกับรากของสมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม ดื่มรับประทาน

 OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ถิ่นกำเนิด :
กำลังพญาเสือโคร่งมีถิ่นกำเนิดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในระดับพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,000 เมตร

 





.