บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้หัวใต้ดินปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

กระแตไต่ไม้


ชื่อสมุนไพร : กระแตไต่ไม้
ชื่อเรียกอื่นๆ : กระแตไต่ไม้ (ภาคกลาง), กระปรอก (จันทบุรี), กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี), กูดขาฮอก เช้าวะนะ พุดองแคะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เดาน์กาโละ (มลายู-ปัตตานี), ใบหูช้าง สไบนาง (กาญจนบุรี), สะโมง (ส่วย-สุรินทร์) และ หัวว่าว (ประจวบคีรีขันธ์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drynaria quercifolia  (L.) J.Sm.
ชื่อสามัญ : Oak-Leaf Fern และ Drynaria
วงศ์ : POLYPODIACEAE



 KTTM2

กระแตไต่ไม้เป็นไม้ล้มลุกประเภทเฟิร์น สามารถพบกระแตไต่ไม้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ อาจจะพบขึ้นตามต้นไม้ ตามโขดหิน ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าพรุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับความสูงต่ำๆ และต้นกระแตไต่ไม้นี้จะกระจายพันธุ์อยู่ตามป่าเขตร้อน และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือสปอร์ ส่วนใหญ่นิยมใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตกแต่ง เนื่องจากใบมีลักษณะสวยงาม อีกทั้งยังมีประโยชน์คือใช้เป็นยาสมุนไพรอีกด้วย โดยโบราณมีความเชื่อว่าว่านกระแตไต่ไม้นั้นเป็นว่านทานงด้านเมตตามหานิยม มีผลดีในด้านการค้าขาย ทำให้ซื้อง่ายขายคล่อง สรรพคุณทางยาที่สำคัญ คือ ช่วยขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการและกระปริกระปรอย ขับระดูขาว แก้เบาหวาน แก้ไตพิการ รักษาแผลพุพองและแผลเนื้อร้ายได้เป็นอย่างดี

 KTTM3

ลักษณะสมุนไพร :
กระแตไต่ไม้เป็นไม้ล้มลุกจำพวกเฟิร์นที่เลื้อยเกาะอยู่บนต้นไม้หรือตามก้อนหรือโขดหิน ในที่ที่มีร่มเงาหรือแสงแดด หรือตามชายป่า โดยมีลำต้นจะทอดนอนยาวได้ถึง 1 เมตร เหง้ามีลักษณะเป็นหัวกลม มีความยาวปกคลุมไปด้วยเกล็ดสีน้ำตาลเข้มและมีขนยาวสีน้ำตาลคล้ายกำมะหยี่ปกคลุมอยู่ ส่วนเนื้อในมีสีขาวและเขียว ใบเป็นใบเดี่ยวมีรูปร่างและหน้าที่ต่างกัน 2 แบบ ใบไม่สร้างอับสปอร์เป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนมน ขอบหยักเว้ามนตื้นๆ เข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน ปลายมน ไม่มีก้านใบ ใบชนิดนี้จะมีสีเขียวอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งแต่ยังคงติดอยู่กับต้น ดังนั้นจะเห็นซ้อนกันหลายใบ เป็นที่สะสมของใบไม้แห้งที่ตกลงมา ซึ่งจะกลายเป็นปุ๋ยให้ต้น รูปคล้ายใบประกอบแบบขนนก ขอบหยักเว้าลึกเข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน แต่ละหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ใบชนิดนี้มีสีเขียวตลอดอายุ เมื่อใบแก่แผ่นใบจะร่วงไป คงเหลือส่วนก้านใบและเส้นกลางใบติดอยู่กับต้น เส้นใบเป็นร่างแห กลุ่มอับสปอร์รูปกลมหรือรูปไข่ เรียงตัวค่อนข้างมีระเบียบ 2 ข้างของเส้นใบที่แบ่งกลางแต่ละแฉก

KTTM4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เหง้า และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. เหง้า ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการและกระปริกระปรอย ขับระดูขาว แก้เบาหวาน แก้ไตพิการ เป็นยาคุมธาตุ ยาเบื่อพยาธิ ขับพยาธิ  รักษาแผลพุพอง แผลเนื้อร้าย
  2. ใบ แก้แผลเรื้อรังและแผลพุพอง แก้บวม รักษาอาการไม่สบาย มีอาการอ่อนเพลียของสตรีขณะอยู่ไฟในช่วงหลังคลอดบุตร

 KTTM1

วิธีการใช้ :

  1. ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการและกระปริกระปรอย ขับระดูขาว แก้เบาหวาน แก้ไตพิการ เป็นยาคุมธาตุ ยาเบื่อพยาธิ ยาเบื่อพยาธิ ขับพยาธิ  นำเหง้ามาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. รักษาแผลพุพอง แผลเนื้อร้าย นำเหง้ามาฝนกับน้ำแล้วพอกบริเวณที่เป็นแผล
  3. แก้แผลเรื้อรังและแผลพุพอง นำใบมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นแผล
  4. แก้บวม นำใบมาต้มกับน้ำอาบ
  5. รักษาอาการไม่สบาย มีอาการอ่อนเพลียของสตรีขณะอยู่ไฟในช่วงหลังคลอดบุตร นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
กระแตไต่ไม้เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า จีนตอนใต้ อินโดจีน มาเลเซีย ออสเตรเลีย และไทย

 





.