บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

กระดูกไก่ดำ


ชื่อสมุนไพร : กระดูกไก่ดำ
ชื่อเรียกอื่นๆ : กระดูกดำ (จันทบุรี), ปองดำ แสนทะแมน (ตราด), เฉียงพร้า (สุราษฎรณ์ธานี), กุลาดำ บัวลาดำ (ภาคเหนือ), เกียงพา, เกียงผา, เฉียงพร้าบ้าน, เฉียงพร้าม่าน, เฉียงพร้ามอญ, เฉียงพร่าม่าน, ผีมอญ, สันพร้ามอญ, สำมะงาจีน (ภาคกลาง), โอกุด๊ดอื้งติ้น (จีน), ปั๋วกู่ตาน และ อูกู่หวางเถิง (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gendarussa vulgaris Nees.
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : ACANTHACEAE



KDKD1

กระดูกไก่ดำจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มักขึ้นเองตามริมลำธารในป่าดงดิบ ส่วนใหญ่นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ โดยมักนำมาปลูกไว้ตามบ้าน หรือใช้ทำรั้ว  ทั้งยังมีสรรพคุณต่างๆมากมาย หากไก่ขาหัก นักเลงไก่ชนจะใช้ใบกระดูกดำนำมาประคบหรือห่อหุ้มไว้ตรงที่ขาไก่หัก ส่วนหมอยาพื้นบ้านก็เช่นกัน หากใครแขนหรือขาแตกหักก็จะใช้ทำลักษณะเดียวกัน นอกจากนี้ ในประเทศมาเลเซียถือว่ากระดูกไก่ดำเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถช่วยป้องกันภูตผีและช่วยป้องกันภัยได้ โดยสมุนไพรกระดูกไก่ดำจัดอยู่ในตำรับยารักษาโรคมะเร็งเต้านม และรักษาอาการฟกช้ำ แก้ไข้ ลดความร้อน และช่วยขับเลือดข้นในร่างกายให้กระจายได้ด้วย

 KDKD2

ลักษณะสมุนไพร :
กระดูกไก่ดำเป็นพรรณไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 90-100 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสีแดงเข้มถึงสีดำหรือเป็นสีม่วง เกลี้ยงมัน ลักษณะของลำต้นและกิ่งเป็นปล้องข้อ ดูคล้ายกับกระดูกไก่ โดยมีขนาดข้อของลำต้นยาวประมาณ 2.5-3 นิ้ว ส่วนข้อของปล้องกิ่งยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว ตามลำต้น กิ่งก้าน และใบมีสีแดงเรื่อๆ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงคู่ ใบมีลักษณะเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-14 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบเงาเป็นสีเขียวเข้ม หน้าใบเป็นสีเขียวสด ส่วนหลังใบเป็นสีเหลืองอมสีเขียว มีเส้นกลางใบเป็นสีแดงอมดำ ส่วนก้านใบสั้น ออกดอกเป็นช่อบริเวณส่วนยอดของต้น หรือบริเวณปลายกิ่ง ในช่อหนึ่งๆ จะมีความยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ดอกมีลักษณะเป็นหลอดเล็กๆ ปลายดอกแยกออกเป็นกลีบ กลีบดอกเป็นสีขาวอมเขียวแกมสีชมพู โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกเป็นกลีบบนและกลีบล่าง กลีบดอกมีลักษณะโค้งงอนเหมือนช้อน ข้างในหลอดดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน โผล่พ้นขึ้นมาจากหลอด ผลมีลักษณะเป็นฝัก มีความยาวประมาณ 1.3-1.5 เซนติเมตร

 KDKD3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก ยาพอกถอนพิษจากจากแมลงสัตว์กัดต่อย แก้โรคผิวหนัง และผื่นคันตามตัว ยาทาเด็กที่เป็นเม็ดตุ่มขึ้นตามตัว
  2. ใบ ยาบำรุงโลหิต ยาแก้อาการปวดศีรษะ แก้อาการปวดศีรษะ ยาแก้โรคหืด ยาแก้ไข้ ลดความร้อน ช่วยขับเลือดข้นในร่างกายให้กระจาย ช่วยกระจายเลือด แก้เลือดคั่งค้างเป็นลิ้มเป็นก้อน ทำให้เลือดที่อุดตันในร่างกายไหลเวียนสะดวก ยาแก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ไอ แก้อาการปวดท้อง ยาแก้ท้องร่วงอย่างแรง ยาขับปัสสาวะ แก้โรคผิวหนัง และผื่นคันตามตัว ยาแก้ฝีฝักบัว แก้อาการช้ำใน แก้ปวดบวมตามข้อ ยาแก้อัมพาต

 KDKD4

วิธีการใช้ :

  1. ยาพอกถอนพิษจากจากแมลงสัตว์กัดต่อย แก้โรคผิวหนัง และผื่นคันตามตัว ยาทาเด็กที่เป็นเม็ดตุ่มขึ้นตามตัว นำรากมาคั้นกับน้ำแล้วพอกบริเวณที่เป็น
  2. ยาบำรุงโลหิต ยาแก้อาการปวดศีรษะ นำใบสดนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม
  3. แก้อาการปวดศีรษะ ยาแก้โรคหืด นำใบสดมาตำผสมกับหัวหอมและเมล็ดเทียนแดง แล้วนำมาพอก
  4. ยาแก้ไข้ ลดความร้อน ช่วยขับเลือดข้นในร่างกายให้กระจาย ช่วยกระจายเลือด แก้เลือดคั่งค้างเป็นลิ้มเป็นก้อน ทำให้เลือดที่อุดตันในร่างกายไหลเวียนสะดวก ยาแก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ไอ แก้อาการปวดท้อง ยาแก้ท้องร่วงอย่างแรง ยาขับปัสสาวะ แก้โรคผิวหนัง และผื่นคันตามตัว ยาแก้ฝีฝักบัว แก้อาการช้ำใน แก้ปวดบวมตามข้อ ยาแก้อัมพาต ใบสดนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้ใบนำมาตำผสมกับเหล้าคั้นเอาแต่น้ำดื่ม

ถิ่นกำเนิด :
กระดูกไก่ดำเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 





.