บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

กระชาย


ชื่อสมุนไพร : กระชาย
ชื่อเรียกอื่นๆ : กระชายดำ, กะแอน, ขิงทราย (มหาสารคาม), จี๊ปู, ซีฟู, เปาซอเร๊าะ, เป๊าสี่ระแอน (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ละแอน (ภาคเหนือ) และ ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.
ชื่อสามัญ : Kaempfer
วงศ์ : ZINGIBERACEAE
KC4
กระชายเป็นพืชสมุนไพรที่พบได้ตามเขตร้อนบริเวณป่าดิบร้อนชื้น ที่นิยมนำมารับประทานในรูปแบบเครื่องจิ้ม หรือทำเป็นน้ำพริกแกง นอกจากนี้ยังเป็นที่นิยมและเป็นพืชที่คนทั่วไปยอมรับถึงสรรพคุณอันมีประโยชน์ ทั้งการใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้บิด แก้อาการท้องร่วงท้องเดิน แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้อาการแน่นหน้าอก แก้แผลในปาก ทำให้โลหิตหมุนเวียนสะดวก ขับปัสสาวะ แก้โรคกระเพาะ เป็นต้น



KC3

ลักษณะสมุนไพร :
กระชายเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าสั้นใต้ดิน รากมีลักษณะอวบรูปทรงกระบอก ปลายยาวเรียว ขนาดกว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-10 ซม. ผิวนอกมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นเฉพาะตัว ใบของต้นกระชายจะอยู่เหนือดิน ใบเป็นใบเดี่ยว มีประมาณ 2-7 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะใบรี สีเขียว ขนาดกว้าง 5-12 ซม. ยาว 12-50 ซม. โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบเรียบ ก้านใบและกาบใบด้านบนเป็นร่อง ส่วนด้านล่างนูนเป็นสัน ก้านใบยาวประมาณ 7-25 ซม. กาบใบยาวประมาณ 7-25 ซม. ระหว่างก้านใบและกาบใบจะมีลิ้นใบแทรกอยู่ ดอกออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด โดยดอกจะออกที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด ดอกแต่ละดอกมีใบประดับประกบ 2 ใบ ลักษณะคล้ายรูปหอก กลีบเลี้ยงมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพู โคนเชื่อมติดกัน ขนาดยาวประมาณ 1.7 ซม. ปลายกลีบเลี้ยงแยกออกเป็น 3 แฉก กลีบดอกมีสีขาวหรือขาวอมชมพูเช่นกัน ปลายดอกแยกเป็นกลีบ 3 กลีบ ลักษณะคล้ายหอก ขนาดกลีบดอกแต่ละกลีบจะใหญ่ไม่เท่ากัน ภายในดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน แต่ 5 ใน 6 อัน จะเปลี่ยนลักษณะไปเหมือนกลีบดอก ผลแก่จะแตกออกเป็น 3 เสี่ยง ภายในผลมีเมล็ด ขนาดเมล็ดค่อนข้างใหญ่

 KC2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เหง้าใต้ดิน, ราก และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. เหง้าใต้ดิน  มีรสเผ็ดร้อน ขม ช่วยแก้อาการปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน ใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้โรคในปาก ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ และรักษาโรคบิด
  2. ราก แก้บิดมูกเลือด ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ และใช้เป็นยาภายนอกสำหรับรักษาขี้กลาก
  3. ใบ แก้โรคในปากและคอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆ และช่วยบำรุงธาตุ

 CK5

วิธีการใช้ :

  1. แก้อาการท้องร่วงหรือท้องเดิน ฝนหรือตำเหง้าสดที่ปิ้งไฟจนสุกแล้ว 1-2 เหง้า กับน้ำปูนใสให้ละเอียด หรือคั้นให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
  2. แก้อาการจุกเสียดแน่น ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือปวดมวนในท้อง ใช้เหง้าและรากสดหรือแห้งประมาณครึ่งกำมือ นำมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน หรือใช้เหง้าและรากปรุงเป็นอาหารรับประทานก็ได้
  3. แก้บิด บดเหง้าสด 2 เหง้า ให้ละเอียด ผสมกับน้ำปูนใส แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มรับประทาน
  4. เป็นยาบำรุงหัวใจ นำเหง้าและรากมาปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชนิดเล็กเล็ก แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง เมื่อแห้งแล้วนำมาบดเป็นผง ดื่มรับประทานโดยใช้ผงแห้ง 1 ช้อนชา ชงในน้ำร้อน ½ถ้วยชา
  5. ยารักษาริดสีดวงทวาร ใช้เหง้าสดประมาณ 6-8 เหง้า ผสมกับเนื้อมะขามเปียก 60 กรัม และเกลือแกง 3 ช้อนแกง ตำส่วนผสมให้เข้ากัน แล้วต้มกับน้ำ 6 แก้ว เคี่ยวให้เข้มข้นจนเหลือประมาณ 2 แก้ว ดื่มรับประทานก่อนนอน ครั้งละ ½แก้ว ติดต่อกันประมาณ 1 เดือน

KC1

ถิ่นกำเนิด :
กระชายมีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนบริเวณตะวันออกเฉียงใต้

 





.