กล้วยน้ำว้า

3

 

ชื่อสุมนไพรกล้วยน้ำว้า
ชื่อเรียกอื่นๆ กล้วยมะลิอ่อง (จันทบุรี), กล้วยใต้ (เชียงใหม่ เชียงราย), กล้วยอ่อง (ชัยภูมิ) และ กล้วยตานีอ่อง (อุบลราชธานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์Musa ABB cv. Kluai ‘Namwa’
ชื่อสามัญ : Banana
วงศ์ : Musaceae

 

2

1

ลักษณะของสมุนไพร : กล้วยน้ำว้า เป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 2-3 เมตร มีกาบเรียงซ้อนกันจนเป็นลำต้นเทียม ส่วนลำต้นจริงจะอยู่ใต้ดิน เป็นสีเขียวอ่อน มีใบสีเขียวสดเรียกว่า ใบตอง เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ กว้าง 20-40 เซนติเมตร ยาว 1-2 เมตร ปลายใบมน ขอบใบเรียบมัน มีเส้นใบขนาดกันเป็นแนวขวาง มีก้านใบเป็นร่องตรงกลางใบ กล้วยน้ำว้าออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอดเรียกว่า หัวปลี ซึ่งมีใบประดับขนาดใหญ่สีแดงหุ้มดอกอยู่ ผลกล้วยเป็นรูปรียาว 10-13 เซนติเมตร ผิวเรียบ ปลายคล้ายจุก เนื้อด้านในจะมีสีขาว อาจจะมีเมล็ดเล็กๆๆด้านใน เมื่อกล้วยสุดเปลือกของผลกล้วยจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง มีรสหวานและมีวิตามินที่จำเป็นอยู่มาก หนึ่งหวีจะมีผลอยู่ประมาณ 10-15 ผล

 

5

7

4
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ต้น, ใบ, ยางจากใบ, ผลสุก, ผลดิบ, หัวปลี
สรรพคุณทางยา :

  • รากกล้วย มีคุณสมบัติแก้โรคขัดเบาหรือปัสสาวะขัดได้
  • ต้นกล้วย ด้านในมียางสามารถใช้ช่วยห้ามเลือดได้
  • ใบกล้วย ยางในก้านใบสามารถรักษาแผลได้เช่นเดียวกับในต้นกล้วย
  • ผลกล้วย ใช้รักษาโรคกระเพราะ แก้อาการท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ และสามารถแก้โรคบิด นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเดินและอาหารไม่ย่อยย
  • หัวปลี นำไปแกงให้ผู้ที่คลอดบุตรใหม่ๆทานสามารถช่วยขับน้ำนมได้ดี

6
ถิ่นกำเนิดของกล้วยน้ำว้า :   บริเวณที่พบกล้วยน้ำว้าอยู่แถบเอเชียตอนใต้ และได้มีการนำเอากล้วยไปปลูกแถบหมู่เกาะฮาวายและหมู่เกาะทางด้านตะวันออก สำหรับกล้วยในประเทศไทยได้มีการนำเข้ากล้วยตานี และกล้วยชนิดอื่นในช่วงสมัยสุโขทัย มีเอกสารกล่าวว่าในสมัยอยุธยาพบว่ามีกล้วยร้อยหวีอีกด้วย

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy