บัวบก

3

ชื่อสุมนไพร : บัวบก
ชื่อเรียกอื่นๆ : ผักแว่น และ ผักหนอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica Urban
ชื่อสามัญ : Asiatic Pennywort, Tiger Herbal
วงศ์ : Umbelliferae

5

เมื่อได้ยินคำว่า บัวบก ทุกท่านจะนึกไปถึงยาสมุนไพรที่ช่วยแก้อาการช้ำใน แต่หารู้ไม่ว่า ในความเป็นจริงแล้ว บัวบก หรือใบบัวบกที่หลายๆคนรู้จักนั้นมีสรรพคุณอีกมาก ที่ได้รับการกล่าวขานเกี่ยวการรักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ช่วยลดความอ่อนล้าของสมอง เพิ่มความจำ มีฤทธิ์กล่อมประสาท ช่วยบำรุงสมอง รักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น ใบบัวบก มีสารที่มีสรรพคุณทางยาอยู่หลายชนิด อย่างเช่น มาดิแคสโซซัยด์ บรามิโนซัยด์ ไตรเตอพีนอยด์ บราโมซัยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยบรรเทากลุ่มอาการอักเสบ นอกจากนี้ยังมี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี6 วิตามินเอ วิตามินเค กรดมาดิแคสซิค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม กรดอะมิโน อย่าง ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน เป็นต้น

4

ลักษณะของสมุนไพร :
บัวบก เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุไม่ยืนยาวเท่าใดนัก ลำต้นของบัวบกเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน และบัวบกจะชอบพื้นดินที่ชื้นแฉะ รากของบัวบกจะแตกรากฝอยออกตามข้อของต้นบัวบก กิ่งใบของบัวบกจะงอกจากข้อของต้นชูสูงขึ้นประมาณ 15 ซม. ใบของบัวบก เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ มีรูปทรงเป็นทรงคล้ายๆ หัวใจ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 – 5 ซม. ขอบใบของบัวบกหยัก ดอกบัวบก มีลักษณะเป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกจะมีสีม่วง ผลของบัวบกเป็นผลแห้ง บัวบกมีการขยายพันธุ์ที่ง่ายโดยการเพาะเมล็ดหรือแยกไหลที่มีต้นอ่อนและมีรากงอกแล้วนำไปปลูก อีกทั้งบัวบกยังเป็นพืชที่ชอบแสงแดดรำไร ต้องการน้ำปานกลาง และดินที่ชื้นแฉะ

2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบ, ทั้งต้นสด, เมล็ด
สรรพคุณทางยา :
– ใบ ใช้บรรเทาอาการแผลโรคเรื้อน
– ต้นสด ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการเมื่อยล้า แก้อ่อนเพลีย ขับปัสสาวะ แก้เจ็บคอ เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง บำรุงหัวใจ แก้พิษงูกัด ปวดศีรษะข้างเดียว ลดความดัน แก้ช้ำใน รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชกช้ำจากการกระแทก
– เมล็ด แก้บิด แก้ไข้ และบรรเทาอาการปวดศีรษะ

6
วิธีรับประทานและปริมาณที่ใช้ :

1. ใช้เป็นแก้ไข้ บรรเทาอาการปวดศีรษะ หรือแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
ใช้ต้นสดปริมาณเท่าใดก็ได้ ไม่จำกัด นำมารับประทาน หรือคั้นเอาน้ำจากต้นสด มารับประทาน ขนาดรับประทานติดต่อกันประมาณ 2 – 3 วัน
2. ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ บรรเทาไอ แก้อ่อนเพลีย
ใช้ต้นสดประมาณ 10 – 20 กรัม หรือประมาณ 1 กำมือ จากนั้นนำตำให้แหลก คั้นเอาแต่น้ำ แล้วเติมน้ำส้มสายชูประมาณ 1 – 3 ช้อนชา ขนาดรับประทานคือ จิบบ่อยๆ เมื่อมีอาการ
3. ใช้เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
ใช้ต้นสดประมาณ 30-40 กรัม จากนั้นนำมาคั้นเอาน้ำจากต้นสด แล้วเติมน้ำตาลเล็กน้อย เพื่อให้มีรสชาติที่หน้าทานขึ้น ขนาดรับประทานคือ รับประทาน 5-7 วัน
4. ยาแก้ช้ำใน
ใช้ต้นสดประมาณ 1 กำมือ นำมาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำ แล้วเติมน้ำตาลเล็กน้อยเพื่อรสชาติที่ดีขึ้น ขนาดรับประทานคือ ใช้ดื่มวันละ 1 ครั้ง โดยดื่มติดต่อกัน 5-6 วัน
5. รักษาแผลน้ำร้อนลวก หรือใช้เป็นยาถอนพิษ
ใช้ต้นสดประมาณ 2-3 ต้น นำมาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำมาตำให้ละเอียดพอกบริเวณที่เป็นแผลที่เกิดจากไฟไหม้ ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน
6. ใช้ใส่แผลสด หรือใช้เป็นยาห้ามเลือด
ใช้ใบสดประมาณ 20-30 ใบ นำมาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำมาตำแล้วพอกบริเวณแผลสด ซึ่งช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น

1

ถิ่นกำเนิดของบัวบก : พบมากในแทบทวีปเอเชีย

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy