บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

อัญชัน


ชื่อสมุนไพร : อัญชัน
ชื่อเรียกอื่นๆ : แดงชัน (เชียงใหม่), อัญชัน (ภาคกลาง) และ เอื้องชัน (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea L.
ชื่อสามัญ : Blue Pea, Butterfly Pea
วงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE



 AC1

อัญชันเป็นไม้เลื้อยล้มลุกที่มีดอกสวยงาม เหมาะแก่การปลูกเป็นไม้ประดับ และสามารถนำส่วนต่างๆทั้งดอก เมล็ด และ ราก มาใช้ในการรักษาโรคหรืออาการป่วยต่างๆได้ อัญชันเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ดินเหนียว และดินทราย ปลูกง่ายและไม่ต้องการการดูแลรักษามากนัก ดอกอัญชันเป็นดอกไม้ที่มีสีน้ำเงินเนื่องจากมีสารสำคัญอย่าง แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) เป็นองค์ประกอบ ซึ่งสารตัวนี้มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไหลไปหล่อเลี้ยงรากผมและหนังศีรษะได้มากขึ้น จึงมีฤทธิ์ช่วยทำให้ผมดกดำ และช่วยป้องกันผมร่วงได้ นอกเหนือจากสรรพคุณด้านเส้นผมแล้ว อัญชันยังเป็นสมุนไพรที่ช่วยบำรุงสายตา แก้โรคตาฟาง แก้ปวดฟัน แก้อาการเหน็บชา ช่วยขับปัสสาวะ และเป็นยาระบายได้ด้วย หรือหากนำมารับประทานก็มีฤทธิ์ช่วยลดป้องกันการเกิดเส้นเลือดอุดตันได้ ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองหรือหัวใจอุดตัน แต่อย่างไรก็ตามพบว่าการรับประทานดอกอัญชันไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการโลหิตจาง เนื่องจากในดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด ดังนั้นจึงอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคดังกล่าวได้

 AC5

ลักษณะสมุนไพร :
อัญชันเป็นไม้ล้มลุก ที่ใช้ยอดในการเลื้อยพัน ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน มีขนปกคลุม ลำต้นยาวประมาณ 1-5 เมตร ใบเป็นใบประกอบเป็นแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 3-9 ใบ ลักษณะใบเป็นรูปรีแกมขอบขนานหรือรูปรีแกมไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขนาดกว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา กลีบดอกมีลักษณะคล้ายดอกถั่วหรือคล้ายฝาหอยเชลล์ มี 5 กลีบ กลีบดอกมีสีน้ำเงิน ม่วงหรือขาว ตรงกลางกลีบมีสีเหลืองหม่น ขอบสีขาว ดอกออกเกือบตลอดปี เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดยาวประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร ผลออกเป็นฝัก ลักษณะฝักแบนยาว โค้งเล็กน้อย ปลายเป็นจงอย แตกเป็น 2 ฝา คล้ายรูปดาบ ขนาดฝักกว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร ภายในฝักมีเมล็ดอยู่ภายในประมาณ 6-10 เมล็ด เมล็ดมีสีดำ มีลักษณะเป็นรูปไต อัญชันเป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีแสงพอเหมาะ ไม่จัดจนเกินไป ชอบดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ขยายพันธุ์ได้ง่ายโดยการเพาะเมล็ด

 AC2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ :
สรรพคุณทางยา :

  1. ดอก มีสารสีที่ให้สีน้ำเงินหรือม่วงชื่อ “แอนโทไซยานิน (Anthocyanin)” เป็นส่วนประกอบ ซึ่งสารนี้ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีมากขึ้น นิยมสกัดสีจากดอกเพื่อใช้ปลูกผม หรือทำให้ผมดกดำ เงางาม
  2. เมล็ด เป็นยาระบาย
  3. ราก บำรุงสายตา แก้โรคตาฟาง แก้ปวดฟัน และช่วยขับปัสสาวะ

 AC4

วิธีการใช้ :

  1. ปลูกผม ทำให้ผมดกดำเงางาม หรือใช้ปลูกคิ้ว ตำกลีบดอกอัญชัญประมาณ 1 หยิบมือ ให้ละเอียด ผสมกับน้ำ แล้วกรองเอากากออก นำน้ำที่ได้มาชโลมผมหรือคิ้วทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า
  2. บำรุงสายตา แก้โรคตาฟาง นำรากมาถูกับน้ำฝน ใช้หยอดตา

คำแนะนำ ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางห้ามรับประทานดอกอัญชันเป็นอันขาด เนื่องจากในดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด ดังนั้นจึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคดังกล่าว
 AC3
ถิ่นกำเนิด :
อัญชันเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อน ก่อนจะถูกนำไปแพร่พันธุ์ในทวีปแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา

 





.