ชื่อสมุนไพร : หูปลาช่อน
ชื่อเรียกอื่นๆ : ผักบั้ง (ลำปาง), ผักแดง (เลย), หางปลาช่อน (เพชรบุรี, ภาคกลาง), เอี่ยโต่ยเช่า, เฮียะแอ่อั้ง (จีนแต้จิ๋ว), หยางถีฉ่าว, หยางถีเฉ่า, เยวียะเสี้ยหง และ อีเตี่ยนหง (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Emilia sonchifolia (L.) DC.
ชื่อสามัญ : Cupid’s shaving Brush, Emilia และ Sow Thistle
วงศ์ : ASTERACEAE
หูปลาช่อนเป็นพรรณไม้ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้วัชพืชที่มักขึ้นตามที่ชื้น ทุ่งหญ้าโล่ง หรือขึ้นปะปนกับวัชพืชทั่วไป พบได้ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และจัดเป็นวัชพืชที่มีการกระจายพันธุ์ได้รวดเร็ว รากที่ต้มของหูปลาช่อน พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Btaphylo coccus ได้ จากการรักษาปู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจจำนวน 50 ราย และผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่เป็นเด็กอีก 25 ราย ด้วยการใช้ลำต้นของหูปลาช่อนแห้งประมาณ 1 กรัม นำมาทำเป็นยาฉีด ฉีดข้ากล้ามเนื้อติดต่อกันประมาณ 2-3 วัน พบว่าจากการรักษาได้ผลดีที่เป็นที่น่าพอใจ และทำให้อาการไข้ลดลง อาการหอบ อาการไอก็หายไปด้วย
ลักษณะสมุนไพร :
หูปลาช่อนเป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีลำต้นตั้งตรง มีมีสีเขียวแกมม่วง ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 10-50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านที่โคนต้น ลำต้นปกคลุมไปด้วยขนนุ่มทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบมีลักษณะห่อหุ้มลำต้นอยู่ ปลายใบแหลมเรียว โคนใบกว้างเป็นรูปไข่ ส่วนขอบใบโค้งหยักเล็กน้อยหรือหยักเว้า มีขนาดยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีม่วงแดง ใบที่โคนต้นจะมีขนาดใหญ่กว่าใบที่อยู่บนยอด ใบบนเป็นรูปหอกโคนเว้าขอบจักแคบ ไม่มีก้านใบ ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามบริเวณกลางลำต้นหรือยอดต้น ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร และก้านดอกมักแบ่งออกเป็น 2 แขนง มีดอกย่อยประมาณ 20-45 ดอก ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล็ก ยาวประมาณ 12-14 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอก กลีบดอกส่วนโคนจะเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ดอกเป็นสีแดงม่วงมี 5 แฉก มีเกสรเพศผู้ 5 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน ผลเป็นผลเดี่ยว ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอกยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร เปลือกผลแข็งมีจรสีขาวปกคลุมที่เส้นสันผิวเปลือก ผลแห้งจะไม่แตกหรืออ้าออก เมล็ดล่อน สีน้ำตาล และมีขน
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ลำต้น, ราก และ ใบ
สรรพคุณทางยา :
- ลำต้น ยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดตับและลำไส้เล็ก ยารักษาระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ ยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ เป็นยาแก้ไข้ ทำให้เลือดเย็น ช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย ช่วยแก้หืดไอ ช่วยแก้เลือดกำเดา อาเจียนเป็นเลือด ช่วยแก้ตาเจ็บตาแดง ยาแก้เจ็บคอ คอตีบ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ช่วยขับเสมหะ แก้บิดถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด แก้ท้องร่วง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคเริม ช่วยลดและแกอาการบวมน้ำ ช่วยรักษาฝีในลำไส้ ช่วยแก้ฝีฝักบัว แก้ผดผื่นคัน ฝีต่างๆ
- ราก แก้โรคตานซางขโมยในเด็ก ช่วยแก้ท้องเสีย แก้อาการปวดหลัง ปวดเอว
- ใบ แก้เจ็บตา รักษาหูด
วิธีการใช้ :
- ยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดตับและลำไส้เล็ก ยารักษาระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ ยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ เป็นยาแก้ไข้ ทำให้เลือดเย็น ช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย ช่วยแก้หืดไอ ช่วยแก้เลือดกำเดา อาเจียนเป็นเลือด ช่วยแก้ตาเจ็บตาแดง ยาแก้เจ็บคอ คอตีบ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ช่วยขับเสมหะ แก้บิดถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด แก้ท้องร่วง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคเริม ช่วยลดและแกอาการบวมน้ำ ช่วยรักษาฝีในลำไส้ ช่วยแก้ฝีฝักบัว แก้ผดผื่นคัน ฝีต่างๆ นำลำต้นสดใช้ 30-90 กรัม ลำต้นแห้งใช้ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินวันละ 2-3 ครั้ง
- แก้โรคตานซางขโมยในเด็ก ช่วยแก้ท้องเสีย แก้อาการปวดหลัง ปวดเอว นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- แก้เจ็บตา รักษาหูด นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
ถิ่นกำเนิด :
หูปลาช่อนเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
.