มะตูม

2

ชื่อสุมนไพร : มะตูม
ชื่ออื่นๆ : กระทันตาเถร, ตุ่มเต้ง, ตูม (ปัตตานี), มะปิน (ภาคเหนือ) และมะปีส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aegle marmelos (L.) Correa ex Roxb.
ชื่อสามัญ :  Bael
วงศ์ : Rutaceae

3

มะตูม เป็นผลไม้ที่นิยมนำมาทำน้ำผลไม้สมุนไพรกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีราคาถูก กลิ่นที่หอม รสชาติที่หวานนั้น ซึ่งเมื่อดื่มแล้วจะช่วยให้รู้สึกชื่นใจ นอกจากนี้แล้ว มะตูมยังมีตัวยาอื่นๆ อีกมากมาย ที่จะนำมาเป็นสมุนไพรไทยใช้ในการรักษา หรือบรรเทาอาการต่างๆ ได้ คนไทยหรือชาวศาสนาพุทธ ยังมีความเชื่อ ว่ามะตูมเป็นพืชมงคล โดยนิยมปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน ศาสนาก็มีความเชื่อว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะ ดังนั้น ตามสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีต่างๆ หรือตามวัดในประเทศอินเดีย ก็จะพบว่ามีต้นมะตูมอยู่มากมาย

ลักษณะของสมุนไพร :
มะตูม เป็นไม้ยืนต้น มีอายุยืนยาวหลายปี เปลือกหุ้มต้นสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว ลำต้นสูงประมาณ 10 – 15 เมตร ใบของต้นมะตูมจะเป็นใบประกอบมีลักษณะคล้ายกับมือ หรือใบมะละกอ โดยมีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ และมีใบย่อยอยู่บริเวณปลาย รูปทรงคล้ายไข่ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-14 ซม. แผ่นใบบางเรียบและมีความมันเงา ก้านใบย่อยจะยาวกว่าใบที่คู่กัน และปลายใบจะแหลม ดอกของมะตูม ออกเป็นช่อโดยแทรกอยู่ตามซอกใบและปลายกิ่ง และมีกลีบดอกอยู่ 4 กลีบ โคนกลีบดอกติดกัน ปลายแยกเป็น 4 แฉก มีลักษณะคล้ายกับรูปไข่ สีของกลับดอกด้านนอกเป็นสีเขียวอ่อน และกลีบดอกด้านในเป็นสีขาวนวล มีน้ำเมือกอยู่บริเวณด้านในกลีบดอก และมีกลิ่นหอม ผลของมะตูม มีลักษณะรูปทรงเป็นวงรี หรือ วงกลมยาวๆ ผิวของผลเรียบเกลี้ยง มีเปลือกที่หนา และแข็งมาก และเมื่อยังเป็นผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ผลสุกจะเป็นสีเขียวอมเหลือง เนื้อด้านในผลมะตูมมีสีส้มปนเหลือง นิ่ม และเมล็ดมีจำนวนมาก

4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ :
ส่วนต่างๆ ของมะตูมที่จะนำมาทำเป็นยา หรือสมุนไพร ได้แก่ ผลโตเต็มที่ ผลแก่จัด ผลสุก ผลอ่อน ใบ และราก
สรรพคุณทางยา :

  •  ผลโตเต็มที่ โดยการนำผลที่โตเต็มที่นั้นฝานเป็นชิ้นบางๆ แล้วนำมาตากแห้ง จากนั้นนำมาคั่วให้เหลือง แล้วใช้ชงรับประทาน ซึ่งจะช่วยแก้ท้องเดิน ท้องเสีย ท้องร่วง และโรคลำไส้เรื้อรังในเด็กได้
  • ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก โดยการน้ำตาลมาทำเป็นน้ำเชื่อม แล้วนำผลมะตูมที่แก่จัดแต่ยังไม่สุกนั้นมาหันเป็นชิ้นบางๆ แล้วนำไปต้มกับน้ำเชื่อม นำมารับประทานกับขนมหวาน ซึ่งจะช่วยให้มีกลิ่นหอม และรสหวานชวนรับประทานมากขั้น และยังช่วยบำรุงกำลัง รักษาธาตุ ขับลม
  • ผลสุก นำมารับประทานเหมือนผลไม้ โดยการทุบเปือกที่แข็งให้แตกออก แล้วรับประทานเนื้อด้านในของผลมะตูมสุก ซึ่งจะช่วยเป็นยาระบายท้อง และยาประจำธาตุของผู้สูงอายุ ที่ท้องผูกเป็นประจำ
  • ราก นำรางของมะตูมมาตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาต้มรับประทานแก้หืด หอบ แก้ไอ แก้ไข้ และขับลม แก้มุตกิดได้
  • ใบ ใช้ทำเป็นส่วนประสม หรือวัตถุดิบในการประกอบอาหาร เช่น ใส่แกงบวช เพื่อแต่งกลิ่นให้หอมน่ารับประทานยิ่งขึ้น

1

ถิ่นกำเนิดของมะตูม:
มะตูมมีถิ่นกำเนินมาจากทางประเทศอินเดีย

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy