ชื่อสุมนไพร : คาวทอง
ชื่อเรียกอื่นๆ : คาวตอง (ลำปาง อุดร),คาวทอง (มุกดาหาร อุตรดิตถ์),ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน), ผักเข้าตอง,ผักคาวตอง,ผักคาวปลา (ภาคเหนือ) และ พลูคาว (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Houttuynia cordata Thunb.
ชื่อสามัญ : lizard tail, chameleon plant, heartleaf, fishwort, bishop’s weed
วงศ์ : Saururaceae
ลักษณะของสมุนไพร : คาวทอง เป็นไม้ล้มลุกขนาด 15-30 เซนติเมตร มีลำต้นลักษณะกลม สีเขียว รากสามารถงอกออกจากข้อของลำต้น มีกลิ่นคาวทั้งลำต้นและใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจสีเขียว ออกเรียงสลับกัน กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 6-10 เซนติเมตร มีโคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ออกดอกเป็นช่อที่บริเวณยอด มีใบประดีบ 4 ใบ สีขาวที่โคนช่อดอก
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ลำต้น, ราก, ช่อดอก, ดอกย่อย, ช่อดอกแก่, ผล, เมล็ด, ใบสด
สรรพคุณทางยา :
- ลำต้น – มีกลิ่นฉุน เป็นยาขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ปอดอักเสบ แก้หลอดลมอักเสบ แก้ไอ รักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
คาวทอง ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้หายใจสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้ - ต้นสด – สามารถนำมาใช้กับบาดแผลภายนอก เช่น พอกฝี ทาบริเวณที่บวมอักเสบ บริเวณที่เกิดบาดแผล รักษาโรคผิวหนัง และช่วยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น
- ใบสด – นำไปผิงไฟแค่ให้นิ่ม ใช้พอกบริเวณที่เป็นเนื้องอกต่างๆ ใบสดใช้ป้องกันไม่ให้ปลาเน่าเสีย และยังใช้ป้องกันไม่ให้พืชเป็นโรคเหี่ยวเฉาตาย
- ดอก – ใช้ต้มรับประทานติดต่อกันเป็นประจำจะสามารถแก้โรคน้ำกัดเท้า
นอกจากนี้ยังมีผู้ทำเครื่องสำอางโดยใช้น้ำมันจากผักคาวทองอีกด้วย
ถิ่นกำเนิดของคาวทอง :
คาวทอง พบในแทบอินโดจีน จีน สำหรับประเทศไทยพบตามที่ชื้นแฉะริมน้ำทางภาคเหนือ
.