ชื่อสมุนไพร : ข้าวโพด
ชื่อเรียกอื่นๆ : ข้าวแช่ (แม่ฮ่องสอน), ข้าวสาลี, เข้าสาลี, สาลี (ภาคเหนือ), โพด (ภาคใต้), บือเคส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เข้าโพด (ไทย), เป๊ากื่อ (ม้ง), แผละลี (ลั้วะ), ข้าวแข่ (เงี้ยว, ฉาน, แม่ฮ่องสอน), เง็กบี้, เง็กจกซู่ (จีน), ยวี่หมี่ และ ยวี่สู่สู่ (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zea mays Linn.
ชื่อสามัญ : Corn, Indian Corn และ Maize
วงศ์ : GRAMINEAE
ข้าวโพดเป็นพืชจำพวกหญ้าซึ่งจัดเป็นธัญพืชสำคัญชนิดหนึ่ง ข้าวโพดส่วนที่เรียกว่าเมล็ดที่จริงก็คือผลธัญพืช และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายประเภท เช่น ข้าวโพดหวานปลูกเพื่อกินฝัก และฟลินท์คอร์นใช้เลี้ยงสัตว์หรือทำแป้ง ทั้งยังมีสรรพคุณที่สำคัญซึ่งช่วยป้องกันและรักษาโรคมะเร็งได้ดี โดยรับรองจากนพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า การต้มข้าวโพดหวานด้วยอุณหภูมิและระยะเวลาสูง จะทำให้มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สูง เพราะว่าสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในข้าวโพด คือ กรดเฟอรูริก ซึ่งกรดชนิดนี้จะอยู่ตามผนังเซลล์ของข้าวโพดดิบ โดยกรดเฟอรูริกที่ต้านมะเร็งจะไม่ค่อยออกมา แต่พอเอาไปต้มหรือย่าง กรดเฟอรูริกจะออกมามากขึ้น เพราะผนังเซลล์ถูกความร้อนสลายไป จะช่วยปลดปล่อยกรดเฟอรูริกต้านมะเร็งออกมาได้เยอะขึ้น นอกจากนี้ข้าวโพดยังมีสารเหลืองที่เป็นของดีคือสารต้านอนุมูลอิสรกลุ่มลูทีนและซีเซนทีน จะช่วยชะลอปัญหาจอประสาทตาเสื่อมได้อีกด้วย
ลักษณะสมุนไพร :
ข้าวโพดเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะอวบกลมและตั้งตรง มีความสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวเรียบ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะเรียวยาวรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบมนและมีขนอ่อนๆ สีขาว เส้นกลางใบมองเห็นได้ชัดเจน ขนาดกว้างประมาณ 2-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-100 เซนติเมตร ส่วนก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอกออกเป็นช่อ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ส่วนดอกเพศเมียจะอยู่ต่ำถัดลงมาออกระหว่างกาบของใบและลำต้น เรียงเป็น 2 แถว มีประมาณ 8-18 ดอก ยอดเกสรเพศเมียเป็นเส้นบางๆ ยื่นออกมาเป็นจำนวนมาก คล้ายกับเส้นไหมจำนวนมาก โดยจะอยู่ระหว่างกาบใบและลำต้น ดอกเพศเมียเมื่อเจริญเติบโตแล้วก็จะออกเป็นฝักหรือเรียกว่าผล ซึ่งถูกหุ้มไปด้วยกาบบางๆ หลายชั้น ฝักอ่อนเป็นสีเขียวเมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีนวล เรียกว่าเปลือกข้าวโพด ฝักรูปทรงกระบอก ในหนึ่งฝักจะมีเมล็ดอยู่รอบฝักเรียงเป็นระเบียบรอบแกนกลางของฝัก เมล็ดเกาะเป็นแถว 8 แถว แต่ละแถวจะมีเมล็ดประมาณ 30 เมล็ด
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เกสรตัวเมีย, ซัง และ ผล
สรรพคุณทางยา :
- ราก แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ขับปัสสาวะ
- เกสรเพศเมีย แก้เบาหวาน แก้โรคความดันโลหิตสูง ขับความร้อนชื้น แก้อาการกระหายน้ำ แก้โลหิตกำเดา แก้โพรงจมูกอักเสบ จมูกอักเสบเรื้อรัง รักษาโรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบ แก้เต้านมเป็นฝี ขับปัสสาวะ ช่วยขับนิ่วในถุงน้ำดี กระตุ้นให้น้ำดีขับเคลื่อน แก้ถุงน้ำดีอักเสบ มะเร็งในถุงน้ำดี บำรุงตับ แก้ตับอักเสบ แก้ดีซ่าน แก้ไตอักเสบ
- ซัง แก้บิด แก้อาการท้องร่วง ขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ
- ผล บำรุงร่างกาย บำรุงปอดและหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน บำรุงกระเพาะอาหาร รักษาโรคมะเร็งที่กระเพาะอาหาร ทำให้แผลอ่อนนุ่มไม่ให้เกิดการระคายเคือง
วิธีการใช้ :
- แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ขับปัสสาวะ นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- แก้เบาหวาน แก้โรคความดันโลหิตสูง ขับความร้อนชื้น แก้อาการกระหายน้ำ แก้โลหิตกำเดา แก้โพรงจมูกอักเสบ จมูกอักเสบเรื้อรัง รักษาโรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบ แก้เต้านมเป็นฝี ขับปัสสาวะ ช่วยขับนิ่วในถุงน้ำดี กระตุ้นให้น้ำดีขับเคลื่อน แก้ถุงน้ำดีอักเสบ มะเร็งในถุงน้ำดี บำรุงตับ แก้ตับอักเสบ แก้ดีซ่าน แก้ไตอักเสบ นำเกสรเพศเมียมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- แก้บิด แก้อาการท้องร่วง ขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ นำซังแห้งประมาณ 10-12 กรัม มาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- บำรุงร่างกาย บำรุงปอดและหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน บำรุงกระเพาะอาหาร รักษาโรคมะเร็งที่กระเพาะอาหาร ทำให้แผลอ่อนนุ่มไม่ให้เกิดการระคายเคือง นำฝักมาต้มน้ำเกลือ รับประทานผลสดๆ หรือนำมาประกอบอาหารคาวหวาน
ถิ่นกำเนิด :
ข้าวโพดเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้
.