ข่อย

ชื่อสมุนไพร : ข่อย
ชื่อเรียกอื่นๆ : กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), ซะโยเส่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ตองขะแหน่ (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี), ส้มพอ (ร้อยเอ็ด) และ สะนาย (เขมร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streblus asper Lour.
ชื่อสามัญ : Siamese Rough Bush และ Tooth Brush Tree
วงศ์ : MORACEAE
ข่อยเป็นไม้ประดับที่นิยมทำเป็นรั้วบ้านหรือเป็นไม้ประดับในสวนหย่อม นิยมขยายพันธุ์ด้วยการใช้รากปักชำ เพราะจะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าการใช้กิ่งปักชำหรือการเพาะเมล็ด และถือว่าเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยสมัยโบราณนำกิ่งสดมาทุบแล้วใช้สีฟัน ข่อยมีสารสำคัญที่ช่วยฆ่าเชื้อในช่องปาก ช่วยดูแลทำให้ฟันทนแข็งแรง ช่องปากสะอาด ถือได้ว่าข่อยมีบทบาทสำคัญในการดูแลช่องปากของคนไทยมานานก่อนที่แปรงสีฟันจะเข้ามาแทนที่ สารสำคัญในต้นข่อยนั้นมีสารพวกลินาโลออล, โนนานาล, ดีคาลนาล, วิตามินซี และสารแทนนิน โดยสรรพคุณทางยาจะช่วยทำให้ฟันแข็งแรง ป้องกันฟันผุ ลดอาการปวดฟัน ช่วยแก้อาการท้องเสีย รากเปลือก นำมาเป็นยาบำรุงหัวใจ เมล็ดใช้ฆ่าเชื้อในช่องปาก นอกจากนี้ยังช่วยรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งใบข่อยมีสรรพคุณแก้มะเร็งได้ โดยมีรายงานระบุว่าหากเคี้ยวกินใบข่อยติดต่อกันเป็นเวลานานจะช่วยบำบัดอาการสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ให้อาการดีขึ้นได้

ลักษณะสมุนไพร :
ข่อยเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างคดงอ มีปุ่มปนอยู่รอบๆต้นหรือเป็นพู เปลือกต้นมีสีเทาอ่อน เปลือกต้นบางขรุขระเล็กน้อยแตกเป็นแผ่นบางๆ และมียางสีขาวข้นเหนียวซึมออกมา แตกกิ่งก้านมีสาขามาก แตกกิ่งต่ำเป็นพุ่มทึบ ลักษณะเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับมีขนาดเล็ก แผ่นใบมีสีเขียวเนื้อใบค่อนข้างหนากรอบ ผิดใบสากคล้ายกระดาษทรายทั้งสองด้าน ลักษณะใบคล้ายรูปรีแกมรูปไข่หัวกลับ โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก มีความกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อมีสีขาวเหลืองอ่อน โดยจะออกตามปลายกิ่งตามซอกใบ ดอกเดี่ยวแต่รวมกันเป็นกระจุก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ต่างดอกกัน ผลสดมีลักษณะกลมสีเชียว ผลคล้ายรูปไข่ มีขนาดประมาณ 0.5 เซนติเมตร เมล็ดมีขนาดโตเท่ากับเมล็ดพริกไทย มีเนื้อเยื่อหุ้ม ส่วนผลแก่จะมีสีเหลืองใสและมีรสหวาน และเป็นที่ชื่นชอบของพวกนกเป็นอย่างมาก
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เปลือก, ใบ และ เมล็ด
สรรพคุณทางยา :
- ราก ช่วยรักษาแผล บำรุงหัวใจ
- เปลือก แก้ริดสีดวงจมูก แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไข้ ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยแก้พยาธิผิวหนัง รักษาโรคผิวหนัง ทาริดสีดวง แก้อาการท้องร่วง ช่วยดับพิษ แก้รำมะนาด ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย
- ใบ ต้านโรคมะเร็ง ช่วยบรรเทาอาการปวดของมดลูกในระหว่างมีประจำเดือน ยาระบายอ่อนๆ
- เมล็ด ยาอายุวัฒนะ ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยฆ่าเชื้อในช่องปากและทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้
วิธีการใช้ :
- ช่วยรักษาแผล บำรุงหัวใจ นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไข้ ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยแก้พยาธิผิวหนัง รักษาโรคผิวหนัง ทาริดสีดวง แก้อาการท้องร่วง ช่วยดับพิษ แก้รำมะนาด ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย นำเปลือกมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- แก้ริดสีดวงที่จมูก นำเปลือกต้นนำมามวนทำเป็นยาสูบ
- ต้านโรคมะเร็ง ช่วยบรรเทาอาการปวดของมดลูกในระหว่างมีประจำเดือน ยาระบายอ่อนๆ นำใบมาคั่วให้แห้งแล้วชงกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- ยาระบายอ่อนๆ นำใบสดๆ นำมาปิ้งไฟชงกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- ยาอายุวัฒนะ ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยฆ่าเชื้อในช่องปากและทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ นำเมล็ดมารับประทาน
ถิ่นกำเนิด :
ข่อยเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย

.