บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

กระวาน


2



ชื่อสมุนไพร : กระวาน
ชื่อเรียกอื่นๆ : กระวานขาว, ข่าโคม, ข่าโคก, หมากเนิ้ง, ปล้าก้อ, มะอี้, กระวานดำ, กระวานแดง, กระวานโพธิสัตว์ และ กระวานจันทร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amomum krervanh Pierre.
ชื่อสามัญ : Camphor Seeds, Round Siam Cardamon, Best Camdamon,Clustered Cardamon
วงศ์ : Zingiberaceae

1
กระวานถือเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่ใช้ในการประกอบอาหารไทยต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริก แกงมัสมั่นหรือแกงกะหรี่ ด้วยกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์และสรรพคุณในการรักษาโรค ที่สามารถนำทุกๆส่วนในต้นกระวานมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น อีกทั้งยังเป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามาก เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชื้นสูง สามารถปลูกเป็นพืชแซมไม้ผลหรือไม้ยืนต้นเพื่อให้ร่มเงาได้ กระวานจึงถือเป็นพืชสมุนไพรที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก และถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากทั้งในสูตรอาหารและตำรับยาไทย

5
ลักษณะสมุนไพร :
กระวานเป็นพืชล้มลุก เจริญเติบโตได้ดีตามป่าเขาดิบชื้น ต้นกระวานสูงประมาณ 3 เมตร มีลำต้นเป็นเหง้าหรือหัวใต้ดิน กระวานเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเรียงสลับกัน ก้านใบที่มีลักษณะโค้งเป็นกาบแข็งแรง ตัวใบมีสีเขียวออกสลับกันที่โคนต้น ใบโค้งมนปลายเรียวแหลม ผิวใบมีลักษณะเรียบมัน ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร ดอกเจริญมาจากส่วนเหง้าใต้ดิน ดอกมีสีเหลืองออกเป็นช่อบริเวณโคนต้นเหนือผิวดิน ผลมีลักษณะเป็นลูกกลมออกเป็นพวง ผิวเปลือกมีริ้วตามยาว สีขาวนวล ช่อหนึ่งๆมีผลประมาณ 10 – 20 ผล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 มิลลิเมตร ภายในผลมีเมล็ดเล็กๆสีน้ำตาลแก่ประมาณ 9 – 18 เมล็ด ทั้งผลและเมล็ดมีกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดและเย็นที่เป็นเอกลักษณ์คล้ายการบูร

3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก ลำต้น หน่อ เปลือก แก่นของลำต้น ใบ ผลแก่ เมล็ด เหง้าอ่อน
สรรพคุณทางยา :
กระวานเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของพิกัดยาไทย กระวานมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีกลิ่นหอมที่โดดเด่น ประกอบด้วยการบูร(camphor), ไพนิน(pinene), ลิโมนีน (limonene), เมอร์ซีน (myrcene) อีกทั้งมีสรรพคุณทางสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคได้ทุกส่วน ดังนี้

  1. ผลแก่ มีรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอมเฉพาะตัว ใช้แก้อาหารท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม และแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง
  2. เมล็ด แก้ธาตุพิการหรืออุจจาระพิการ หากใช้ผสมกับยาถ่ายสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนได้
  3. ราก ช่วยฟอกโลหิต แก้ลมและรักษาโรครำมะนาด
  4. หัวและหน่อ ช่วยขับพยาธิในเนื้อให้ออกทางผิวหนัง
  5. แก่น ช่วยรักษาโรคโลหิตเป็นพิษ
  6. กระพี้ ช่วยรักษาโรคผิวหนังและบำรุงโลหิต
  7. ใบ แก้ลมสันนิบาด ขับเสมหะ แก้ไข้เซื่องซึม แก้ลม จุกเสียด และบำรุงกำลังได้

มากไปกว่านั้นการรับประทานกระวานยังสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากน้ำมันหอมระเหย มีผลกระตุ้นการดูดกลับของกลูโคส และเสริมฤทธิ์ในการทำงานอินซูลินจึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน อีกทั้งยังมีสารอื่นๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น สาร cineole สามารถช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก สารกลุ่มเทอร์ปีน และ diterpene peroxide มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจในด้านประโยชน์และโทษของสมุนไพร ได้ทำการวิเคราะห์ถึงความเป็นพิษของต้นกระวานโดยทำการทดสอบกับหนูทดลอง ซึ่งผลวิจัยสรุปได้ว่าการรับประทานกระวานมีความปลอดภัยสูง ไม่มีโทษต่อร่างกายแม้จะรับประทานในปริมาณมาก

4
วิธีการใช้ :
ใช้ผลกระวานแก่จัดประมาณ 6-10 ผล นำมาตากจนแห้งแล้วบดเป็นผง ต้มผงกระวานครั้งละ 1-3 ช้อนชา กับน้ำ 1 ถ้วย เคี่ยวจนน้ำเหลือครึ่งหนึ่ง แล้วดื่มให้หมดในครั้งเดียว

ถิ่นกำเนิดของกระวาน :
กระวานมี 2 พวกใหญ่ๆ คือ กระวานแท้หรือกระวานเทศ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ส่วนอีกพวกคือ กระวานไทย โดยกระวานที่มีคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทยปลูกที่จังหวัดจันทบุรี

 





.