ว่านหางจระเข้

1

ชื่อสุมนไพร : ว่านหางจระเข้
ชื่ออื่นๆ : หางตะเข้ (ภาคกลาง) และ ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe barbadensis Mill
ชื่อสามัญ :  Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados
วงศ์ : Asphodelaceae

3

ว่านหางจระเข้ มีลักษณะเป็นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ ว่านหางจระเข้ เรียกอีกอย่างว่า อะโล (Aloe) ซึ่งเป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแปรมาจากคำว่า “Allal” มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ว่านหางจระเข้มีอยู่หลายชนิด หลากหลายพันธ์ โดยมีประมาณ 300 ชนิด หรือมากกว่านี้ ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดเล็กว่า 10 ซม. จนไปถึงขนาดใหญ่มากๆ

2

ลักษณะของสมุนไพร :

ว่านหางจระเข้ เป็นไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี วานหางจระเข้มีอยู่หลายขนาด มีความสูงอยู่ประมาณ 0.5 – 1 เมตร ลำต้นของวานหางจระเข้จะเป็นข้อปล้องสั้นๆ ส่วนใบ จะเป็นใบเดี่ยว งอกออกเรียงวนรอบต้น ใบจะหนาและยาว ส่วนโคนใบใหญ่ และส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมเรียงห่างกัน ใบว่านหางจระเข้ จะมีแผ่นใบหนาสีเขียวและมีจุดยาวสีเขียวอ่อนบนใบ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน และอวบน้ำ ดอกของวานหางจระเข้ จะออกเป็นช่ออยู่ที่ปลายยอด มี 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปทรงคล้ายๆ กับแตร โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกของวานหางจระเข้มีสีแดงอมเหลือง

5

42

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ยางในใบ,น้ำวุ้น,เนื้อวุ้น และเหง้า
สรรพคุณทางยา :

  • ผิวใบ นำมาตำผสมสุรา ใช้พอกฝี
  • ทั้งต้น นำมาดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา
  • ราก จะมีรสชาติขม รับประทานบรรเทาอาการโรคหนองใน หรือใช้แก้มุตกิด
  • ยางในใบ ใช้เป็นยาระบาย
  • น้ำวุ้นจากใบ ใช้รักษาแผลสดภายนอก ที่เกิดจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด นอกจากนี้ยังใช้ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น
  • เหง้า ใช้ต้มรับประทานแก้หนองใน หรือโรคมุตกิด

4

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

1) ใช้เป็นยาภายใน

1.1) ใช้เป็นยาถ่าย วานหางจระเข้ที่ใช้เป็นยาถ่าย จะมีชื่อเรียกว่า ยาดำ ซึ่งมีขั้นตอนการทำดังนี้ อย่างแรกต้องเลือกพันธุ์ของวานหางจระเข้เฉพาะ ซึ่งจะมีขนาดใบที่ใหญ่ และอวบน้ำมาก โดยการตัดใบว่านหางจระเข้ที่โคนใบให้เป็นรูปสามเหลี่ยม แล้วเห็นน้ำยางสีเหลืองออกมาจากใบของวานหางจระเข้ ซึ่งต้นที่เหมาะจะตัดที่สุด จะต้องมีอายุ 9 เดือนขึ้นไป จากนั้นปล่อยให้น้ำยางสีเหลืองไหลลงในภาชนะ แล้วนำไปเคี่ยวให้ข้น เทลงในพิมพ์ ทิ้งไว้จะแข็งเป็นก้อน ขนาดที่ใช้เป็นยาถ่าย คือ 0.25 กรัม เท่ากับ 250 มิลลิกรัม หรือประมาณประมาณ 1-2 เม็ดถั่วเขียว

1.2) แก้กระเพาะ ลำไส้อักเสบ นำใบวานหางจระเข้มาปอกเปลือกออก ให้เหลือแต่วุ้น แล้วใช้รับประทาน วันละ 2 เวลา ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ

1.3) แก้อาการปวดตามข้อ นำใบวานหางจระเข้ปอกส่วนนอกของใบออก ให้เหลือแต่วุ้น จากนั้นนำไปแช่ตู้เย็นให้เย็นๆ เพื่อให้รับประทานได้ง่ายขั้น แล้วใช้รับประทานประมาณวันละ 2-3 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนโต๊ะ

2) ใช้สำหรับเป็นยาภายนอก

2.1) รักษาแผลไฟไหม้ และน้ำร้อนลวก นำใบวานหางจระเข้มาปอกเปลือกออก ให้เหลือแต่วุ้น จากนั้นนำมาใช้ทาหรือแปะที่แผลให้เปียกอยู่ตลอดเวลา จะช่วยบรรเทาปวดแสบ ปวดร้อน โดย 2 วันแรก แผลจะหายเร็วมาก

3) เป็นเครื่องสำอาง

3.1) ใช้บำรุงเส้นผม นำใบวานหางจระเข้ใช้ปอกส่วนนอกของใบออก ให้เหลือแต่วุ้นสดๆ นำมาชโลมบนเส้นผม ทำให้ผมเงางาม และเส้นผมสลวย

3.2) รักษาผิวเป็นจุดด่างดำ นำใบวานหางจระเข้ใช้ปอกส่วนนอกของใบออก ให้เหลือแต่วุ้น จากนั้นนำมาใช้วุ้นทาวันละ 2 ครั้ง หลังจากได้ทำความสะอาดผิวด้วยน้ำสะอาด แต่จะต้องใช้เวลานานในการรักษา ซึ่งจะต้องทำบ่อยๆ ทุกๆวัน จึงจะเห็นผล

3.3) รักษาสิว นำใบวานหางจระเข้ใช้ปอกส่วนนอกของใบออก ให้เหลือแต่วุ้น จากนั้นนำมาใช้วุ้นทาวันละ 2 ครั้ง (วิธีการทำเหมือนกับข้อ 3.2) ซึ่งสารในวานหางจระเข้จะช่วยยับยั้งการติดเชื้อ ช่วยลดความมันบนใบหน้า

6

ถิ่นกำเนิดของว่านหางจระเข้ :
แหล่งกำเนิดของว่านหางจระเข้ ดั้งเดิมมาจากทางชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy