ชื่อสุมนไพร : ฟักทอง
ชื่อเรียกอื่นๆ : มะฟักแก้ว (เหนือ), มะน้ำแก้ว (เลย), น้ำเต้า (ใต้), หมักอื้อ (เลย-ปราจีนบุรี), หมากฟักเหลือง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), เหลืองเคล่า และ หมักคี้ส่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucurbita maxima ,Cucurbita maxima Duchesne.
ชื่อสามัญ :pumpkin
วงศ์ : Cucurbitaceae
ลักษณะของสมุนไพร : ฟักทอง เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นเป็นเถาเลื้อยตามพื้นดิน เถามีขนาดใหญ่และยาวออกไป มีขนปกคลุมลำต้นและใบ เถาและใบสดจะมีสะเขียว ใบเป็นใบเดี่ยวออกตามลำต้น มีลักษณะเป็น 5 หยัก มีขนปกคลุมทั้งใบ ออกดอกตามง่ามของใบและยอดของเถา เป็นดอกเดี่ยวคล้ายกระดิ่ง 5 แฉก สีเหลืองนวลหรือเหลืองทอง ดอกเพศเมียเมื่อบานเต็มที่จะเห็นผลเล็กๆอยู่ใต้ดอก เมื่อผลมีขนาดใหญ่จะมีเปลือกแข็งสีเขียวแก่หรือสีน้ำตาลแดงแล้วแต่สายพันธุ์ มีเนื้อเป็นสีเหลืองอยู่ด้านใน ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของวิตามินเอ
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อน,ผล,เมล็ด,ดอก
สรรพคุณทางยา :
- ผลฟักทอง จะมีเนื้อสีเหลือที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเรียกว่า “เบต้าแคโรทีน” และยังมีวิตามินเอสูง รวมทั้งฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี แป้ง ซึ่งเป็นอาหารเสริมสุขภาพ สร้างภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี และสามารถช่วยลดการเกิดโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจได้ ช่วยต้านความชรา ป้องกันโรคผิวหนัง บรรเทาอาการปวดเมื่อยของข้อเข่า และบั้นเอว
- เมล็ดฟักทอง ในเมล็ดจะมีสารชนิดหนึ่งเมื่อนำมาบดเป็นผง ใช้เป็นยาสำหรับถ่ายพยาธิตัวตืด
- ยอดอ่อนฟักทอง มีวิตามินเอสูงพอๆกับเนื้อฟักทอง แต่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในเนื้อ
- ดอกฟักทอง มีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีวิตามินซีเล็กน้อย
ถิ่นกำเนิดของฟักทอง :
ฟักทองมีถิ่นกำเนิดในแทบทวีปอเมริกา ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแม็กซิโก ปัจจุบันมีการปลูกอย่างแพร่หลาย
.