ชื่อสมุนไพร : โด่ไม่รู้ล้ม
ชื่อเรียกอื่นๆ : ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย), คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ), หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี), ตะชีโกวะ, ติ๊ซิเควาะด๊ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โน๊ะกะชอย่อตะ, กาว่ะ, เนาะดากวอะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เคยโป้, หนาดผา, หญ้าปราบ, หญ้าไก่นกคุ่ม, หญ้าไฟนกคุ้ม, หญ้าสามสิบสองหาบ (ภาคเหนือ), ก้อมทะ, เกดสะดุด, ยาอัดลม (ลั้วะ) และ จ่อเก๋ (ม้ง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elephantopus Scaber L.
ชื่อสามัญ : Prickly-leaved elephant’s foot
วงศ์ : ASTERACEAE
โด่ไม่รู้ล้มเป็นพืชชนิดหนึ่งที่สมชื่อซึ่งเมื่อถูกเหยียบหรือโดนทับก็จะดีดตัวขึ้นมาใหม่ได้เหมือนปกติ โดยขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับประจำบ้าน เพื่อความสวยงาม โดยมีความเชื่อว่าการปลูกว่านโด่ไม่รู้ล้มไว้ประจำบ้าน จะช่วยป้องกันเสนียดจัญไรได้ และสามารถนำไปแปรรูปเป็นยาสมุนไพรในรูปแบบต่างๆ เช่น โด่ไม่รู้ล้มผงสำเร็จรูป ยาดองเหล้าโด่ไม่รู้ล้ม ยาโด่ไม่รู้ล้ม โด่ไม่รู้ล้มแคปซูล เป็นต้น สรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อไวรัส ช่วยลดไข้ ลดอาการอักเสบ ช่วยต้านความเป็นต่อตับ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก และช่วยกระตุ้นมดลูก มีข้อห้าม คือ ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์ รวมไปถึงผู้ที่มีอาการกลัวหนาว แขนขาเย็น ชอบดื่มของร้อน ไม่กระหายน้ำ มีอาการปวดท้อง ท้องร่วง และปัสสาวะปริมาณมาก และมีชั้นฝ้าบนลิ้นขาวและหนา
ลักษณะสมุนไพร :
โด่ไม่รู้ล้มเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสั้นและกลม ชี้ตรง มีความสูงราว 10-30 เซนติเมตรอยู่ในระดับพื้นผิวดิน ตามผิวลำต้นและใบจะมีขนละเอียดสีขาว สาก ห่าง ทอดขนานกับผิวใบ พืชชนิดนี้เมื่อถูกเหยียบหรือโดนทับก็จะดีดตัวขึ้นมาใหม่ได้เหมือนปกติ ใบเป็นใบเดี่ยวอยู่บริเวณเหนือเหง้า ติดกันเป็นวงกลมเรียงสลับชิดกันอยู่เป็นกระจุกคล้ายกุหลาบซ้อนที่โคนต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหัวกลับ ขอบใบหยักหรือเป็นจักคล้ายฟันเลื่อยห่างๆ มีเส้นแขนงของใบประมาณ 12-15 คู่ ส่วนของใบที่ค่อนไปทางปลายจะผายกว้าง แล้วสอบเป็นแหลมทู่ๆ ส่วนโคนใบจะสอบแคบจนถึงก้านใบ มีเนื้อใบหนาสาก ผิวใบจะมีขนสากเล็กๆ ขนตรงห่างมีสีขาว และมีขนต่อมห่างอยู่ทั้งสองด้าน ดอกเป็นช่อแทงออกมาจากลำต้น ลักษณะของช่อดอกเป็นรูปขอบขนาน มีดอกย่อยขนาดเล็ก 4 ดอก ดอกเป็นรูปหลอดสีม่วง เกลี้ยง ไม่มีขน ดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลือง ขอบใบเรียบปลายเรียวแหลม ที่ผิวใบทั้งสองด้านมีขนตรงสีขาว ออกที่ปลายยอดแบบช่อแยกแขนง ใบประดับคล้ายรูปหอก ผิวด้านนอกมีขนตรง ส่วนขอบใบมีขนครุย ผลเป็นผลแห้งและไม่แตก ลักษณะของผลเล็กและเรียว เป็นรูปกรวยแคบ ผิวด้านนอกผลมีขนหนาแน่น
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ทั้งต้น
สรรพคุณทางยา :
- ทั้งต้น แก้ปัสสาวะ บำรุงความกำหนัด เกิดกษัยแต่มีกำลัง แก้ไข้จับสั่นหรือไข้มาเลเรีย แก้กษัย บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับไส้เดือน แก้กามโรค แก้อักเสบ ห้ามเลือดกำเดา แก้ดีซ่าน นิ่ว บิด เหน็บชา ท้องมาน แก้ฝีฝักบัว
วิธีการใช้ :
แก้ปัสสาวะ บำรุงความกำหนัด เกิดกษัยแต่มีกำลัง แก้ไข้จับสั่นหรือไข้มาเลเรีย แก้กษัย บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับไส้เดือน แก้กามโรค แก้อักเสบ ห้ามเลือดกำเดา แก้ดีซ่าน นิ่ว บิด เหน็บชา ท้องมาน แก้ฝีฝักบัว นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
ถิ่นกำเนิด :
โด่ไม่รู้ล้มเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และประเทศในเขตร้อนทั่วโลก
.