แสลงใจ

ชื่อสมุนไพร : แสลงใจ
ชื่อเรียกอื่นๆ : แสลงทม, แสลงเบื่อ (นครราชสีมา), แสงโทน, แสลงโทน (โคราช), แสงเบื่อ (อุบลราชธานี), โกฐกะกลิ้ง, กระจี้, กะกลิ้ง, ตูมกาแดง (ภาคกลาง), ดีหมี, ว่านไฟต้น และ มะเกลื้อ (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strychnos nux-vomica Linn.
ชื่อสามัญ : Nux-vomica Tree และ Snake Wood
วงศ์ : STRYCHNACEAE

SLJ2

แสลงใจเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีความชื้นอยู่ด้วย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการตอน ในประเทศเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-500 เมตร ประโยชน์ของแสลงใจ คือ เนื้อไม้ของต้นแสลงใจเป็นไม้เนื้ออ่อน ตกแต่งได้ง่าย ปลวกไม่ชอบกิน สามารถนำมาใช้ทำเป็นของเล่นสำหรับเด็ก เครื่องแกะสลัก ด้ามเครื่องมือทางการเกษตรได้ และ เมล็ดใช้เป็นยาเบื่อหนูและสุนัข หรือนำไปป่นใช้เป็นเบื่อปลาก็ได้ บางข้อมูลระบุว่าเปลือกและรากของต้นแสลงใจถูกนำไปสกัดเป็นยาพิษที่มีชื่อว่า ยาพิษคูแร ของชนเผ่าอินเดียแดง โดยจะใช้อาบปลายลูกศรเพื่อใช้นำไปใช้ในการล่าสัตว์

 SLJ3

ลักษณะสมุนไพร :
แสลงใจเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี หรือรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบ มีเส้นใบตามขวาง 5 เส้น ยาว 3 เส้น ก้านใบสั้นยาวได้ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ออกใบดกและหนาทึบ ดอกออกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ช่อดอกมีลักษณะคล้ายร่ม ดอกย่อยมีขนาดเล็ด ดอกเป็นสีเขียวอ่อน สีขาว หรือสีเทาอมขาว ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแตกออกเป็น 5 กลีบ (กลีบดอกมี 5 กลีบ) กลีบดอกยาวประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็กๆ ปลายกลีบดอกแหลม ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลมีขนาดประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีส้มแดง ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 3-5 เมล็ด มีลักษณะเป็นรูปกลมแบน คล้ายรูปโล่หรือกระดุม ผิวเมล็ดเป็นสีเทาอมสีเหลือง และมีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือสีขาวขึ้นปกคลุมคล้ายกำมะหยี่

 SLJ4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เมล็ด และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก แก้ไข้มาลาเรีย แก้ท้องขึ้น แก้อาการอักเสบจากงูกัด
  2. เมล็ด เจริญอาหาร ช่วยขับน้ำย่อย ช่วยบำรุงประสาท บำรุงหัวใจ ยากระจายเลือดลม ทำให้เลือดเย็น แก้เลือดร้อน ช่วยทะลวงเส้นลมปราณ บำรุงธาตุ ช่วยกระตุ้นระบบการหายใจและระบบการไหลเวียนของเลือด บำรุงประสาทอย่างแรง ตัดพิษไข้ ตัดพิษกระษัย แก้โรคโปลิโอในเด็ก ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ฝีต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก แก้มะเร็งที่บริเวณผิวหนัง แก้ฟกช้ำดำเขียว แก้ปวดบวม แก้อัมพฤกษ อัมพาต ช่วยขับลมชื้น แก้เหน็บชาและรูมาติซั่ม
  3. ใบ แก้โรคไตพิการ แก้อาการฟกช้ำ

 SLJ5

วิธีการใช้ :

  1. แก้ไข้มาลาเรีย แก้ท้องขึ้น แก้อาการอักเสบจากงูกัด นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. เจริญอาหาร ช่วยขับน้ำย่อย ช่วยบำรุงประสาท บำรุงหัวใจ ยากระจายเลือดลม ทำให้เลือดเย็น แก้เลือดร้อน ช่วยทะลวงเส้นลมปราณ บำรุงธาตุ ช่วยกระตุ้นระบบการหายใจและระบบการไหลเวียนของเลือด บำรุงประสาทอย่างแรง ตัดพิษไข้ ตัดพิษกระษัย แก้โรคโปลิโอในเด็ก ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ฝีต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก แก้มะเร็งที่บริเวณผิวหนัง แก้ฟกช้ำดำเขียว แก้ปวดบวม แก้อัมพฤกษ อัมพาต ช่วยขับลมชื้น แก้เหน็บชาและรูมาติซั่ม นำเมล็ดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. แก้โรคไตพิการ แก้อาการฟกช้ำ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน หรือ นำมาตำพอกแผล

 SLJ1

ถิ่นกำเนิด :
แสลงใจเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา กัมพูชา ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy