ชื่อสมุนไพร : พันงูเขียว
ชื่อเรียกอื่นๆ : เจ๊กจับกบ (ตราด), เดือยงู, พระอินทร์โปรย (ชุมพร), หญ้าหนวดเสือ (ภาคเหนือ), สี่บาท, สารพัดพิษ (ภาคกลาง), หญ้าหางงู (ภาคใต้), ลังถึ่งดุ๊ก (กระเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เล้งเปียง (จีนแต้จิ๋ว), ยี่หลงเปียน, ยวี่หลงเปียน, เจี่ยหม่าเปียน (จีนกลาง), ฉลกบาท และ หญ้าพันงูเขียว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stachytarpheta jamaicensis (L.) Vahl.
ชื่อสามัญ : Brazilian Tea, Bastard Vervain, Jamaica False Veravin และ Arron’s Rod
วงศ์ : VERBENACEAE
พันงูเขียวจัดเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้พบได้ในแถบเขตร้อนทั่วไป โดยมักขึ้นตามเนินเขา ตามทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นที่เปิด หรือตามริมถนน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร ใบประเทศบราซิลจะใช้ใบพันงูเขียว แทนใบชา และส่งขายทางยุโรป ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า “Brazillian tea” ในรากพันงูเขียว พบสารจำพวก Phrnol, Chlorogenic acid เป็นต้น สารที่สกัดได้จากการต้มด้วยน้ำ จะมีฤทธิ์กระตุ้นลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภา ส่วนสารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์กระตุ้นอ่อนกว่า แต่ทั้งสองชนิดจะไม่มีฤทธิ์ต่อหูรูด ระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กของกระต่ายและมดลูกของหนูขาว
ลักษณะสมุนไพร :
พันงูเขียวเป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกพวกหญ้า ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาทางด้านข้าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง ดอกเป็นสีม่วงน้ำเงิน เป็นรูปกลมงอเล็กน้อย มีกลีบดอก 5 กลีบ มีกาบใบ 1 ใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีฟันเลื่อย 4-5 หยัก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน และมีรังไข่ 2 ห้อง ดอกจะออกในช่วงฤดูร้อน ผลมีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ พบได้ในบริเวณช่อดอก ถ้าแห้งแล้วจะแตกออกได้ ภายในผลมีเมล็ด
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ทั้งต้น และ ใบ
สรรพคุณทางยา :
- ทั้งต้น ยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและลำไส้ใหญ่ ใช้เป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ช่วยขับเหงื่อ ยาแก้ไข้ ลดไข้ ยารักษาโรคตาแดง ยาแก้ตาบวม ตาแดง ตาอักเสบ ช่วยรักษาอาการอาเจียน ยารักษาโรคกระเพาะ ช่วยรักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ รักษาทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ ยาแก้โรคหนองใน ยาแก้บวม ฟกช้ำ ยารักษาโรคปวดข้อ รักษาอาการปวดเมื่อยตามข้อเนื่องจากลมชื้นคั่งค้างภายในร่างกาย
- ใบ รักษาอาการเจ็บคอ คออักเสบ แก้โรคบิด ขับพยาธิในเด็ก ยาทารักษาฝีหนอง แก้เคล็ด รักษาอาการปวดเมื่อย แก้โรคบิด ขับพยาธิในเด็ก ยาทารักษาฝีหนอง แก้เคล็ด รักษาอาการปวดเมื่อย
วิธีการใช้ :
- ยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและลำไส้ใหญ่ ใช้เป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ช่วยขับเหงื่อ ยาแก้ไข้ ลดไข้ ยารักษาโรคตาแดง ยาแก้ตาบวม ตาแดง ตาอักเสบ ช่วยรักษาอาการอาเจียน ยารักษาโรคกระเพาะ ช่วยรักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ รักษาทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ ยาแก้โรคหนองใน ยาแก้บวม ฟกช้ำ ยารักษาโรคปวดข้อ รักษาอาการปวดเมื่อยตามข้อเนื่องจากลมชื้นคั่งค้างภายในร่างกาย นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- รักษาอาการเจ็บคอ คออักเสบ แก้โรคบิด ขับพยาธิในเด็ก ยาทารักษาฝีหนอง แก้เคล็ด รักษาอาการปวดเมื่อย แก้โรคบิด ขับพยาธิในเด็ก ยาทารักษาฝีหนอง แก้เคล็ด รักษาอาการปวดเมื่อย นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
ถิ่นกำเนิด :
พันงูเขียวเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา ไทย จนถึงมาเลเซีย
.