ฝ้ายแดง

ชื่อสมุนไพร : ฝ้ายแดง
ชื่อเรียกอื่นๆ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gossypium arboreum  L.
ชื่อสามัญ : Ceylon Cotton, Chinese Cotton และ Tree Cotton of India
วงศ์ : MALVACEAE

FD2

ฝ้ายแดงเป็นพรรณไม้กลางแจ้งชนิดหนึ่ง โนปกติโดยทั่วไปของฝ้าย จะมีทั้งฝ้ายขาวและแดง ส่วนใหญ่ที่ปลูกเพื่อนำมาทอผ้าก็คือ “ฝ้ายขาว”  สำหรับ “ฝ้ายแดง” แตกต่างจากฝ้ายขาวเนื่องจากนิยมนำมาทำเป็นสมุนไพร ซึ่งสามารถขึ้นได้ในดินอุดมสมบูรณ์ทั่วไป อีกทั้งมีความต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณที่ปานกลาง ซึ่งมักจะขึ้นบริเวณที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป จุดเด่น คือ ดอกมีสีสันสวยงามที่โดดเด่น ทั้งยังสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดอีกด้วย ส่วนใหญ่นิยมใช้ปลูกไว้เพื่อดูเล่น โดยปลูกกันตามบ้านและตามวัด หรือใช้ประโยชน์ในการทำเป็นรั้วบ้าน และถูกจัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีคุณประโยชน์ต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นน้ำมันจากเมล็ดใช้ในการเตรียมสบู่และใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่น ส่วนสรรพคุณทางยานั้น ได้แก่ ใบสดและรากสามารถช่วยลดความร้อนแก้ไข้ เมล็ดใช้รักษาโรคหนองใน ซึ่งในเมล็ดจะมีสารประเภท Fatty Acid รากทำให้ประจำเดือนปกติ ขับนํ้าคาวปลาในคนหลังคลอดบุตร บีบมดลูก และทำให้แห้ง สำหรับข้อควรระวัง ก็คือ สตรีตั้งครรภ์ห้ามรับประทาน เพราะจะทำให้แท้งบุตรได้นั่นเอง

 FD3

ลักษณะสมุนไพร :
ฝ้ายแดงเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกไปรอบต้นเป็นพุ่มโปร่ง มีกิ่งก้านที่แข็งแรง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปฝ่ามือ ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมนเว้า ขอบใบเว้าลึกเป็นแฉก 3-7 แฉกคล้ายฝ่ามือ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร หลังใบเรียบ เส้นใบเป็นสีแดงแตกออกจาก ก้านใบเป็นสีแดงเช่นเดียวกับเส้นใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามซอกใบใกล้บริเวณปลายกิ่ง ดอกเป็นสีแดงเข้มหรือสีเหลืองอ่อน ตรงกลางดอกเป็นสีม่วงแดงหรือสีม่วงดำประแต้มไปด้วยสีเหลือง ใบประดับ 3 ใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนกลีบดอกบางมี 5 กลีบ วางเรียงเวียนซ้อนกัน ดูสวยงาม โคนกลีบดอกติดกัน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นหลอดล้อมรอบเกสรเพศเมีย ปลายเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉก 5 แฉก ผลมีลักษณะกลมเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม หัวท้ายแหลม ผิวผลลื่นสีเขียวอมแดง มีกลีบรองดอกหุ้มอยู่ พอแก่จะแตกออกเป็นปุยฝ้าย เมล็ดค่อนข้างกลมสีเขียว มีจำนวนมาก ปกคลุมไปด้วยขนยาวสีขาว

 FD1

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบ, ราก, เปลือกต้น และ เมล็ด
สรรพคุณทางยา :

  1. ใบ แก้ไข้ ช่วยขับเหงื่อ ลดความร้อน แก้พิษตานซางในเด็ก
  2. ราก แก้ไข้ ช่วยขับเหงื่อ ลดความร้อน แก้พิษตานซางในเด็ก
  3. เปลือกต้น ขับปัสสาวะ ช่วยบีบมดลูก ทำให้แท้ง และช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรี
  4. เมล็ด รักษาโรคหนองใน

 FD4

วิธีการใช้ :

  1. ช่วยแก้ไข้ ช่วยขับเหงื่อ ช่วยลดความร้อน ช่วยแก้พิษตานซางในเด็ก นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ช่วยแก้ไข้ ช่วยขับเหงื่อ ช่วยลดความร้อน ช่วยแก้พิษตานซางในเด็ก นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบีบมดลูก ช่วยทำให้แท้ง และช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรี นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ช่วยรักษาโรคหนองใน นำเมล็ดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
ฝ้ายแดงเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียในเขตร้อนและกึ่งร้อน และทวีปแอฟริกา

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy