ปลาไหลเผือก

ชื่อสมุนไพร : ปลาไหลเผือก
ชื่อเรียกอื่นๆ : คะนาง, ชะนาง (ตราด), กรุงบาดาล (สุราษฎร์ธานี), ไหลเผือก (ตรัง), ตรึงบาดาล (ปัตตานี), ตุงสอ, ตรึงบาดาล, เพียก, หยิกบ่อถอง, แฮพันชั้น (ภาคเหนือ), หยิกบ่อถอง, หยิกไม่ถึง, เอียนด่อน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ปลาไหลเผือก, ไหลเผือก (ภาคกลาง), เพียก (ภาคใต้), ตุวุวอมิง, ตุวเบ๊าะมิง (มาเลย์-นราธิวาส) และ หมุนขึ้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Eurycoma longifolia Jack.
ชื่อสามัญ : Tongkat  Ali
วงศ์ : SIMAROUBACEAE

 PLP2

ปลาไหลเผือกเป็นพืชที่พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าเต็งรังที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 700 เมตร ที่มาของชื่อเรียกว่า “ปลาไหลเผือก” ก็เนื่องมาจากรากมีสีขาว มีลักษณะยาวเหมือนปลาไหลเผือก และยังมีรากเดียวจนบางคนเรียกว่า “พญารากเดียว” ถ้ารากที่มีอายุหลายปีก็จะยิ่งมีความยาวมากขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งอาจยาวมากกว่า 2 เมตร ทำให้บางท้องที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ตรึงบาดาล” โดยส่วนใหญ่นิยมนำส่วนของรากมาทำเป็นยารักษาโรคต่างๆรวมไปถึงโรคร้ายแรง อย่างเช่น โรคมะเร็ง ซึ่งสารสกัดรากปลาไหลเผือกมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งและต้านเชื้อ HIV ได้ดี จากการตรวจสอบเบื้องต้นสำหรับฤทธิ์ในการต้านมะเร็งนั้นพบว่าสารสกัดปลาไหลเผือกเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งปอด ทั้งยังเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเต้านม และยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV อีกด้วย นอกจากนั้นสารสกัดรากปลาไหลเผือกมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) โดยมีการศึกษาวิจัยพบว่า สามารถกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชายซึ่งนำไปสู่การจดสิทธิบัตรสารเคมีและวิธีการสกัด โดยเน้นการเพิ่มกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของนักกีฬา

 PLP3

ลักษณะสมุนไพร :
ปลาไหลเผือกเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก ค่อนข้างสูงโดยในป่าดงดิบจะสูงประมาณ 6-15 เมตร แต่ในป่าเต็งรังสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีสีแดงและมีลักษณะตรง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ แตกกิ่งก้านน้อยและไม่แตกกิ่งก้านทางด้านข้าง กิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนปกคลุมใบเป็นใบประกอบแบบขนนกตรงปลายใบเป็นคู่ ออกเรียงสลับหนาแน่นที่ปลายยอด ใบย่อยมี 7-8 คู่ รูปใบหอกหรือรูปรี ความกว้าง 1.5-6.5 ซม. และความยาว 5-20 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้ม ดอกสีม่วงแดงออกเป็นช่อใหญ่ตามบริเวณซอกใบ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1 ซม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ รูปไข่มีขน เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก้านช่อดอกสีแดง ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมรีออกเป็นพวง ผิวเรียบ ความกว้าง 0.5-1.2 ซม. ความยาว 1-1.7 ซม. ผลสดสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดง

 PLP1

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก และ เปลือกลำต้น
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก ต้านโรคมะเร็ง รักษาโรคอัมพาต ช่วยขับถ่ายน้ำเหลือง ขับพยาธิ แก้อาการท้องผูก แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้อาการเจ็บคอ แก้วัณโรค วัณโรคระยะบวมขึ้น แก้กาฬโรค ช่วยขับเหงื่อ รักษาความดันโลหิตสูง แก้ไข้ทุกชนิด
  2. เปลือกลำต้นแก้ไข้จับสั่น แก้ไข้สันนิบาต แก้ไข้พิษ ไข้ทรพิษ แก้ไข้เหือดหัด แก้ไข้กาฬนกนางแอ่นแก้เบาพิการ

 PLP4

วิธีการใช้ :

  1. ต้านโรคมะเร็ง รักษาโรคอัมพาต ช่วยขับถ่ายน้ำเหลือง ขับพยาธิ แก้อาการท้องผูก แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้อาการเจ็บคอ แก้วัณโรค วัณโรคระยะบวมขึ้น แก้กาฬโรค ช่วยขับเหงื่อ รักษาความดันโลหิตสูง แก้ไข้ทุกชนิด นำรากแห้งประมาณ 8-15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่มทุกเช้าและเย็น
  2. แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้สันนิบาต แก้ไข้พิษ ไข้ทรพิษ แก้ไข้เหือดหัด แก้ไข้กาฬนกนางแอ่น แก้เบาพิการ นำเปลือกลำต้นนำมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
ปลาไหลเผือกเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy