ชื่อสมุนไพร : อีเหนียว
ชื่อเรียกอื่นๆ : นางเหนียว, หนาดออน, อีเหนียวเล็ก (ภาคกลาง), หญ้าตืดแมว (ภาคเหนือ), หนูดพระตัน,หนูดพระผู้ (ภาคใต้), กระตืดแป (เลย), กระดูกอึ่ง, อ้ายเหนียว (กาญจนบุรี), นอมะช่าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) และ หงหมู่จีเฉ่า (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmodium gangeticum (L.) DC.
ชื่อสามัญ : –
วงศ์ : LEGUMINOSAE
อีเหนียวเป็นพรรณไม้ที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประโยชน์ของอีเหนียวนั้นใช้เป็นอาหารสัตว์และเป็นพืชสมุนไพร โดยคุณค่าทางอาหารของต้นอีเหนียวที่มีอายุประมาณ 75-90 วัน จะมีโปรตีน 14.4%, แคลเซียม 1.11%, ฟอสฟอรัส 0.24%, โพแทสเซียม 1.87%, ADF 41.7%, NDF 60.4%, DMD 56.3%, ไนเตรท 862.2 พีพีเอ็ม, ออกซาลิกแอซิด 709.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์, แทนนิน 0.1%, มิโมซีน 0.26% เป็นต้น
ลักษณะสมุนไพร :
อีเหนียวจัดเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 60-150 เซนติเมตร กิ่งก้านอ่อน แตกกิ่งก้านที่ปลาย ตามลำต้นมีขนปกคลุมหนาแน่นถึงปานกลาง มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีกว้างถึงรูปไข่ ปลายใบมน แหลม หรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือกลมเป็นรูปหัวใจ เนื้อใบบาง หลังใบเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอมเทา มีก้านใบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร อกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและง่ามใบ ในช่อหนึ่งมีหลายกระจุก กระหนึ่งมีดอกประมาณ 2-6 ดอก รวมเป็นช่อแยกแขนง ดอกมีขนาดเล็กสีเขียวอมขาวหรือสีชมพู แกนกลางมีขนรูปตะขอโค้ง ใบประดับร่วงได้ง่ายทั้งคู่ ไม่มีใบประดับย่อย ก้านดอกย่อยยาว กลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังกว้าง ปลายแยกเป็นแฉก 4 แฉก กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปดอกถั่วสีขาวถึงสีชมพูอ่อน ออกผลเป็นฝักรูปแถบ ฝักมีลักษณะแบนโค้งงอเล็กน้อย แบ่งเป็นจ้อๆ ฝักหนึ่งจะมี 7-9 ข้อ ตามผิวมีขนรูปตะข้อโค้งสั้น เมล็ดอีเหนียวมีลักษณะเป็นรูปไต มีเยื่อหุ้มเมล็ด
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ทั้งต้น และ ใบ
สรรพคุณทางยา :
- ราก ยาแก้ไข้ แก้อาการปวดศีรษะ แก้ตัวร้อน ยาแก้ปวดฟัน ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ลำไส้อักเสบ ยาขับพยาธิ ขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก ยาขับปัสสาวะ
- ทั้งต้น ยาแก้ลมขึ้นศีรษะทำให้ปวดศีรษะ ยาแก้อาการปวดท้อง ปวดกระเพาะ ยาแก้ฝีเย็นทั้งภายในและภายนอก ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ปวดบวม และใช้เป็นยาชาเฉพาะที่บริเวณภายนอก ยาขับความเย็นชื้นในร่างกาย ช่วยกระจายลมชื้น แก้ปวดข้อหรือลมจับโปง นิ้วมือนิ้วเท้าเป็นเหน็บชาหรือหงิกงอขยับไม่สะดวก แก้ปวดก้นกบ แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต ยาแก้อาการปวดข้ออันเนื่องมาจากลมชื้นหรือรูมาติซั่ม ปวดขา ปวดเอว
- ใบ ยาลดนิ่วในท่อน้ำดีและไต
วิธีการใช้ :
- ยาแก้ไข้ แก้อาการปวดศีรษะ แก้ตัวร้อน ยาแก้ปวดฟัน ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ลำไส้อักเสบ ยาขับพยาธิ ขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก ยาขับปัสสาวะ นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- ยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาแก้เส้นเลือดอุดตัน ยาช่วยบำรุงโลหิต ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด และช่วยลดระดับน้ำตาล ยาบำรุงกำลัง ยาแก้ไข้ ยาถ่าย ยาขับพยาธิ ขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก ยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ หรือประจำเดือนไม่มาของสตรี ยาห้ามเลือด ยาแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้ปลายประสาทผิวหนังอักเสบ ยาแก้อาการปวด บวมช้ำ ฟกช้ำ นำทั้งต้นหัวมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- ยาลดนิ่วในท่อน้ำดีและไต นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
ถิ่นกำเนิด :
อีเหนียวเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
.