หนอนตายหยาก

ชื่อสมุนไพร : หนอนตายหยาก
ชื่อเรียกอื่นๆ : กะเพียด (ชลบุรี, ประจวบคีรีขันธ์), ป้งสามสิบ (คนเมือง), โปร่งมดง่าม, ปงมดง่าม (เชียงใหม่), หนอนตายยาก (ลำปาง), หนอนตายหยาก (แม่ฮ่องสอน), กะเพียดหนู และ สลอดเชียงคำ (อีสานโบราณ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stemona tuberosa Lour.
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : STEMONACEAE
NTY4
หนอนตายหยากเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้เหง้าปักชำ จากการทดลองกับสัตว์ทดลองพบว่า สมุนไพรหนอนตายหยากสามารถยับยั้งการไอของสัตว์ทดลองได้ และมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางของระบบหายใจ ทำให้การหายใจได้ผลช้าลง สารสกัดที่ได้จากหนอนตายหยากมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิหรือเชื้อโรคได้หลายชนิด จากการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันกับหนูถีบจักรทดลอง ด้วยการป้อนสารสกัดจากรากในขนาด 0.25-80 ก./กก. น้ำหนักตัว เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และขนาด 10 ก./กก. น้ำหนักตัว เป็นเวลาหนึ่งเดือน ไม่พบความเป็นพิษของสารสกัดหนอนตายหยาก

 NTY3

ลักษณะสมุนไพร :
หนอนตายหยากเป็นพรรณไม้ล้มลุก กึ่งเถาเลื้อยพัน มักเลื้อยพันกับต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 10 เมตร และมีความสูงได้ประมาณ 40-60 เซนติเมตร เถามีลักษณะกลม สีเขียว กิ่งที่กำลังจะออกดอกมักจะเลื้อยพัน มีรากเป็นเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายกระชาย เป็นรูปกระสวย ออกเป็นกระจุก เนื้ออ่อนนิ่มมีสีเหลืองขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับบริเวณใกล้กับโคนต้น และเรียงเป็นคู่ตรงกันข้ามบริเวณกลางต้นหรือยอด ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเรียบหรือบิดเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเป็นคลื่น เส้นใบแตกออกจาโคนใบขนานกันไปด้านด้านปลายใบประมาณ 9-13 เส้น ไม่มีหูใบและกาบใบ ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อกระจะประมาณ 2-6 ดอก โดยจะออกตามซอกใบ กลีบรวมมี 4 กลีบ เรียงตัวเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 2 กลีบ กลีบเป็นรูปแถบยาวปลายแหลม ผลเป็นฝักห้อยลงเป็นพวง ปลายฝักแหลม ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร เมื่อแห้งแล้วจะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดอยู่หลายเมล็ด ประมาณ 10-20 เมล็ด เมล็ดยาวประมาณ 1-1.7 เซนติเมตร มีปลายเรียวแหลมยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร มีก้านเมล็ดยาวประมาณ 8 มิลิลเมตร มีเยื่อหุ้มที่โคนของเมล็ด

 NTY2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบ, ราก และ ทั้งต้น
สรรพคุณทางยา :

  1. ใบ แก้อาการปวดฟัน
  2. ราก ยาแก้ไอเย็น ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ อาการไออันเนื่องมาจากเป็นวัณโรค ช่วยขับเสมหะ รักษาวัณโรค ช่วยแก้อาการของโรคภูมิแพ้ ช่วยละลายเสมหะ ลดอาการไอ แก้โรคโปลิโอ ยาแก้ปวดฟัน ยารักษาโรคเจ็บหน้าอก ยาขับผายลม ยาแก้บิดอะมีบา ยาฆ่าเชื้อพยาธิภายในลำไส้ พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน พยาธิเส้นด้าย พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิปากขอ พยาธิตัวจี๊ด ยาขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้ปัสสาวะติดขัด ยารักษาริดสีดวงทวารหนัก ยารักษามะเร็งตับ แก้น้ำเหลืองเสีย
  3. ทั้งต้น แก้โรคโปลิโอ ยาขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้ปัสสาวะติดขัด

 NTY1

วิธีการใช้ :                                     

  1. แก้อาการปวดฟัน นำใบนำมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ยาแก้ไอเย็น ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ อาการไออันเนื่องมาจากเป็นวัณโรค ช่วยขับเสมหะ รักษาวัณโรค ช่วยแก้อาการของโรคภูมิแพ้ ช่วยละลายเสมหะ ลดอาการไอ แก้โรคโปลิโอ ยาแก้ปวดฟัน ยารักษาโรคเจ็บหน้าอก ยาขับผายลม ยาแก้บิดอะมีบา ยาฆ่าเชื้อพยาธิภายในลำไส้ พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน พยาธิเส้นด้าย พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิปากขอ พยาธิตัวจี๊ด ยาขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้ปัสสาวะติดขัด ยารักษาริดสีดวงทวารหนัก ยารักษามะเร็งตับ แก้น้ำเหลืองเสีย นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. แก้โรคโปลิโอ ยาขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้ปัสสาวะติดขัด นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

 NTY5

ถิ่นกำเนิด :
หนอนตายหยากเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ญีปุ่น อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy