กำลังควายถึก

ชื่อสมุนไพร : กำลังควายถึก
ชื่อเรียกอื่นๆ : เครือเดา, เดาน้ำ, สะเดา (เชียงใหม่), ก้ามกุ้ง (อุตรดิตถ์), เขืองปล้องสั้น (นครราชสีมา), เขือง (ภาคอีสาน), เขืองแดง, เขืองสยาม (ภาคกลาง), พอกะอ่ะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) และ หนามป๋าวหลวง (ไทใหญ่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Smilax perfoliata Lour.
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : SMILACACEAE

KLKT6

กำลังควายถึกเป็นพรรณไม้ที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย เนปาล จีน ไต้หวัน พม่า และภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามป่าดิบ บนพื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูงประมาณ 1,500 เมตร  ประโยชน์ของกำลังควายถึกนั้น ผลสุกสามารถใช้รับประทานได้ ส่วนช่อดอกใช้ลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก แต่จะไม่นำต้นมารับประทานเพราะจะทำให้คัน อีกทั้งยอดและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักเหนาะ และแกงเลียง ส่วนผลใช้เป็นผักเหนาะหรือใช้แกงส้ม มีรสมันเจือฝาดและเปรี้ยวเล็กน้อย

 KLKT5

ลักษณะสมุนไพร :
กำลังควายถึกเป็นพรรณไม้เถาเกาะเกี่ยวพาดพัน ลำต้นเป็นเถากลมหรือเป็นเหลี่ยมมนเกลี้ยง หรือมีหนามโค้งประปราย นาประมาณ 0.3-1.2 เซนติเมตร ช่วงระหว่างข้อยาวประมาณ 8-25 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีกว้าง รูปรี รูปไข่แกมรี หรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือค่อนข้างแหลม มีบ้างที่โคนใบเว้าตื้นๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-18 เซนติเมตร แผ่นใบหนาแข็ง มีนวลเล็กน้อยแอ่นเป็นร่อง เส้นแขนงใบออกจากโคนใบมีประมาณ 5-7 เส้น นูนเห็นชัดเจนทางดานล่าง ที่โคนกาบเป็นรูปหัวใจเว้าลึกโอบรอบลำต้น ปลายแหลม มีมือพัน 1 คู่ ยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพสและอยู่ต่างต้นกัน โดยจะออกตามโคนหรือตอนปลายกิ่ง ออกดอกเป็นช่อกระจะรวมที่มีช่อย่อยๆ แบบช่อซี่ร่ม ช่อยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร ส่วนมากจะมีช่อซี่ร่มประมาณ 1-3 ช่อ แต่ในช่อดอกเพศผู้ช่ออาจยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร และมีช่อซี่ร่มได้ถึง 15 ช่อ ที่โคนของแก่นช่อดอกจะมีใบประดับย่อย ลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม ยาวประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร ก้านช่อดอกแข็ง ออกผลเป็นช่อ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม เนื้อผลนุ่ม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อนๆ เมื่อสุกจะเป็นสีแดง ภายในมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดเป็นสีแดงเข้ม ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่กลับเกือบกลม มีขนาดกว้างและยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร

 KLKT4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : รากเหง้า, เปลือกต้น, เถา, หัว และ ยอด
สรรพคุณทางยา :

  1. รากเหง้า ยาแก้ต่อมน้ำเหลืองภายใน ขับต่อมน้ำในร่างกาย ยาแก้ฝีภายใน
  2. เปลือก ยาบำรุงกำลัง ยาบำรุงโลหิต ทำให้ธาตุสมบูรณ์ ยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  3. เถา ยาบำรุงกำลัง ยาบำรุงกำหนัด ยาขับโลหิต
  4. หัว ยาบำรุงกำลัง ยาบำรุงกำหนัด ยาขับโลหิต
  5. ยอด รักษาหูด

 KLKT2

วิธีการใช้ :                                     

  1. ยาแก้ต่อมน้ำเหลืองภายใน ขับต่อมน้ำในร่างกาย ยาแก้ฝีภายใน  นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ยาบำรุงกำลัง ยาบำรุงโลหิต ทำให้ธาตุสมบูรณ์ ยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย นำเปลือกมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ยาบำรุงกำลัง ยาบำรุงกำหนัด ยาขับโลหิต นำเถาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ยาบำรุงกำลัง ยาบำรุงกำหนัด ยาขับโลหิต นำหัวต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. รักษาหูด นำน้ำจากยอดที่หักใช้หยดลงบริเวณที่เป็นหูด โดยให้ทำประมาณ 7 วัน หูดจะหาย

 KLKT1

ถิ่นกำเนิด :
กำลังควายถึกเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เนปาล จีน ไต้หวัน พม่า และภูมิภาคอินโดจีน

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy