เครือปลาสงแดง

ชื่อสมุนไพร : เครือปลาสงแดง
ชื่อเรียกอื่นๆ : เครือเจ็น (เชียงใหม่), เต่าไห้ (ตราด), เครือซุด, เครือซุดแดง, ชัยสง (เลย), เถายอดแดง (อ่างทอง), ปอต่อไห้ (จันทบุรี), หุนน้ำ (สระบุรี), เถาวัลย์แดง, หัวขวาน (ชลบุรี), เถาโก (ประจวบคีรีขันธ์), และ เครืออีม้อ (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ichnocarpus frutescens (L.) W.T.Aiton
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : APOCYNACEAE

KPS2

เครือปลาสงแดงเป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ป่าพรุ ป่าเบญจพรรณผสม และตามพื้นที่โล่งทั่วไป ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 850 เมตร นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป โดยทำเป็นซุ้มให้แข็งแรง ชอบดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบอากาศเย็น และมีแสงแดดตลอดวัน ตำรับยาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากเครือปลาสงแดงนำมาผสมกับรากมะเฟืองเปรี้ยว รากตีนนก และรากตะโกนา ใช้ต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย ในบังคลาเทศจะใช้รากเป็นยาแก้เบาหวาน ตำรับยาอายุรเวทของอินเดียจะใช้ทั้งต้นเป็นยาแก้วัณโรค

 KPS3

ลักษณะสมุนไพร :
เครือปลาสงแดงเป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น มีความยาวได้ประมาณ 2-8 เมตร แตกกิ่งก้านมาก เถาเป็นสีน้ำตาลแดง ตามเถาอ่อนหรือกิ่งอ่อนจะมีขนสั้นๆ สีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุม ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่มถึงมน ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาเรียบเป็นสีเขียวเข้ม มีขนขึ้นตามเส้นใบ หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนขึ้นประปรายที่เส้นใบ ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมากประมาณ 11-80 ดอก มีขนสั้นหนานุ่ม และมีขนสั้นหนานุ่ม ดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ ออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ผลเป็นฝักคู่ ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ปลายฝักแหลม ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.6-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-10.5 เซนติเมตร เมื่อฝักแห้งจะแตกออกเป็นตะเข็บเดียว ภายในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาล เมล็ดมีขนกระจุกสีขาวคล้ายเส้นไหมติดอยู่ปลายของเมล็ด

 KPS4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ทั้งต้น และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก แก้เบาหวาน แก้อาหารไม่ย่อย แก้โรคผิวหนัง แก้อาการปวดเมื่อย
  2. ทั้งต้น แก้วัณโรค แก้อาการเพ้อคลั่ง แก้ตาบอดกลางคืน แก้ลิ้นอักเสบ แก้อาการเลือดออกที่เหงือก แก้ไข้ ยาแก้ไอ แก้บิด แก้เนื้องอกในช่องท้อง แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ม้ามโต แก้หิด แก้หัด บรรเทาอาการปวดจากแมลงกัด แก้อาการชัก
  3. ใบ แก้อาการปวดศีรษะ ช่วยป้องกันฟันผุ แก้ไข้ แก้บาดแผล แก้หิด

 KPS5

วิธีการใช้ :                                     

  1. แก้เบาหวาน แก้อาหารไม่ย่อย แก้โรคผิวหนัง แก้อาการปวดเมื่อย นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. แก้วัณโรค แก้อาการเพ้อคลั่ง แก้ตาบอดกลางคืน แก้ลิ้นอักเสบ แก้อาการเลือดออกที่เหงือก แก้ไข้ ยาแก้ไอ แก้บิด แก้เนื้องอกในช่องท้อง แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ม้ามโต แก้หิด แก้หัด บรรเทาอาการปวดจากแมลงกัด แก้อาการชัก นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. แก้อาการปวดศีรษะ ช่วยป้องกันฟันผุ แก้ไข้ แก้บาดแผล แก้หิด นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
เครือปลาสงแดงเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy