ถั่วเหลือง

ชื่อสมุนไพร : ถั่วเหลือง
ชื่อเรียกอื่นๆ : ถั่วแระ, ถั่วพระเหลือง, ถั่วแม่ตาย (ภาคกลาง), มะถั่วเน่า, ถั่วเน่า, ถั่วหนัง (ภาคเหนือ), เถ๊าะหน่อ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ตบยั่ง (เมี่ยน), อาทรึ่ม (ปะหล่อง), โชยุ (ญี่ปุ่น), โซยาบีน (อังกฤษ), อึ่งตั่วเต่า และ เฮ็กตั่วเต่า (จีน-แต้จิ๋ว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glycine max (L.) Merrill
ชื่อสามัญ : Soybean
วงศ์ LEGUMINOSAE

 Soy2

ถั่วเหลืองเป็นพืชตระกูลถั่วและถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับปลูกสลับกับการปลูกข้าว ทั้งยังได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชาแห่งถั่ว” ซึ่งเป็นเมล็ดพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการเป็นแหล่งที่ดีของไขมันและโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีโปรตีนเลซิทิน และกรดอะมิโน รวมทั้งมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ไนอะซิน วิตามินบี1 และบี2 วิตามินเอและอี ซึ่งกระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูก ป้องกันการขาดแคลเซียม และบำรุงระบบประสาทในสมอง ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคมะเร็ง สารสกัดจากถั่วเหลืองอบแห้งมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังมีสารเจนิสเตอิน เป็นสารฟลาโวนอยด์ตัวสำคัญที่มีบทบาทยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ด้วยกลไกป้องกันการงอกของเส้นเลือดที่จะส่งอาหารเข้าไปเลี้ยงเซลล์มะเร็งได้ สอดคล้องกับงานวิจัยในผู้ป่วยมะเร็งที่รอดชีวิตในประเทศจีน พบว่า ผู้ป่วยที่กินนมถั่วเหลือง เต้าหู้ และอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง มีอายุยืนยาวกว่าคนที่ไม่กิน  นอกจากนี้ยังสารเดอิดเซอิน ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วทำให้เข้าไปจับกับเซลล์เต้านมหรือต่อมลูกหมาก จึงช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งต่อมลูกหมากได้ดี

 Soy1

ลักษณะสมุนไพร :
ถั่วเหลืองเป็นพืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรงแตกแขนงค่อนข้างมาก มีความสูงประมาณ 30-150 เซนติเมตร มีขนปกคุลมมีระบบเป็นรากแก้ว ใบเป็นใบเดี่ยว มีใบประกอบ 3 ใบย่อย รูปทรงรูปไข่จนถึงเรียวยาว โคนก้านใบมีหูใบอยู่ 2 อัน ใบมีขนสีน้ำตาลหรือเทา ดอกดอกมีสีขาวหรือสีม่วงออกเป็นช่อแบบกระจะ โดยสีขาวเป็นลักษณะด้อย ดอกเกิดตามมุมของก้านใบ ในหนึ่งช่อดอกจะมีดอกตั้งแต่ 3-15 ดอก กลีบเลี้ยงที่อยู่นอกสุดมีสีเขียว สั้น มีอยู่ 2 กลีบและมีขนปกคุลม กลีบรองดอกมีแฉก 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ ฝักออกเป็นกลุ่ม กลุ่มประมาณ 2-10 ฝัก มีขนสีเทาหรือสีน้ำตาล ฝักมีความยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร แต่ละฝักจะมีเมล็ดอยู่ 1-5 เมล็ด ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และอาจทำให้ฝักแตกออกทำให้เมล็ดร่วงออกมา เมล็ดอาจมีสีเหลือง สีเขียว สีน้ำตาล หรือสีดำ ลักษณะของเมล็ดมีตั้งแต่กลมรีจนถึงยาว หากเป็นเมล็ดขนาดเล็กจำนวน 100 เมล็ด จะมีน้ำหนักประมาณ 2 กรัม แต่ถ้าหากเป็นเมล็ดใหญ่อาจมีน้ำหนักมากว่า 40 กรัม แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 12-20 กรัม

 Soy3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบ, ดอก, เมล็ด, เปลือกเมล็ด และ กากเมล็ด
สรรพคุณทางยา :

  1. ใบ รักษาเลือดออก รักษาคนที่ถูกงูกัด
  2. ดอก รักษาต้อกระจก
  3. เมล็ด ต้านเซลล์มะเร็ง บำรุงม้าม ขับแห้ง ช่วยสลายน้ำ ช่วยขับร้อน ช่วยถอนพิษ แก้ปวด บำบัดอาการลำไส้ทำงานไม่ปกติ รักษาโรคบิด แน่นท้อง ผอมแห้ง รักษาแผลเปื่อย
  4. เปลือกเมล็ด ช่วยรักษาแผลเปื่อย ช่วยบรรเทาอาการเหงื่อออก ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ บำรุงโลหิต ช่วยขับปัสสาวะ
  5. กากเมล็ด ป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด

 Soy4

วิธีการใช้ :

  1. รักษาเลือดออก นำใบมาต้มเอาน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. รักษาคนที่ถูกงูกัด นำใบมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกงูกัด
  3. รักษาต้อกระจก นำดอกมาต้มเอาน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ต้านเซลล์มะเร็ง บำรุงม้าม ขับแห้ง ช่วยสลายน้ำ ช่วยขับร้อน ช่วยถอนพิษ แก้ปวด บำบัดอาการลำไส้ทำงานไม่ปกติ รักษาโรคบิด แน่นท้อง ผอมแห้ง รักษาแผลเปื่อย นำผลมาต้มรับประทาน หรือคั้นเป็นน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. ช่วยรักษาแผลเปื่อย ช่วยบรรเทาอาการเหงื่อออก ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ บำรุงโลหิต ช่วยขับปัสสาวะ นำเปลือกเมล็ดมาพอกบริเวณแผล หรือ ต้มรับประทาน
  6. ป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด นำกากเมล็ดมารับประทานสดๆ

 Soy5

ถิ่นกำเนิด :
ถั่วเหลืองเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ทางตอนกลางหรือทางเหนือ

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy