หอมแดง

ชื่อสมุนไพร : หอมแดง
ชื่อเรียกอื่นๆ : หอมแกง (ภาคกลาง ภาคใต้), หอมไทย, หอมเล็ก, หอมหัว (ภาคกลาง), หอมหัวขาว, หอมบัว, หอมปั่ว (พายัพ), ผักบั่ว (อีสาน) และ ปราง (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium ascalonicum Linn.
ชื่อสามัญ : Shallot
วงศ์ AMARYLLIDACEAE

HD3

หอมแดงเป็นพืชจำพวกผักเพื่อเก็บหัว ถือว่าพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไทยส่งออกหอมแดงไปยังมาเลเซียเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ซื้อขายเป็นหัวๆตามน้ำหนัก นิยมปลูกทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือโดยหอมแดงจากศรีสะเกษจะมีชื่อเสียงว่าคุณภาพดี ลักษณะเด่นๆจะมีรสและกลิ่นคาอนข้างฉุน แต่มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคชั้นดี เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้นการบริโภคหอมแดงเป็นประจำจึงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและช่วยให้การไหลเวียนของเลือดได้ดีขึ้น ลดไขมันในเส้นเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ สามารถป้องกันการติดเชื้อ และช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดได้ ทำให้เจริญอาหารและช่วยย่อยอาหาร นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจแล้ว ยังสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้ด้วย อีกทั้งในหอมแดงยังมีธาตุฟอตฟอรัสปริมาณสูงจึงช่วยให้มีความจำที่ดี นอกจากนี้หอมยังใช้บำรุงรักษาหน้าได้ด้วยวิธีง่ายๆ คือ ทุบหรือฝานหอมแดงให้เป็นแว่นบางๆทาบริเวณที่เป็นสิวฝ้าหรือจุดด่างดำ เพียงใช้เวลาแค่สัปดาห์เท่านั้นก็จะสามารถเห็นผลที่เกิดขึ้นได้

 HD1

ลักษณะสมุนไพร :
หอมแดงเป็นไม้ล้มลุกหรือไม้หัวอายุสั้นเพียงสองปี มีสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร มีหัวบริเวณใต้ดินซึ่งเกิดจากใบที่เป็นเกร็ดเรียงซ้อนกันเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่มีความกว้าง 1-3.5 เซนติเมตร และความยาว 1.5-4 เซนติเมตร กาบใบอวบน้ำ มักแตกหัวย่อยทำให้เป็นกลุ่มรูปทรงกลมแบน แผ่นใบรูปทรงกระบอกมีความกลวงและมีสีเขียวเข้มหรือเขียวอ่อน ใบตั้งหรือเอนเล็กน้อย มีหลายหัวเกาะกลุ่มด้วยกัน เปลือกหุ้มมีสีม่วงหรือสีน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยวที่เกิดจากรากเรียงช้อนกัน รูปแถบ มีความกว้าง 3-10 มิลลิเมตร และมีความยาว 10-35 เซนติเมตร ดอกช่อซี่ร่มรูปทรงกลมเกิดจากหัวใต้ดิน ดอกสมบูรณ์เพศ ดอกรูประฆังหรือคนโท รูปทรงกลม กลีบรวมมีจำนวน 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง สีเขียวถึงสีขาว ผลแห้งแตกกลางพู รูปทรงกลมได้ เป็น 3 พู เมล็ดแบนสีดำ เป็นรอยย่น

 HD2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ใบ, และ เมล็ด
สรรพคุณทางยา :

  1. หัว ขับลมในลำไส้ แก้หวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้โรคตาขับเสมหะ แก้โรคในปาก บำรุงเส้นผม แก้ลม เจริญไฟธาตุ แก้กำเดา แก้อาการเมาค้างจากเหล้า แก้สะอึกแก้ท้องเสียเป็นยาถ่าย ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ทำให้อาเจียน ขับปัสาวะ บำรุงโลหิต
  2. ใบ แก้ท้องผูกแก้ลม เจริญอาหาร แก้กำเดา แก้หวัด แก้ฟกช้ำ
  3. เมล็ด แก้กินเนื้อสัตว์เป็นพิษ แก้อาเจียนเป็นเลือดร่างกายซุบผอม

 HD4

วิธีการใช้ :

  1. ขับลมในลำไส้ แก้หวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้โรคตาขับเสมหะ แก้โรคในปาก บำรุงเส้นผม แก้ลม เจริญไฟธาตุ แก้กำเดา แก้อาการเมาค้างจากเหล้า แก้สะอึกแก้ท้องเสียเป็นยาถ่าย ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ทำให้อาเจียน ขับปัสาวะ บำรุงโลหิต นำหัวนำมาประกอบอาหารทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน หรือ รับประทานสดๆ
  2. แก้ท้องผูกแก้ลม เจริญอาหาร แก้กำเดา แก้หวัด แก้ฟกช้ำ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน หรือนำมาตำแล้วใช้พอกแก้กำเดาหรือฟกช้ำ
  3. แก้กินเนื้อสัตว์เป็นพิษ แก้อาเจียนเป็นเลือดร่างกายซุบผอม นำเมล็ดแห้งจำนวน 5-10 กรัมต้มน้ำดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
หอมแดงเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียกลางและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy