สมอพิเภก

ชื่อสมุนไพร : สมอพิเภก
ชื่อเรียกอื่นๆ : ลัน (เชียงราย), สะคู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ซิบะดู่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แหน แหนต้น แหนขาว (ภาคเหนือ) และ สมอแหน (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.
ชื่อสามัญ : Beleric Myrobalan, Ink Not, Bahera และ Beleric
วงศ์ : COMBRETACEAE

 SMPP2

สมอพิเภกเป็นไม้ยืนต้นขนาดค่อนข้างใหญ่ ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ปักชำและตอนกิ่ง มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคได้หลากหลายทั้งการแก้ไข้ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคตา แก้ริดสีดวง แก้ลม แก้บิด และสรรพคุณอื่นๆอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีการสกัดสารจากผลของสมอพิเภกออกมา และพบว่ามีฤทธิ์ในการต้านการก่อกลายพันธุ์ได้ ทั้งนี้ สารสกัดจากสมอพิเภกรวมกับสมอไทยและมะขามป้อม สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งได้ ในด้านของประโยชน์อื่นๆ พบว่า เนื้อไม้ของสมอพิเภกเหมาะสำหรับนำมาใช้ผลิตเป็นกล่องหรือลัง ส่วนเปลือกต้นก็ใช้ในย้อมผ้าได้

SMPP1

ลักษณะสมุนไพร :

สมอพิเภกเป็นไม้ยืนต้นขนาดค่อนข้างใหญ่ มีความสูงประมาณ 15-35 เมตร จัดเป็นไม้ผลัดใบชนิดหนึ่ง ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดกลมแผ่กว้าง มีลำต้นเปราตรง เปลือกของลำต้นค่อนข้างเรียบ บ้างก็แตกเป็นร่องเล็กๆไปตามยาวของลำต้น เปลือกด้านนอกมีสีเทาอมน้ำตาล  ส่วนเปลือกด้านในมีสีเหลือง กิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนอยู่ประปราย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่ง ใบมีลักษณะเป็นทรงรีแกมรูปไข่หัวกลับ โคนใบสอบ ปลายใบผายกว้าง ปลายสุดของใบมีลักษณะเป็นติ่งแหลมสั้นๆ ขนาดใบกว้างประมาณ 9-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13-19 เซนติเมตร ก้านใบมีความประมาณ 4-6 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบมีเส้นแขนงใบประมาณ 6-10 คู่ หลังใบมีสีเขียวเข้มและมีจุดสีน้ำตาลกระจายอยู่ทั่วไป ท้องใบมีสีเทาจางๆและมีขนนุ่มๆปกคลุมอยู่ เมื่อใบแก่จัดขนจะหลุดร่วงออกไป ดอกออกเป็นช่อเดี่ยวตามง่ามใบ ลักษณะคล้ายหางกระรอก ช่อดอกมีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ปลายช่อดอกจะห้อยย้อยลง ดอกมีขนาดเล็ก สีขาวอมเหลือง กลีบฐานดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยเล็กๆ และมีขนอยู่ทั่วไป ภายในดอกมีเกสรตัวผู้เรียงซ้อนกันเป็นสองแถวรวม 10 อัน  ส่วนรังไข่มี  อัน ลักษณะค่อนข้างแป้น ผลของสมอพิเภกมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือกลมรี ออกรวมกลุ่มเป็นพวงโต ขนาดผลกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ลักษณะผลเป็นสัน 5 สัน มีขนสีน้ำตาลสั้นๆปกคลุมที่บริเวณผิวภายนอก ภายในผลมีเมล็ดอยู่ภายใน เมล็ดเป็นเมล็ดเดี่ยว แข็ง ผลอ่อนมีรสเปรี้ยว ส่วนผลแก่มีรสเปรี้ยวฝาดหวาน สมอพิเภกสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งการเพาะเมล็ด ปักชำและตอนกิ่ง

 SMPP3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ผล, เมล็ด, ใบ, ดอก, เปลือก และ แก่น
สรรพคุณทางยา :

  1. ผลอ่อน  แก้ไข้ แก้ลม ใช้เป็นยาระบายหรือยาถ่าย รักษาโรคตา
  2. ผลแก่   แก้โรคภายในตา บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้เสมหะ ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคริดสีดวงทวารหนัก แก้ท้องร่วงหรือท้องเดิน รักษาโรคเรื้อน แก้ผิวหนังเป็นตุ่มหนอง บำรุงธาตุ และแก้ธาตุกำเริบ
  3. เมล็ดใน  แก้บิดหรือบิดมูกเลือด
  4. ใบ รักษาบาดแผล แผลติดเชื้อ
  5. ดอก แก้โรคในตา
  6. เปลือก  ขับปัสสาวะ รักษาปัสสาวะพิการ
  7. แก่น  แก้ริดสีดวง

 SMPP4

วิธีการใช้ :

  1. ขับปัสสาวะ  นำเปลือกต้นมาต้มน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ยาระบายหรือยาถ่าย นำผลโตแต่ยังไม่แก่เต็มที่ประมาณ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ปรุงรสด้วยเกลือเล็กน้อย ดื่มรับประทาน
  3. ยาแก้ท้องร่วงหรือท้องเดิน นำผลแก่ประมาณ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ปรุงรสด้วยเกลือเล็กน้อย เคี่ยวให้งวดจนเหลือครึ่งเดียว ใช้ดื่มรับประทาน
  4. รักษาบาดแผล นำใบสดมาตำให้ละเอียด แล้วพอกที่บาดแผล
  5. แก้มะเร็ง สารสกัดจากสมุนไพรสมอพิเภกรวมกับสมอไทยและมะขามป้อม สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งได้

ถิ่นกำเนิด :
สมอพิเภกมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy